จริงๆที่ผมทราบมา หน้าที่ของ สมอ. คือการออกมาตรฐานใหม่ๆ (ให้รองรับมาตรฐานที่ยุโรปหรือต่างประเทศใช้มานานแล้ว เพื่อการแข่งขันในตลาดโลก) มารองรับโดยเร็วที่สุดไม่ใช่เหรอครับ
เพราะวัตถุประสงค์หนึ่งของ สมอ. มี 4 ข้อ
1. คุ้มครองผู้บริโภค
2. รักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
3. พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
4. สร้างความเป็นธรรมในการซื้อขายขจัดปัญหา และอุปสรรคทางการค้าที่เกิดจาก มาตรการด้านมาตรฐาน
ถ้ามองในมุมมองของผม จากข้อ 3 ในเมื่อต่างประเทศทำกันมานานแล้ว (ถังโดนัท) ถ้าเราต้องการพัฒนาไปแข่งกับเค้า เราก็ต้องออกมาตรฐาน มอก. ในเรื่องของถังบรรจุก๊าซใหม่เพื่อทดแทนอันเดิมที่ออกมานานมากแล้ว (ดูชื่อ มอก. ก็น่าจะรู้ว่าออกมาตั้งแต่ปีไหน มอก.370-2525 เกือบๆ 30 ปีแล้วนะครับ สำหรับมาตรฐานอันนี้ ในเวลา 30 ปีเนี่ย Material Science ก้าวหน้าไปกี่ก้าวแล้ว ? ทำไมยังไม่ปรับปรุงมาตรฐานตัวนี้อีก ?)
เรื่องถังโดนัท จริงอยู่ครับว่ารูปทรงที่ทดแรงดันได้ดีที่สุดคือทรงแคปซูล แต่วัสดุที่ใช้ทำถังก็ต่างกันแล้ว มาตรฐานเรื่องถังโดนัทน่าจะออกมาได้นานมากแล้ว ถ้าพูดตามหน้าที่ของ สมอ. (เพราะขนาดประเทศที่เข้มงวดเรื่องความปลอดภัยอย่างยุโรป ยังมีมาตรฐานรองรับ แสดงว่ามันปลอดภัยในระดับนึงแล้ว ไม่ต้องดูอะไรมาก รถที่ขายในบ้านเรา กับตัวที่ส่งไปทดสอบ Euro NCAP ก็ต่างกันแล้วครับ ลองหาคลิป Crash test ดูได้จากเว็บ Euro NCAP จะเห้นได้ชัดว่า "คนละเรื่อง" ) แต่ก็อย่างว่าล่ะครับ บ้านเรามันมีเรื่องอื่นๆมาเกี่ยวข้องอีกเยอะ ทั้งนโยบายของรัฐบาล ทั้งเรื่องเงิน,ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ทุกคนก็คงทราบดีอยู่แล้ว เอาเป็นว่าละไว้ล่ะกัน
โดยส่วนตัวผมเชื่อถือ ECE- R67.01 มากกว่า มอก.370-2525 ครับ
ปล. ผมเห็นด้วยเรื่องจุดยึดของถังครับ ปัญหาส่วนมากที่เกิด ไม่ได้มาจากตัวถัง แต่มาจากจุดยึด และอุปกรณ์อื่นๆมากกว่าครับ
ปล2. ลองเข้าไปดูเรื่อง มอก.370-2525 ได้ครับ ว่ารายละเอียดเป็นยังไง ประกาศใช้เมื่อไหร่ ?
http://www.tisi.go.th/standard/fulltext/TIS-370-2524m.pdf