GM ผู้สร้างและทำลายรถไฟฟ้า

2000ips · 2711

Offline 2000ips

  • หนึ่งในใต้หล้า
  • ****
    • Posts: 425
  • ขอพลังจงสถิตกับท่าน
GM ผู้สร้าง และทำลายรถไฟฟ้า
 ตาม link ครับ
 
เครดิต คมชัดลึก
 
จีเอ็ม ผู้ฆ่ารถไฟฟ้า(1))
มอเตอร์เวิลด์ : จีเอ็ม ผู้ฆ่ารถไฟฟ้า(1))
ผมหมายถึง General Motor หรือ จีเอ็ม ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สุดของโลกที่กำลังบอบช้ำจากไอเสีย ไม่ใช่ General Manager จากองค์กรใด และคำถามในหัวข้อ ก็ตั้งไม่ผิด ในความเป็นจริงแล้วในอเมริกามีคำถามจากผู้ใช้รถว่า ใครคือผู้ฆ่ารถไฟฟ้า(EV) และอเมริกันชนกลุ่มเดียวกันนี้แหละที่ค้นหาคำตอบได้มาว่า จีเอ็ม คือผู้ฆ่า
ทั้งๆ ที่จีเอ็มคือผู้ให้กำเนิดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่วิ่งได้จริงบนท้องถนนเป็นเจ้าแรกในชื่อว่า EV1 นับจาก EV1 ที่ถือกำเนิดมาในปี 1996 ล่วงมาถึงวันนี้ปี 2012 ก็สิบห้าสิบหกปีแล้ว แต่รถไฟฟ้าก็ยังไม่มีวิ่งกันบนท้องถนนในเชิงพาณิชย์ กลุ่มผู้ใช้รถในอเมริกาจำนวนหนึ่งจึงได้สืบเสาะค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับรถไฟฟ้า ผมเองก็สงสัยมานานแล้วแต่ไม่รู้จะไปสืบเสาะจากที่ใด เพราะวันนี้วิทยาการด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ก้าวล้ำหน้าไปกว่าเมื่อเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมา
พูดได้ว่าเปลี่ยนกันแบบหน้ามือเป็นหลังมือ รถไฟฟ้าก็ไม่น่าจะยากเย็นอะไรมากมายนัก ที่ผ่านมาเมื่อเราได้ข่าวคราวเรื่องรถยนต์ไฟฟ้าจากค่ายโน้นบ้างนี้บ้างว่าพร้อมที่จะผลิตออกขายแล้วแต่แล้วก็เงียบหายไป มีข่าวตามมาเป็นระยะๆ ว่ายังผลิตเต็มที่ไม่ได้เพราะมีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ เช่นแบตเตอรี่มีราคาแพง อายุการใช้งานไม่ยาวนาน สมรรถนะของการขับเคลื่อนจากแบตเตอรี่ยังไม่ดีพอเมื่อเทียบกับรถยนต์(เครื่องยนต์สันดาปภายใน)ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง
แน่นอนในยุคแรกเริ่มของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าปัญหาอยู่ที่แบตเตอรี่แม้ใน EV1 ของจีเอ็ม แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแม้ว่าใน EV1 รุ่นแรกๆ แบตเตอรี่เต็มหม้อวิ่งได้เพียงสี่ห้าสิบไมล์ แบตเตอรี่อายุสั้นมีปัญหามากระหว่างการใช้งาน
จนเมื่อจีเอ็มพัฒนาแบตเตอรี่ใหม่เป็น NiMH ที่วิ่งได้มากกว่า 100 ไมล์ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และสามารถที่จะชาร์จไฟเข้าแบตได้จากไฟในบ้านที่เรียกกันว่า Plug in ในขณะที่ จีเอ็มประสบความสำเร็จกับแบตเตอรี่ รุ่นใหม่ โตโยต้า และ ฮอนด้า นิสสัน และ มิตซูบิชิ ก็พบกับความสำเร็จจากแบตเตอรี่ NIMH เช่นเดียวกัน
ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็น โตโยต้า ราฟ4 EV ที่เป็นที่ติดใจของผู้ที่ได้ใช้มัน รวมทั้ง จีเอ็ม EV1(ที่เปลี่ยนแบตเป็น NiMHแล้ว)
ผมเคยตั้งข้อสงสัยว่า รถไฟฟ้าผลิตออกใช้จริงได้แล้วแต่ไม่มีขายนอกจากให้เช่าเป็นรายเดือนและส่วนมากในอเมริกาและญี่ปุ่นจะให้เช่าสำหรับองค์และหน่วยงานของรัฐเท่านั้น เดี๋ยวนี้ผมหายสงสัยแล้วครับว่าทำไมถึงไม่ขาย เพราะที่สุดแล้วทั้ง จีเอ็ม และโตโยต้า เมื่อหมดสัญญาเช่าแล้ว จะถูกเรียกกลับ รวมทั้งที่ยังไม่หมดสัญญาก็จะถูกซื้อคืน ครับเขาเรียกกลับมาเพื่อที่จะทุบมันทิ้ง
และไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับว่ามีอิทธิพลระดับจักรวาลที่สามารถจ่ายเงิน สี่สิบห้าสิบล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อที่จะซื้อโรงงานผลิตแบตเตอรี่ NiMH มารื้อทิ้ง ที่จริงเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องเก่าในอเมริกา แต่ยังพูดกันให้แซดในอินเทอร์เน็ต
เรื่องใครฆ่ารถไฟฟ้าถ้าค้นหาในเว็บจะได้ข้อมูลเหมือนอ่านหนังสือประเภทสายลับ จารกรรมที่ต้องชิงไหวชิงพริบกัน ตั้งแต่ผู้มีอิทธิพลในระดับจักรวาลจนถึงผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลก ใครที่หวังจะได้ใช้รถไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้ (เหมือนผม) ก็เลิกหวังได้แล้ว ตามอ่านกันตอนต่อไปแล้วคุณจะอึ้งทึ่งแล้วเสียวกับการฆ่า รถยนต์ไฟฟ้า จากผู้ให้กำเนิดมัน

จีเอ็มฆ่ารถไฟฟ้า? (2)
มอเตอร์เวิลด์ : จีเอ็มฆ่ารถไฟฟ้า? (2) โดย...นายประโยชน์
ก่อนที่จะไปถึงคำตอบว่าจีเอ็มทำไมต้องฆ่ารถไฟฟ้าก็ต้องย้อนรอยไปที่การเกิดขึ้นของรถไฟฟ้า EPA Environmental Protection Agency ต้องการลดมลพิษจากรถยนต์ให้ได้ 10% ภายในปี 2546 เมื่อ EPA ออกกฎค่ายรถก็ต้องทำ รวมทั้ง California Air Resources Board ที่เป็นผู้รักษากฎในเขตพื้นที่ของตัวเองก็ต้องออกแรงไปยังผู้ผลิตรถยนต์ผู้จัดจำหน่าย ว่ารถที่จะขายตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป ต้องเป็นรถที่ปลอดมลพิษ หรือ ZEV (Zero Emission Vehicles)
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในอเมริกา (AAMA : American Automobile Manufacturers Association) ในขณะนั้นพร้อมกับผู้ผลิตรถยนต์ต่างด้าว (ญี่ปุ่น) และผู้ค้าขายน้ำมัน ตกลงเอาด้วยทั้งสามกลุ่มจึงรวมตัวกันเรียกว่า AAM (Alliance Automobile Manufacturers) คิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อที่จะลดมลพิษจากไอเสียรถยนต์ตามข้อบังคับให้ได้ทั้งลดอัตราการสิ้นเปลืองและลดการปล่อยไอเสียที่เป็นพิษ
การทำให้รถยนต์กลายเป็นรถ ZEV ไม่ใช่เรื่องง่ายรถยนต์ปลอดมลพิษมีแนวทางให้เลือกสองแนวทางคือการคิดและทำให้เครื่องยนต์สันดาป (IC : Internal Combustion engine) ลดอัตราสิ้นเปลือง (ไมล์ต่อแกลลอน) ให้ได้มากที่สุดพร้อมกับปล่อยมลพิษให้น้อยที่สุดและอีกแนวทางหนึ่งคือรถยนต์ที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงจากฟอสซิลหรือพูดง่ายๆ ไม่ใช่เครื่องยนต์ IC ไปเลย ทางแรกทำได้ยากใช้เวลานาน ทางที่สองทำได้ง่ายเห็นผลเร็วกว่าแต่ไม่ถูกใจผู้ค้าขายน้ำมัน
วิถีทางที่ง่ายและเร็วจึงเริ่มขึ้นโดยจีเอ็ม จีเอ็มเสียเงินไป 3 ล้านดอลลาร์ และในปี 2532 รถไฟฟ้าต้นแบบที่ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงไม่ต้องมีท่อไอเสีย ออกมาอวดโฉม โรเจอร์ บี สมิท เป็นผู้ขับรถต้นแบบนั้นไปที่งาน แสดงรถยนต์ แอลเอ ออโต้ โชว์ในปี 2533 เพื่อที่จะบ่งบอกว่ารถยนต์ไฟฟ้าสามารถที่จะเอามาใช้งานแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันได้
ในปี 2540 จีเอ็ม ใช้แบตเตอรี่จากเทคโนโลยีของ Delco (ปัจจุบันคือ Delphi) ซึ่งมีขีดความสามารถที่จะได้เป็นระยะทางสูงสุดเพียงไม่เกิน 70 ไมล์ และมีปัญหามากมาย ปีต่อมาจีเอ็ม จึงใช้เทคโนโลยีของพานาโซนิค มาอัพเกรด EV1 ของตนเอง แบตชนิดเดียวกันแต่ของพานาโซนิควิ่งได้ไกลและทนกว่า (110 ไมล์) แต่จีเอ็มนำมาใช้ใน EVI รุ่นปี 1977 ก็ยังมีปัญหาต่อเนื่องจากการใช้งานปัญหาที่แก้ไม่ตกของ EV1 คือความร้อนจากแบตเตอรี่ ที่เกิดจากการออกแบบโครงสร้างของตัวรถที่ไม่ถูกต้อง
ต่างกันโตโยต้า ราฟ 4 ที่ใช้แบตจากพานาโซนิคไม่มีปัญหาเพราะโตโยต้าออกแบบโครงสร้างของตัวถังเพื่อรองรับปัญหานี้ไว้แล้ว จีเอ็มไม่กล้าที่จะเรียกรถกลับมาแก้ไขปัญหาของโครงสร้างตัวถังแต่แก้ปัญหาโดยการใช้ตัวช่วยระบายความร้อนใส่เข้าไปแทน ทำให้ เพิ่มปัญหาขึ้นมาอีกอย่าง คือ EV1 วิ่งได้ระยะทางสั้นลงเพราะไฟจากแบตเตอรี่ส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ในระบบระบายความร้อน
จนกระทั่งปี 2540 โตโยต้าก้าวล้ำไปอีกขั้นนำ ราฟ4 มาเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นแบบ NIMH (Nickel Metal Hydride) ที่ร่วมกันพัฒนาร่วมกับพานาโซนิคที่เรียกว่า PEV แบตรุ่นใหม่นี้ประสบความสำเร็จในการใช้งานแบบไร้ข้อกังขาและแม้แต่ EPA ยังให้การรับรองว่าวิ่งได้เป็นระยะทางถึง 140 ไมล์ต่อการชาร์จแบตหนึ่งครั้ง
ประการสำคัญ ไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขโครงสร้างตัวถังของราฟ4 แต่ EV1 (1997) ของจีเอ็มทำไม่ได้ จีเอ็มต้องเรียก EV1 มาดัดแปลง ให้ใช้แบตเตอรี่ EV-95 NiMH แล้วจีเอ็มก็ทำสำเร็จ แต่ต้องเจอกับ ปัญหาว่า ราฟ4E ถูกปล่อยออกสู่ตลาดด้วยค่าเช่าซื้อเพียงเดือนละ 499 ดอลลาร์ ในขณะที่ EV1 นั้นอยู่ในราคาที่ 599 ดอลลาร์ ตามกันสัปดาห์หน้า ดูว่าจีเอ็มจะเอาคืนเรื่องนี้อย่างไร

เอ็ม ฆ่ารถไฟฟ้า? (จบ)
จีเอ็ม ฆ่ารถไฟฟ้า? (จบ) : คอลัมน์มอเตอร์เวิลด์
เราพูดกันว่าเหรียญมีสองด้านก็ต้องให้ความชอบธรรมกับจีเอ็ม เมื่อมองจากเหรียญด้านหนึ่งที่จีเอ็มซื้อสิทธิบัตรในการเป็นผู้ผลิตผู้ขายแบตเตอรี่ NiMH จาก Dr.Iris Ovshinsky ตั้งแต่ปี 2537 แล้วร่วมหุ้นร่วมทุนก่อตั้งจีเอ็ม Ovonic เพื่อจัดการกับการผลิตการขายแบตเตอรี่ NiMH แต่เมื่อพลิกเหรียญมาอีกด้านก็จะมีคำถามว่า เมื่อจีเอ็มมีสิทธิ์ทุกประการกับ NiMH ที่จะใช้กับรถไฟฟ้า EV แล้วทำไมจีเอ็มจึงนิ่งเฉย ปล่อยให้ โตโยต้า กับฮอนด้า ใช้แบต NiMH ใน RAV4-EV และ CRX (Honda EV plus) ล่วงหน้าไปถึง 4 ปี (โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่าโตโยต้าและพานาโซนิคใช้เทคโนโลยีของใคร)
และด้วยคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้รถที่พิสูจน์แล้วว่าใช้งานได้ถึง 120 ไมล์ต่อการชาร์จแบตจากในบ้านหนึ่งครั้ง ( RAV4 EVจึงเป็นต้นแบบของรถไฟฟ้าแบบปลั๊กอิน (PEV) และไม่เท่านั้น PVE ยังสามารถชาร์จไฟจากแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเล็กที่ติดไว้บนหลังคา EV-95 NiMH จากพานาโซนิคผู้ใช้รถออกมายอมรับกันเองว่า รถวิ่งติดต่อกันเป็นระยะทางได้มากกว่า 100 ไมล์ ซึ่งมากเกินพอกับการใช้งานประจำวันและพิสูจน์กันแล้วว่า EV-95 NiMH มีอายุการใช้งานที่มากกว่า 1 แสนไมล์ โดยไม่เกิดปัญหา และสร้างปัญหาข้างเคียงเหมือนกับแบตเตอรี่แบบเดิม (Lead acid)
จีเอ็มทราบดีถึงข้อเด่นของ NimH แม้จะเรียกคืน 1997 EV1 มาเปลี่ยนเป็น แบตแบบ EV-95 NiMH บางส่วนแล้วก็ตาม (บางส่วนที่ไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ จีเอ็มเอากลับมาทุบทำลาย) การปล่อยให้ RAV4 EV นำหน้าถึง 4 ปีโดยไม่วิตก ดูเหมือนจีเอ็มรอคอยอะไรสักอย่าง
และถ้าเป็นเช่นนั้นการรอคอยของจีเอ็มก็มาถึงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2543 เมื่อจีเอ็มออกข่าวไปทั่วโลกว่าลิขสิทธิ์ในสิทธิบัตรของ NiMH ถูกขายให้บริษัทน้ำมันรายใหญ่คือ เทคซาโก ไปแล้ว และหลังจากนั้นเพียง 5 วัน ในวันที่ 16 ตุลาคม ปีเดียวกัน เทคซาโกก็ประกาศว่าสิทธิบัตรทุกอย่างทุกประการของ NiMH ตกเป็นของ Chevron ผู้ค้าน้ำมัน (ที่ใหญ่กว่า) ไปเรียบร้อยแล้ว
เชฟรอน เป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ใช้เวลาไม่นานนัก เพื่อการจัดสรรรูปแบบการปกครองในอาณาจักร NiMH วันที่ 6 มีนาคม 2544 ก็จัดการฟ้องร้องผู้ค้าผลิตแบตเตอรี่ NiMH รายใหญ่ยักษ์ ซึ่งก็ไม่ผิดที่จำเลยที่หนึ่งจะตกเป็น โตโยต้า และพานาโซนิค รวมทั้งผู้ร่วมขบวนการในกลุ่ม จนในที่สุดวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 โตโยต้า หรือPEVE ต้องเสียเงิน 30 ล้านดอลลาร์ เป็นค่าล่วงละเมิดสิทธิ์ของ EV-95 NiMH และที่เจ็บปวดไปกว่านั้นก็คือ คำจัดความของ NiMH ที่เพิ่มเติมเข้ามาว่า NiMH ใช้ได้กับรถที่เป็นไฮบริดเท่านั้น และต้องเป็นไฮบริดที่ไม่ใช่แบบปลั๊กอิน และโตโยต้ามีสิทธิ์ที่จะใช้ EV-95 NiMH ได้แค่วันที่ 31 ธันวาคม 2556
คำถามมีมากมายไปยัง เชฟรอน และจีเอ็ม แต่คำตอบมีเพียงว่า EV-95 NiMH ยังไม่เหมาะสมในเวลานี้ ต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน แต่ในส่วนของผู้ใช้รถแล้ว พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แบตเตอรี่ NiMH นั้นดีแล้ว สมบูรณ์แล้ว ใช้งานได้ยาวนานอายุแบตมากกว่าอายุของตัวรถ การใช้งานครั้งหนึ่งได้มากกว่า 120 ไมล์ ไม่ต้องเติมน้ำมัน ไม่ต้องดูแลบำรุงรักษาเหมือนเครื่องยนต์สันดาปภายในการชาร์จไฟทำได้จากในบ้าน
“คุณจะเอาอย่างไรล่ะ ตอนเย็นกลับเข้าบ้านชาร์จไฟทิ้งไว้ ตื่นเช้ามาเชื้อเพลิงเติมพร้อมวิ่งได้เป็น 100 ไมล์) หรือแม้แต่ลงทุนครั้งเดียวนิดหน่อยติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเท่านี้คุณก็ใช้รถ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ปล่อยมลพิษไปอีกเป็นแสนไมล์"
จีเอ็มไม่ยอมขาย EV1 ที่มีอยู่ แม้จะได้ราคาคันละ 2.5 หมื่นดอลลาร์ แต่ยอมเสีย 650 ดอลลาร์ต่อหนึ่งคัน เป็นค่าของการทำลาย EV1 โตโยต้า Rav4EV มีวิ่งอยู่บนถนนเป็นร้อยเป็นคันอย่างไม่มีปัญหา หลายร้อยคันใช้งานไปมากกว่า 1 แสนไมล์ มีความต้องการอย่างมากมายที่ต้องเข้าชื่อรอคิวเป็นหางว่าว
เมื่อตกอยู่ในภาวะจำยอม โตโยต้าและพานาโซนิคจำเป็นต้องปิดสายการผลิต RAV4E และโรงงานผลิต NiMH แม้ว่าจะมีผู้ผลิตผู้ขายจากต่างแดนลิขสิทธิ์ผูกขาดที่เชฟรอนก็ไม่อนุญาตให้ทำและรถไฟฟ้า EV (Electric Vehicle) ก็ถึงแก่ความตาย
มันตายเพราะผู้ให้กำเนิดฆ่ามัน การฆ่ารถไฟฟ้าแบบปลั๊กอิน นอกจากจะทำให้ความหวังของคนบนโลกใบนี้ ลดร้อนจากการปล่อยไอเสียจากเครื่องยนต์สันดาปภายในแล้วยังส่งผลไปถึงอนาคตของรถยนต์ไฮบริดที่หวังจะเป็นพระรองในเรื่องของ ZEV (Zero Emission Vehicle) และที่สุดแล้ววันนี้พูดได้เพียงว่ารถไฮบริด รถฟิวส์เซล รถพลังไฮโดรเจนหรือพลังน้ำ เป็นเพียงของเล่น เป็นงานประชาสัมพันธ์ เป็นเพียงการเบี่ยงเบนประเด็นของผู้ค้าน้ำมัน ต่อคำถามที่ว่าคุณฆ่ารถไฟฟ้าทำไม
« Last Edit: 08 Oct 2012, 22:05 by 2000ips »

ชื่อ ศักดิ์ ครับ

Corsa GSi 1.6 X16XE  ผมใช้เอง MAเอง
Zafira 1.8CD Z18XE ผบทบ. และลูกๆใช้ครับ ผมทำหน้าที่ MA
BMx อีก 3 แค่เติมลมยาง

I Love Opel


 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง