[ ข้อมูล ] - - - การใช้เครื่องยนต์ turbo ที่ถูกวิธี - - -

plawahn · 16999

Offline plawahn

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 1,623
  • CarreraZ Racing *~Thai-Nichi Instituof technology
- - - การใช้เครื่องยนต์ turbo ที่ถูกวิธี - - -
 
พื้นฐานเทอร์โบ
ตัวเทอร์โบประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ โข่งไอดี โข่งไอเสีย กังหันไอดี กังหันไอเสีย และเสื้อกลางที่เป็นชิ้นเดียวกับแกนเทอร์โบ
แกนเทอร์โบหมุนได้ด้วยไอเสียจากเครื่องยนต์ที่ต่อเข้าไปในโข่งไอเสีย จากความเร็วในการไหลและความร้อนของไอเสีย จะทำให้กังหันไอเสียหมุน และพาให้กังหันไอดีซึ่งติดตั้งอยู่บนแกนเดียวกันหมุนตามไปด้วย จากนั้น ไอเสียก็จะถูกระบายออกไปสู่ท่อไอเสีย ส่วนกังหันไอดีที่หมุนก็จะดูดอากาศเข้าไปในโข่งไอดี เหวี่ยงหนีศูนย์กลาง และอัดเข้าสู่เครื่องยนต์หรืออาจผ่านอินเตอร์คูลเลอร์ก่อน เพื่อลดความร้อนของไอดี

เทอร์โบไม่ได้มีถังเก็บอากาศสำรองไว้ ไม่ต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ไม่ต้องมีสายพานคล้อง แต่ใช้ไอเสียเป็นต้นกำลัง หมุนกังหันไอเสียเพื่อพาให้กังหันไอดีซึ่งอยู่บนแกนเดียวกันให้หมุนตาม และอัดอากาศเข้ากระบอกสูบ ไม่ได้นำไอเสียกลับเข้าเครื่องยนต์แต่อย่างใด

เทอร์โบ แรงได้อย่างไร
การใช้ไอเสียที่ไหลออกมาด้วยความเร็ว และมีความร้อนจัดหลายร้อยหรือเป็นพันองศาเซลเซียส สามารถทำให้กังหันไอเสีย (และกังหันไอดี) หมุนรองสูงหลายหมื่นรอบต่อนาที หรือเทอร์โบบางรุ่นก็หมุนเกินกว่าแสนรอบต่อนาที เพราะมีทั้งการขยายตัวของความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ และความเร็วของไอเสีย ที่เกิดจากการดันขึ้นของลูกสูบด้วย

เมื่อกังหันไอเสียหมุนเร็ว ก็จะพาให้กังหันไอดีหมุนเร็วไปด้วย ทำให้สามารถอัดอากาศเข้าสู่กระบอกสูบได้ปริมาณมาก และมีความหนาแน่นกว่าแรงดูดจากการเลื่อนลงของลูกสูบตามปกติ

เมื่อมีอากาศเข้าเครื่องยนต์มากขึ้น จึงสามารถเพิ่มการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากขึ้น ด้วยส่วนผสมระหว่างน้ำมันเชื้อเพลิง กับอากาศที่เหมาะสม ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มซีซี

นอกจากการใช้เทอร์โบในการเพิ่มกำลังให้เครื่องยนต์แล้ว ยังมีการใช้เพื่อลดมลพิษของไอเสียได้ด้วย เพราะการอัดอากาศที่มีความหนาแน่นมากกว่าการดูดตามปกติ ช่วยให้เครื่องยนต์ดีเซลเผาไหม้เชื้อเพลิงได้หมดจดขึ้น

ความร้อน ศัตรูของเทอร์โบ
เนื่องจากกังหันไอเสียต้องถูกเป่าผ่านตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน จึงต้องรับความร้อนจากไอเสีย และถ่ายเทความร้อนไปยังแกนกลาง ซึ่งต้องรับภาระทั้งหมุนรอบจัด และความร้อนสูง แกนที่สอดอยู่กับบูช แบริ่ง หรือลูกปืน จึงจำเป็นต้องมีการหล่อลื่น และระบายความร้อนด้วยน้ำมันเครื่องที่มีการไหลเวียน

โดยต่อท่อมาจากระบบหล่อลื่นหลักของเครื่องยนต์ (ปั๊มน้ำมันเครื่อง) แบ่งน้ำมันเครื่องไหลมาผ่านเสื้อกลาง และแกนเทอร์โบ เพื่อหล่อลื่น และระบายความร้อน จากนั้นจึงไหลลงสู่อ่างน้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์เทอร์โบจึงมีความสำคัญมาก เพราะต้องรับ 2 หน้าที่ คือ หล่อลื่น และระบายความร้อนทั้งเครื่องยนต์ และตัวเทอร์โบ จึงควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูง มีความหนืดที่เหมาะสม และเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดอย่างเคร่งครัด ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ยิ่งดี เพราะมักมีฟิล์มน้ำมันที่แข็งแรงกว่า และทนความร้อนได้สูงกว่า รวมทั้งคุณภาพดีสม่ำเสมอตลอดอายุการใช้งาน

ใช้งานถูกต้อง เพื่อความทนทาน
หลังสตาร์ตเครื่องยนต์ ควรปล่อยเดินเบาไว้อย่างน้อย 30 วินาทีก่อนขับออกไป เพื่อให้แกนเทอร์โบที่เพิ่งหมุนมีน้ำมันเครื่องไหลเวียนมาหล่อลื่นอย่างเพียงพอ แกนเทอร์โบลอยตัวอยู่บนชั้นฟิล์มของน้ำมันเครื่องแล้ว เพื่อรอการหมุนรอบจัดต่อไป เพราะขณะที่เครื่องยนต์เดินเบาจะมีไอเสียจำนวนน้อย เทอร์โบจึงหมุนช้า และในช่วงแรกที่ขับออกไปก็ไม่ควรใช้รอบสูงหรือกดคันเร่งหนัก ๆ ควรขับช้า ๆ เท่าที่สภาพการจราจรจะอำนวย ( ไม่ช้าจนเกะกะ ) รอให้เครื่องยนต์ถึงอุณหภูมิใช้งานก่อน จึงขับด้วยความเร็วปกติ

ก่อนดับเครื่องยนต์ ควรปล่อยเดินเบาไว้สักคู่ เพื่อให้แกนเทอร์โบหมุนช้า และมีน้ำมันเครื่องไหลผ่าน ช่วยนำความร้อนออกจากแกนก่อน (Cool Down)

ถ้าดับเครื่องยนต์ทันที ปั๊มน้ำมันเครื่องจะหยุดทำงาน ไม่มีน้ำมันเครื่องหมุนเวียนผ่านแกนเทอร์โบ แต่มีน้ำมันเครื่องไม่กี่ซีซี ค้างอยู่บนแกน และเสื้อกลางของเทอร์โบ ซึ่งจะถูกความร้อนของแกนเทอร์โบเผนจนแห้งเป็นตะกรันติดอยู่บนแกนเทอร์โบ และเสื้อกลางของเทอร์โบ หรือที่เรียกกันในภาษาช่างว่า “โค้ก” เมื่อสะสมมาก ๆ ก็จะทำให้หมุนไม่คล่อง หรือตะกรันเสียดสีกับชุดแบริ่งจนเกิดความเสียหาย

เปรียบเทียบคล้ายกับการใส่น้ำมันสัก 1 ช้อนลงในกระทะแล้วตั้งไฟทิ้งไว้ เมื่อน้ำมันได้รับความร้อนมาก ๆ และไม่มีการไหลเวียน ก็จะแห้ง และกลายเป็นตะกรันติดกระทะนั่นเอง

เดินเบานานแค่ไหน
เมื่อทราบว่าควรปล่อยเดินเบาก่อนดับเครื่องยนต์แล้ว ก็มีคำถามตามมาอีกว่า ควรเดินเบาไว้นานแค่ไหน ดูจากมาตรวัดความร้อนของน้ำได้หรือไม่

เรื่องนี้ไม่มีคำตอบที่เป็นตัวเลขตายตัว เพราะต้องขึ้นอยู่กับความร้อนของเทอร์โบ ซึ่งไม่สามารถดูได้จากมาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์บนแผงหน้าปัด และไม่มีมาตรวัดใด ๆ มาช่วยตัดสินใจได้ ต้องอาศัยการประเมินจากผู้ขับเป็นหลัก

โดยให้สังเกตจากลักษณะการขับในช่วง 15 นาทีสุดท้ายก่อนจอด ถ้าขับคลาน ๆ ใช้รอบต่ำมาตลอด หรือขับบนทางโล่ง แต่ใช้ความเร็ว และรอบเครื่องยนต์ไม่สูง เมื่อจอดแล้วก็สามารถดับเครื่องยนต์ได้ทันที เพราะแกนเทอร์โบมีความร้อนสะสมน้อย แต่ถ้าขับอัดมาด้วยความเร็วสูงตลอดทางแล้วจอดเลย เมื่อจอดนิ่งแล้วก็ควรปล่อยเดินเบาก่อนดับเครื่องยนต์ประมาณ 3-5 นาที

ถ้าไม่แน่ใจว่าควรปล่อยให้เดินเบานานแค่ไหน ก็ให้ใช้วิธี “ปลอดภัยไว้ก่อน” คือ นานไว้ก่อนเป็นดี ประมาณ 3-5 นาที แต่ก็อย่าให้โอเวอร์เกินไป เช่น ขับคลาน ๆ เพราะรถติดมาตลอดครึ่งชั่วโมง แต่กลัวมากจึงปล่อยเดินเบานานไว้ถึง 5 นาที อย่างนี้ก็ไม่เหมาะสม

เทอร์โบแบบมีน้ำหล่อเย็น
ผู้ผลิตเทอร์โบทราบดีว่า ความร้อนที่ชุดแกนได้รับการถ่ายทอดมาจากใบไอเสีย มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่น เมื่อมีการเร่งเครื่องยนต์มาก ๆ แกนเทอร์โบก็จะร้อนจัด ทำให้ตัวเทอร์โบ และน้ำมันเครื่องมีอายุการใช้งานสั้นลง จึงเพิ่มการระบายความร้อนให้กับเทอร์โบด้วยระบบน้ำหล่อเย็น (Water Cool) โดยออกแบบให้มีช่องน้ำไหลผ่านรอบเสื้อกลาง ส่วนด้านในก็ให้น้ำมันเครื่องไหลเวียนตามปกติ เพราะต้องมีการหล่อลื่นด้วย โดยน้ำ และน้ำมันเครื่อง มีการแบ่งแยกช่องทางเดินกันอย่างสิ้นเชิง ไม่มีการปะปนกัน โดยน้ำที่นำมาใช้นั้น ก็มักดึงมาจากน้ำของระบบหม้อน้ำตามปกติ และต้องมีการไหลเวียนไม่ใช่แช่อยู่นิ่ง ๆ

เทอร์โบที่ใช้ทั้งน้ำ และน้ำมันเครื่องในการระบายความร้อนนี้ ทำให้แกนเทอร์โบมีความร้อนไม่สูงมาก เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในช่วงแคบลง และช่วยให้ลดเวลาในการปล่อยเดินเบาก่อนดับเครื่องยนต์ลงได้

ปัจจุบัน มีผู้ผลิตรถยนต์หลายรายนิยมนำเทอร์โบระบบนี้มาใช้ เพราะช่วยให้เทอร์โบทนทานขึ้น ไม่ค่อยเสียจนตำหนิ จึงเป็นที่มาของความสงสัยว่า ไม่เดินเบาก่อนดับเครื่องยนต์ก็ไม่เห็นจะพัง การแนะนำให้เดินเบาก่อนดับเครื่องยนต์ เป็นเรื่องไร้สาระหรือเปล่า?

สตาร์ตเครื่องยนต์แล้วออกตัวทันที...ทำไมไม่พัง?
หลังสตาร์ตเครื่องยนต์ไม่ถึง 2 วินาที น้ำมันเครื่องก็เริ่มมีการไหลเวียนแล้ว สังเกตได้จากสัญญาณไฟรูปกาน้ำมันเครื่องบนหน้าปัดจะดับลงเกือบทันทีที่เครื่องยนต์ทำงาน (ถ้าระบบปกติ) แกนเทอร์โบก็มีน้ำมันเครื่องไหลเวียนเกือบจะทันทีเช่นกัน ไม่ใช่ว่าไม่มีน้ำมันเครื่องไหลผ่านเลย

แต่ที่แนะนำให้ปล่อยเดินเบาสักครู่ก่อนออกตัว ก็เพราะต้องการให้น้ำมันเครื่องไหลเวียนทั้งในเครื่องยนต์ และเทอร์โบอย่างทั่วถึง เพื่อให้มีการหล่อลื่นที่สมบูรณ์ก่อนใช้รอบสูงนั่นเอง

สาเหตุที่เทอร์โบไม่พังแม้ละเลยในกรณีนี้ เป็นเพราะในการใช้งานปกติ คนส่วนใหญ่เมื่อสตาร์ตเครื่องยนต์แล้ว ก็มักปล่อยเดินเบาก่อนสัก 5-10 วินาทีอยู่แล้ว มักไม่พบว่าเดินเบาแค่ 2-3 วินาทีแล้วออกตัวไปเลย แค่ 5-10 วินาที น้ำมันเครื่องก็ไหลเวียนได้ดีพอสมควรแล้ว แต่ย่อมดีกว่าถ้าปล่อยเดินเบา 20-30 วินาทีก่อนออกตัว

จอดแล้วดับเครื่องยนต์ทันทีก็ไม่เห็นเป็นไร
กรณีนี้น่าจะเป็นเพราะลักษณะการขับของคนทั่วไป และสภาพเส้นทางส่วนใหญ่ ที่ไม่ได้ทำให้แกนเทอร์โบร้อนจัดบ่อย ๆ เช่น ขับในการจราจรที่ติดขัด ไม่ได้เร่งเครื่องยนต์เต็มที่ หรือไม่ได้แช่รอบสูงเป็นระยะทางยาว ๆ ส่วนมากจะขับด้วยความเร็วปานกลาง เร็วจัดแค่บางช่วง และก่อนจอดก็ชะลอหรือขับรอบต่ำมาระยะหนึ่งแล้ว เช่น การขับทางด่วนใช้ความเร็วสูงได้จริง แต่กว่าจะถึงจุดหมายก็ต้องขับบนการจราจรที่ติดขัดบ้าง ไม่ใช่ออกจากทางด่วน 10 เมตรแล้วจะจอดนิ่ง และดับเครื่องยนต์ได้เลย

อาจมีบ้างที่ขับทางไหลด้วยความเร็วสูงแล้วแวะเข้าปั๊ม และจอดทันที หลังจากผ่อนคันเร่งไม่ถึง 30 วินาที อย่างนี้ แกนเทอร์โบยังเหลือความร้อนสะสมอยู่มากแน่ ๆ แต่มักไม่พบบ่อยนัก เพราะอย่างน้อยก็ต้องชะลอความเร็วมาก่อนจะจอดนิ่ง ซึ่งแกนเทอร์โบก็คลายความร้อนลงบ้างแล้ว

อีกสาเหตุที่ทำให้การไม่เดินเบาก่อนดับเครื่องยนต์แล้วเทอร์โบไม่พัง อาจเป็นเพราะเทอร์โบส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นแบบ Water Cool มีน้ำหล่อรอบนอกของชุด แกนจึงไม่ร้อนจัดมาก และเมื่อดับเครื่องยนต์แล้ว แม้น้ำ และน้ำมันเครื่องจะไม่ไหลเวียน แต่ก็มีน้ำอยู่เต็มช่องด้านนอก ต่างจากน้ำมันเครื่องที่มีแค่เคลือบ ๆ แกนเท่านั้น น้ำที่มีอยู่เต็มจึงพอจะช่วยดึงความร้อนออกไปได้บ้าง น้ำมันเครื่องจึงไม่ถูกเผาเป็นตะกรัน

Turbo Timer
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่ตั้งเวลาดับเครื่องยนต์ โดยสามารถถอดกุญแจ และล็อกรถยนต์ได้เลย ช่วยให้คนไม่ต้องเสียเวลารอเครื่องยนต์เดินเบา เมื่อถึงเวลาที่ตั้งไว้เครื่องยนต์ก็จะดับเอง การติดตั้งไม่ยุ่งยาก มีสายไฟแค่ 3-4 เส้น พ่วงเข้ากับชุดสวิตซ์กุญแจสตาร์ต

ความละเอียดในการตั้งเวลา แล้วแต่ลูกเล่นของแต่ละยี่ห้อ เช่น บางยี่ห้อตั้งได้ 1, 3, 5 นาที บางยี่ห้อก็ตั้งได้ละเอียดเป็นวินาที เช่น 30-300 วินาที

เพิ่มลูกเล่น สร้างจุดเด่น
เทอร์โบไทม์เมอร์รุ่นใหม่ ๆ ของหลายยี่ห้อไม่เพียงใช้ตั้งเวลาดับเครื่องยนต์เท่านั้น แต่มีการเพิ่มความสามารถต่าง ๆ เข้าไปอีกเพียบ เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนเพียงเล็กน้อย แต่ทำให้มีจุดเด่นกว่าคู่แข่ง และสามารถตั้งราคาสูงขึ้นได้มากโดยไม่ถูกบ่น เช่น ใช้จับเวลาในการขับระยะต่าง ๆ เช่น 0-200 เมตร 0-400 เมตร 200-400 เมตร 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง 0-200 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ 50-10 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เป็นมาตรวัดความเร็ว และมาตรวัดกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่

เทอร์โบไทม์เมอร์ส่วนใหญ่เป็นของต่างประเทศ ราคาตัวละประมาณ 2,000-6,000 บาท ส่วนของมือสองเชียงกง ก็พอมีและน่าสนใจ ในราคาตัวละเพียง 1,000 ขึ้นไป หรือจะเป็นของไทยทำก็มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ราคา 2,000-3,000 บาท ส่วนจะซื้อแบบที่มีลูกเล่นอะไรบ้างก็ตามสะดวก

จำเป็นหรือไม่
คำถามที่พบบ่อย คือ จำเป็นต้องติดตั้งเทอร์โบไทม์เมอร์หรือไม่ คำตอบก็คือ จำเป็นต้องปล่อยเครื่องยนต์เดินเบาสักพักก่อนดับ แต่ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเทอร์โบไทม์เมอร์

อ่านและแปลความหมายให้ดี เพราะเทอร์โบไทม์เมอร์ คือ อุปกรณ์ที่ช่วยให้คนขับไม่ต้องรอดับเครื่องยนต์เท่านั้น แต่ถ้าปกติขับไม่อัดหนัก ๆ หรือขับช้า ๆ มาก่อนแล้วค่อยจอด ไม่ค่อยได้ขับเร็ว ๆ แล้วจอดทันที และถ้าต้องจอดแล้วคนขับรอไหว ก็ไม่ต้องเสียเงินซื้อเทอร์โบไทม์เมอร์

ทำไมผู้ผลิตรถยนต์ไม่ติดตั้งมาให้
มีการวิจัยแล้ววว่า น้อยครั้งน้อยคนมากที่จะขับรถยนต์รอบจัดหรือใช้ความเร็วสูงแล้วต้องจอดรถทันที ส่วนมากก่อนจะจอดก็มักจะขับช้า ๆ อยู่สักพัก รวมทั้งปัจจุบันนิยมใช้เทอร์โบแบบ Water Cool ที่ช่วยระบายความร้อนจากแกนเทอร์โบได้ดี จึงมีโอกาสน้อยที่แกนเทอร์โบจะร้อนจัดโดยไม่คลายความร้อน

บางความเชื่อยังผิดและสับสน
มีบางคนแนะนำให้เดินเบาก่อนดับเครื่องยนต์ด้วยเหตุผลที่ผิดว่าเป็นเพราะในรอบเดินเบาแกนเทอร์โบจะหยุดหมุน หากดับเครื่องยนต์ทันที น้ำมันเครื่องที่หยุดการไหลเวียน จะทำให้เทอร์โบที่มีแรงเฉื่อยหมุนต่อขณะที่ขาดการหล่อลื่น แกนเทอร์โบจะหมุนขูดกับแบริ่งจนเป็นรอย จึงแนะนำให้เดินเบาก่อน เพื่อรอให้แกนเทอร์โบหยุดหมุนสนิท เมื่อดับเครื่องยนต์ แกนเทอร์โบจะได้ไม่ขูดแบริ่ง ซึ่งผิด

เพราะในความจริงแล้ว ตั้งแต่วินาทีแรกที่เครื่องยนต์เริ่มหมุน แม้จะหมุนด้วยแรงจากไดสตาร์ต แกนเทอร์โบก็หมุนแล้ว แค่ในรอบเดินเบา เทอร์โบก็หมุนหลายพันรอบต่อนาที และหลังดับเครื่องยนต์ แม้แกนเทอร์โบจะมีแรงเฉื่อยต่อ แต่ก็อีกไม่กี่วินาที น้ำมันเครื่องที่ค้างอยู่ จึงยังเหลือเฟือสำหรับการหล่อสื่น

แม้จะเป็นการแนะนำที่คล้ายกัน คือ ควรปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาก่อนดับ แต่ผิดตรงที่บอกว่า ปล่อยเดินเบาเพื่อให้แกนเทอร์โบหยุดหมุน เพราะเทอร์โบจะไม่หยุดหมุน จนกว่าเครื่องยนต์จะหยุดหมุนสนิท

การปล่อยเดินเบาก่อนดับเครื่องยนต์ จึงไม่ใช่การรอให้แกนเทอร์โบหยุดหมุน แต่เป็นเรื่องของความร้อน คือ ใช้น้ำมันเครื่องที่ไหลเวียน ไปดึงความร้อนออกจากแกนเทอร์โบ เพื่อให้เมื่อดับเครื่องยนต์แล้ว น้ำมันเครื่องที่ค้างอยู่บนแกนเทอร์โบ จะไม่ถูกความร้อนเผาเป็นตะกรัน

มีอินเตอร์คูลเลอร์ ไม่ต้องเดินเบาหรือ?
มีบางคนสับสนว่า ถ้าติดอินเตอร์คูลเลอร์แล้ว ยังจำเป็นต้องเดินเบาก่อนดับเครื่องอีกหรือไม่ ความจริงแล้ว 2 ส่วนนี้ไม่เกี่ยวข้องกันเลย เพราะอินเตอร์คูลเลอร์ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิของไอดีก่อนเข้ากระบอกสูบ แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นบนแกนเทอร์โบ เกิดจากความร้อนของไอเสียที่ไหลมากระทบกังหันไอเสีย และถ่ายทอดความร้อนไปยังแกนเทอร์โบ

ส่วนความร้อนของไอดี เกือบทั้งหมดเกิดจากการบีบอัดอากาศของกังหันไอดี ส่วนความร้อนจากแกนเทอร์โบที่ถ่ายเทมาถึงกังหันไอดีนั้นมีน้อยมาก เพราะถูกระบายออกไปโดยน้ำมันเครื่อง และน้ำหล่อเย็น

บูสต์เบา ๆ จอดแล้วดับได้เลย
บางกระแสบอกว่า ถ้าบูสต์ไม่หนัก (แรงดันต่ำ) ก็ไม่จำเป็นต้องเดินเบาก่อนดับเครื่องยนต์ ซึ่งก็เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะความร้อนเกิดจากไอเสีย ถ้ากดคันเร่งหนักอย่างต่อเนื่อง ถึงจะบูสต์แค่ 4-5 ปอนด์/ตารางนิ้ว ก็มีไอเสียออกมามาก ย่อมมีความร้อนสะสมที่แกนเทอร์โบมากตามไปด้วย และถ้าบูสต์หนักด้วยก็ยิ่งจำเป็นต้องเดินเบาก่อนดับ เพราะบูสต์หนัก คือ การอัดอากาศเข้ากระบอกสูบเป็นจำนวนมาก ก็ย่อมมีไอเสียออกมามากเช่นกัน

ติดตั้งไม่ยุ่งยาก แต่ไม่ง่าย
ตัวเทอร์โบไทม์เมอร์ ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก สามารถเลือกตำแหน่งที่ติดตั้งได้สะดวก ถ้าเป็นเทอร์โบไทม์เมอร์อย่างเดียว ก็ควรเลือกติดในที่ลับตาสักนิด เพื่อป้องกันการโจรกรรม เพราะไม่ได้ใช้ขณะขับอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นแบบที่วัดความเร็ว และจับเวลา ก็ต้องติดตั้งในตำแหน่งที่มองเห็นได้สะดวก

บางคนกังวลว่า การใช้เทอร์โบไทม์เมอร์ จะทำให้รถยนต์ถูกโจรกรรมได้ง่ายขึ้น เพราะสามารถรื้อสายไฟหลังเทอร์โบไทม์เมอร์ เพื่อต่อสายตรง และสตาร์ตเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็เป็นความจริง

แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งแล้ว แม้ไม่มีเทอร์โบไทม์เมอร์ มิจฉาชีพที่มีความชำนาญก็สามารถรื้อสายไฟจากคอพวงมาลัยเพื่อต่อตรง โดยใช้เวลาต่างกันไม่มาก เรื่องนี้จึงไม่น่ากังวลเท่าไร การเลือกสถานที่จอดรถที่ปลอดภัย จึงน่าจะช่วยป้องกันการโจรกรรมได้ดีกว่า

เครื่องยนต์เทอร์โบ จำเป็นต้องเดินเบาก่อนออกตัวและดับเครื่องยนต์ แม้จะขับไม่เร็วก็ควรปล่อยไว้สัก 20-30 วินาทีก็ยังดี ส่วนเทอร์โบไทม์เมอร์ ไม่จำเป็น ถ้าไม่รอนานบ่อย ๆ หรือคนขับทนรอได้


ขอบคุณ เจ้าของครับ http://fordclub.net/module_view.php?mod=webboard&fn=view&cid=01822

----------------

ชาวข้ามพันธุ์อ่านไว้ไม่เสียหายเด้อออออ
« Last Edit: 07 Aug 2009, 00:47 by kamolwat_t »

STATUS :: ***COMPLETE CORSA TURBO !!!!!***


- PLAWAHN LADY RACING SCHOOL รับเปิดคอร์ส สอนสุภาพสตรีซิ่งอย่างปลอดภัย*


Offline plawahn

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 1,623
  • CarreraZ Racing *~Thai-Nichi Instituof technology
กฏเหล็กของคนจะเอารถไปเซ็ตโบ

1. คุณต้องสามารถดูแลรถ ทั้งในเวลาปรกติ และในเวลาที่เสียหายกลางทางได้

2. คุณต้องเป็นคนช่างสังเกตุอาการต่างๆของรถ เพราะหากมีจุดผิดสังเกตุ ควรจอดรถดูทันที ไม่ควรปล่อยไว้

3. อย่า งก เพราะนั่นคือจุดสำคัญ หากคุณงก คุณอาจจะเสียหายมากกว่านั้น เช่น งกค่าน้ำมันเครื่อง ไปใช้แบบธรรมดา หรือ semi syn ซึ่งจะไม่เหมาะกับรถเทอร์โบ แต่ราคาถูก

4. ทำใจ เพราะงานนี้มียาว ไหนจะงบ ไหนจะเวลา ไหนจะความแรง ซึ่งถ้ามีใจให้มันแล้ว มันจะอยู่กับคุณไปอีกนาน

ถามตัวเอง และตอบใจตัวเองให้เรียบร้อยก่อน

อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถไว้

1. เครื่องมือพื้นฐานติดรถ

2. ไฟฉาย ทั้งแบบที่ต่อกับแบตได้ และแบบไม่ต้องต่อ

3. ประแจเบอร์ต่างๆ ไขควงขนาดต่างๆ คีม สายไฟ เทปพันสายไฟ ช่วยคุณได้ ในกรณีที่มีปัญหาในห้องเครื่อง เพราะรถเทอร์โบ ห้องเครื่องจะร้อนมาก สายไฟจะชอบมีปัญหา

4. น้ำเปล่าๆ 1 แกลลอน น้ำมันเครื่องที่เหลือจากการเปลี่ยนถ่าย  เอาติดรถไว้เลย รถเทอร์โบ ถ้าดูแลไม่ดี จะเป็นโรคตัวร้อน อย่างน้อยเรายังมีน้ำสำหรับหม้อน้ำ และน้ำมันเครื่องในกรณีความร้อนจัด น้ำมันเครื่องระเหย

5. แคมป์รัดท่อต่างๆ เผื่อบางทีตัวรัดท่ออินเตอร์หลุดจะได้มีเปลี่ยน
 
อุปกรณ์เหล่านี้แหละ ช่วยคุณได้ จริงๆมีอีกเยอะ แต่อันนี้เป็นทั้งหมดที่ผมพกติดรถไว้ แล้วก้อได้ใช้แล้ว ส่วนใหญ่นะ

สเต็ปการเตรียมตัวเซ็ตโบ

1. ช่วงล่าง ไม่ควรเป้นช่วงล่างเดิม อัดน้ำมันเด็ดขาด ควรเป็นของแต่งเท่านั้น เพื่อการรับน้ำหนัก และกระจายแรงม้าได้ดี

2. เบรค อย่างน้อยควรไปเปลี่ยนเป็นผ้าเบรคเกรดเมทิลลิค เพื่อการเบรคที่ดีขึ้น

3. ยาง ถ้าเก่ามากจะแข็ง ออกตัวแล้วล้อจะฟรีหมด จับแรงไม่อยู่ และไม่เกาะถนน เพราะอย่าลืมว่าเซ็ตโบแล้ว จะแรงกว่าเดิม ยางต้องรับไหว

4. เงิน ที่ต้องมากพอสมควร สำหรับการทำให้จบในครั้งเดียว แต่ถ้าไม่มาก ก้อต้องแบ่งเสต๊ปให้ถูก วางแผนการใช้เงินดีๆ แล้วจะสนุกกับมันได้

ถ้ามี 4 อย่างนี้แล้ว ก้อเตรียมลุยเข้าอู่ได้เลย


ขอบคุณ http://www.club1500cc.net/forums/index.php?topic=2556.0

STATUS :: ***COMPLETE CORSA TURBO !!!!!***


- PLAWAHN LADY RACING SCHOOL รับเปิดคอร์ส สอนสุภาพสตรีซิ่งอย่างปลอดภัย*


Offline ZeaBiscuit

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 3,952
  • ปากหมา ใจไม่หมา
    • ZB's Photos...
เริ่มที่แกก่อนเลยเจ้าเอส  :หึหึ:




ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาเจอกัน !!
Life Start at 6,000 rpm !!!
www.dekgayray.com


Offline jeabjamiro

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 8,623
  • ผมมันเสือ ไม่ใช่เซียน เหอะๆ
  • No.: in 05
  • รุ่นรถ: ASTRA VAN
  • สีรถ : ขาวโบ๊ะ
  • เครื่องยนต์: x20xev AT------เครื่องตัดหญ้า
 8)

หน้าไม่ให้แต่ใจพระครับ
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม และวาระ เฮ้อ.....แต่กว่าจะถึงวันนั้นคนดีต้องเจ็บกันอีกเยะ เหอะๆ
jeabjaMIro : OPEL ASTRA VAN 8V 1.6 GL 1993
                   : FIAT 850 SPORT COUPE'


 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง