สภาฯผ่านร่างกม. ภาษีน้ำมัน เสียงข้างมากฉลุย (ไทยรัฐ) ประชาชนเตรียมรับกรรมค่าน้ำมันแพง สภาฯ ใช้เวลาประชุม 7 ชั่วโมงก่อนเห็นชอบร่าง พรก.แก้ไข พรบ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต 244 ต่อ 143 เสียง ส.ส.เพื่อไทยให้ชาวบ้านจำชื่อ ส.ส.ที่สนับสนุนร่างกฎหมายนี้
เมื่อ ช่วงเย็นวันที่ 19 สิงหาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม ได้เข้าสู่การพิจารณาเรื่องด่วน คือ ยืนยันการอนุมัติ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552 ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 ซึ่งที่ประชุมวุฒิสภามีมติคว่ำไปแล้วนั้น ปรากฎว่า ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นสอบถามประธานว่าเหตุใด เรื่องสำคัญเช่นนี้จึงไม่มีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ให้ประชาชนที่สนใจ ได้รับทราบ โดยนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนทุกคนอยากรู้ว่ารัฐบาลยังมีการเก็บภาษีน้ำมันอยู่อีกหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาวุฒิสภาก็ไม่เห็นด้วยกับ พ.ร.ก.ฉบับนี้
อย่าง ไรก็ตาม นายสามารถ ได้พยายามให้ทั้งสองฝ่ายตกลงกันโดยสั่งพักการประชุมเป็นเวลา 10 นาที หลังจากเปิดการประชุมขึ้นอีกครั้ง แต่ละฝ่ายก็ยังคงยืนยันเช่นเดิม โดยฝ่ายรัฐบาลขอให้ที่ประชุมพิจารณาไปเลยขณะที่ฝ่ายค้านขอให้เลื่อนการ พิจารณาออกไปก่อนเพื่อให้มีการถ่ายทอดสด
ผลปรากฎว่าที่ประชุมส่วนใหญ่มีมติให้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ด้วยคะแนนเสียง 239 ต่อ 129 งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 5
จาก นั้น นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เสนอร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดภาษีสรรพสามิตทันที โดยระบุว่ารัฐบาลมีความจำเป็นที่ต้องยืนยันการออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ เพราะมีสาระสำคัญในการกำหนดราคาภาษีน้ำมัน ของเหลวและแก๊ส ที่คล้ายๆ กัน เนื่องจากอัตราการจัดเก็บภาษีน้ำมันได้ใช้มาเป็นเวลา 18 ปีแล้ว ทำให้อัตราภาษีไม่เหมาะสมกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันโลก ก่อนตรา พ.ร.ก.นี้ กรมสรรพสามิตได้จัดเก็บภาษีน้ำมันทั้งเบนซินและดีเซลในอัตราลิตรละ 5 บาท โดย น้ำมันทั้งสองชนิดมีการบริโภคในอัตราที่สูง รัฐบาลจำเป็นต้องเก็บอัตราภาษีน้ำมันที่เหมาะสม เพื่อรักษาความสมดุลในการหารายได้ของรัฐ และรักษาเสถียรภาพของประเทศ จึงจำเป็นต้องออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ เพื่อขยายอัตราภาษีน้ำมันเบนซินและดีเซล โดยจะจัดเก็บในอัตราที่ต่ำกว่าภาษีที่กำหนดไว้ และให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงขอให้สภาฯ ยืนยันการอนุมัติ พ.ร.ก.นี้เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ทาง ด้านนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นประกาศกลางสภาฯ ว่า ตนและชาวบ้านรับไม่ได้กับสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการ จึงขอออกจากห้องประชุม ไม่ขอร่วมพิจารณา พ.ร.ก.ฉบับนี้ จากนั้นที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย อภิปรายโจมตีว่า เห็นด้วยที่วุฒิสภาไม่ผ่าน พ.ร.ก.ที่อัปยศ อดสู สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทุกหย่อมหญ้า
ถือว่า ครม.ใจกล้าที่จะเสนอขึ้นภาษีน้ำมัน พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยกับการออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ เพราะหลังจากที่รัฐบาลเลิกเอาเงินจากกองทุนน้ำมันไปอุดหนุนภาษีสรรพสามิต ก็ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น ขณะที่ค่าการตลาดก็ยังเก็บในอัตราที่สูง ทำให้ประชาชนโดนทุบหัวเ พราะใช้น้ำมันแพงกว่าต่างประเทศอย่างชัดเจน ขณะที่กระทรวงพลังงานก็ไม่ดูแลเพราะรัฐมนตรีไม่รู้เรื่อง " แม้แต่ราคาไข่ก็ต้องถือว่าไข่อภิสิทธิ์น่าเกลียดที่สุด เพราะราคาใบละ 3.31 บาท ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบ 70 เหรียญต่อบาเรล เทียบกับไข่ของรัฐบาลสมัครมีราคาเพียง 3.25 บาทในช่วงที่ราคาน้ำมันดิบสูงถึง 137 เหรียญต่อบาเรล" นายสุรพงษ์ กล่าว
ขณะ ที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้พยายามอธิบายหักล้างข้อกล่าวหา ตอบโต้ว่า ส.ส.เพื่อไทยอภิปรายโดยใช้ข้อมูลเพียงด้านเดียว ไม่นำข้อมูลรอบด้านที่เป็นความจริงมาพูด โดยนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล ส.ส.แพร่ พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า จะนำรายชื่อ ส.ส.ที่ยืนยันร่าง พ.ร.ก.ฉบับนี้มาพิมพ์เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนทุกพื้นที่รับทราบว่า ส.ส.คนใดสนับสนุนให้รัฐบาลขึ้นภาษีขูดรีดประชาชน และขอให้ทุกครั้งที่เติมน้ำมัน ให้ประชาชนจำชื่อ ส.ส.เหล่านั้นไว้และอย่าเลือกเข้ามาอีก
ทั้ง นี้ ช่วงท้ายของการประชุมได้เกิดความวุ่นวายขึ้นเล็กน้อย เมื่อ ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยหลายคนได้ลุกขึ้นประท้วงที่ รมว.พลังงานกล่าวพาดพิง ทำให้ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ลุกขึ้นประท้วงเช่นกัน จนเกิดเสียงโห่ฮา ทำให้นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่ประธานต้องใช้ความเด็ดขาดสั่งให้ทุกสองฝ่ายนั่งลง
หลัง จากที่ประชุมใช้เวลาอภิปรายถึงความเหมาะสมในการออก พ.ร.ก.ดังกล่าว นานกว่า 7 ชั่วโมง ในที่สุดที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบยืนยันร่าง พ.ร.ก.นี้ด้วยคะแนนเสียง 244 ต่อ143 งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนนเสียง 6 ถือว่าได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งและมีผลประกาศใช้เป็น พ.ร.บ.ต่อไป และปิดการประชุมในเวลา 01.05 น. ของวันที่ 20 ส.ค. ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
และ Kapook.com
:(