สอบถามเรื่องระบบจุดระเบิดคอซ่า ครับ

narong21 · 4282

Offline narong21

  • น้องใหม่ในยุทธจักร
  • *
    • Posts: 40
ไม่ทราบว่าในนรถ คอซ่า เป็นระบบใหน  ในเอาสารต่อไปนีหรือเปล่าครับ  รบกวนด้วยครับ
เครติตเอกสารจากเวป  mte'kmutt ครับ
การจุดระเบิดด้วยประกายไฟ

                ในเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟ   ประจุไฟฟ้าที่ทำให้เกิดขึ้นระหว่างเขี้ยวหัวเทียน ( Spark  Plug  Electrodes )  โดยระบบจุดระเบิดจะเริ่มกระบวนการเผาไหม้ที่ใกล้กับจุดสิ้นสุดของจังหวะอัด  แกนพลาสมาที่มีอุณหภูมิสูงที่เกิดขึ้นโดยประกายไฟจะพัฒนาไปเป็นเปลวไฟด้านหน้าที่แพร่กระจายออกไปและไม่มอดดับ  ซึ่งก็คือแผ่นปฏิกิริยาบาง  ๆ  ที่ปฏิกิริยาเคมีของการเผาไหม้เกิดขึ้น  ดังนั้นหน้าที่ของระบบจุดระเบิดก็คือทำให้มีการเริ่มต้นของกระบวนการแพร่กระจายของเปลวไฟดังกล่าวในลักษณะซ้ำ  ๆ  กันในแต่ละวัฏจักรตลอดช่วงภาระและอัตราเร็วเครื่องยนต์และให้เกิดขึ้นที่จุดที่เหามะสมในวัฏจักรการทำงานของเครื่องยนต์

หลักการของการจุดระเบิด

                   ประกายไฟจากขั้วไฟฟ้าหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างทั้งสองขั้วมากเพียงพอ  ในการทำให้เกิดประกายไฟโดยทั่วไปนั้น  ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างช่องว่างของเขี้ยวหัวเทียน  ( Electrode  Gap )  ถูกทำให้เพิ่มขึ้นจนกระทั่งถึงจุดที่ความต่างศักย์เสียสภาพฉับพลัน  ( Breakdown  Voltage )  ไอออน  ( ของสารผสมที่อยู่ระหว่างหัวเทียน )  ที่เกิดขึ้นก็จะแพร่กระจายจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่ง  ทำให้ความต้านทานของช่องว่างลดลงอย่างมากและกระแสไฟฟ้าผ่านช่องว่างก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ซึ่งระยะนี้เรียกว่า  เฟสเสียสภาพฉับพลัน  ( Breakdown  Phase )   แล้วก็จะตามด้วย  เฟสให้ประกายไฟ  ( Arc  Phase )  ที่เฟสให้ประกายไฟนี้พลาสมาทรงกระบอกบาง  ๆ  จะขยายตัวและสารผสมที่ติดไฟได้ก็จะเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ให้ความร้อนออกมาและนำไปสู่การขยายตัวของเปลวไฟ  ซึ่งอาจมีเฟสปล่อยประจุแบบรุ่งแสง  ( Glow  Discharge  Phase )  ตามมา  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของระบบจุดระเบิด

                    พลังงานที่จำเป็นสำหรับการจุดระเบิดสารผสมพอดีที่ไม่มีการเคลื่อนที่ในสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ตามปกติจะมีค่าประมาณ  0.2  mJ   แต่สำหรับสารผสมที่บางหรือหนาและมีการไหลของสารผสมผ่านเขี้ยวหัวเทียน  พลังงานที่จำเป็นอาจมีค่าถึง  3  mJ   ระบบจุดระเบิดที่ใช้กันทั่วไปจะให้พลังงานไฟฟ้า  30  mJ  ถึง   50  mJ  แต่มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่จะถูกถ่ายทอดไปยังสารผสม  ทั้งนี้เพราะมีการสูญเสียพลังงานเนื่องจากการถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้นพอสมควร



กราฟ 3.8 แสดงการแปรผันของแรงดันและกระแสไฟฟ้ากับเวลาของ

ระบบจุดระเบิดแบบที่ใช้คอยล์ทั่วไป

ระบบการจุดระเบิดที่ใช้กันทั่วไป

                ระบบการจุดระเบิดที่ใช้กันทั่วไปมี  2  ระบบ  คือ  ระบบจุดระเบิดด้วยแบตเตอรี่  ( Battery  Ignition  System )  และระบบจุดระเบิดด้วยแมกนิโต  ( Magneto  Igniton  System )  สำหรับระบบจุดระเบิดแบบใช้แบตเตอรี่ยังแบ่งออกเป็นหลายระบบ  ที่ใช้กันมากมี   3  แบบ ได้แก่  ระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์  ระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ควบคุมด้วยทรานซิสเตอร์  และระบบจุดระเบิดด้วยตัวเก็บประจุ

                1 )  ระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์  ( Coil  Ignition  System )  ที่จุดระเบิดด้วยไฟฟ้าแรงดันสูงที่ใต้จากคอยล์  ภาพ 3.9 แสดงระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ที่ใช้ชุดทองขาว  ( Contact  Breaker )  เป็นระบบที่ใช้กับเครื่องยนต์รถยนต์มาเป็นเวลานานแต่ในปัจจุบันค่อย  ๆ  ถูกแทนที่ด้วยระบบที่ทันสมัยกว่า  ระบบนี้ประกอบด้วยวงจรไฟแรงต่ำ  ( Primary  Circuit )  ได้แก่  แบตเตอรี่  สวิตช์กุญแจ  ตัวต้านทาน  ขดลวดไฟแรงต่ำ  ชุดทองขาว  และคอนแดนเซอร์  และวงจรไฟแรงสูง  ได้แก่  ขดลวดไฟแรงสูง  จานจ่าย  ( Ignition  Distributor )  และหัวเทียน  โดยมีการทำงานดังต่อไปนี้

                เมื่อเปิดสวิตช์กุญแจ  ถ้าชุดทองขาวปิด  กระแสก็จะไหลจากแบตเตอรี่ผ่านตัวต้านทานขดลวดไฟแรงต่ำ  ชุดทองขาว  และกลับไปยังแบตเตอรี่ผ่านทางสายไฟที่ต่อลงดิน  ซึ่งกระแสที่ไหลนี้ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กภายในแกนเหล็กของคอยล์  และเมื่อต้องการประกายไฟในการจุดระเบิด  ชุดทองขาวก็จะเปิดโดยการดันด้วยลูกเบี้ยวในจานจ่ายและไปตัดการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรแรงต่ำเป็นผลให้ฟลักซ์แม่เหล็กในคอยล์ยุบตัว  ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าทั้งในขดลวดไฟแรงต่ำและขดลวดไฟแรงสูง  โดยแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในขดลวดไฟแรงสูงก็จะถูกนำไปยังหัวเทียนเพื่อให้เกิดประกายไฟโดยจานจ่าย


รูปที่ 3.9 ระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ที่ใช้ชุดทองขาว

                    2 )  ระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ควบคุมด้วยทรานซิล  ( Transistorized  Coil  Ignition  System  ,  TCI )  เป็นระบบที่ปรับปรุงจากระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ที่ใช้ชุดทองขาวเดิมโดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อลดการบำรุงรักษาระบบจุดระเบิด  เพิ่มอายุการใช้งานของหัวเทียน  ปรับปรุงการจุดระเบิดสารผสมที่บางและที่ถูกเจือจาง  และเพิ่มความน่าเชื่อถือและอายุการใช้งานของระบบจุดระเบิด  ภาพ 3.9 แสดงระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ควบคุมด้วยทรานซิสเตอร์ซึ่งใช้ระบบกำเนิดพัลส์แม่เหล็ก  ( Magnetic  Pulse )  แทนชุดทองขาวและลูกเบี้ยวในระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์  ระบบดังกล่าวจะตรวจจับตำแหน่งของแกนจ่ายและส่งพัลส์ไฟฟ้าไปยังชุดควบคุมอิเล็กทรอนิกส์  แล้วชุดควบคุมนี้ก็จะปิดการไหลของกระแสที่ไปยังขดลวดไฟแรงต่ำ  ทำให้เกิดไฟฟ้าแรงดันสูงในขดลวดไฟแรงสูงและจ่ายไปยังหัวเทียนเช่นเดียวกับระบบที่ใช้ชุดทองขาว

            3)  ระบบจุดระเบิดด้วยตัวเก็บประจุ  ( Capacitive – Discharge  Ignition  System  ,  CDI )  เป็นระบบที่พลังงานไฟฟ้าถูกเก็บอยู่ในตัวเก็บประจุ  ( Capacitor )  และเปลี่ยนไปเป็นไฟฟ้าแรงดันสูงส่งไปยังหัวเทียนโดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้าแบบพิเศษ  ภาพแสดงระบบจุดระเบิดด้วยตัวเก็บประจุ  ซึ่งใช้ตัวกำเนิดพัลส์และมีการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกับระบบ  TCI  เพียงแต่เปลี่ยนจากคอยล์เป็นตัวเก็บประจุและหม้อแปลงไฟฟ้าเท่านั้น

 


รูป 3.10 ระบบจุดระเบิดด้วยตัวเก็บประจุ

                    สำหรับระบบจุดระเบิดด้วยแมกนิโตนั้น  แมกนิโต  ( แม่เหล็กหรืออาร์มาเจอร์  (Armature ) ที่หมุน)  จะทำให้เกิดกระแสที่ใช้ทำให้เกิดไฟฟ้าแรงดันสูงเพื่อให้ได้ประกายไฟที่เขี้ยวหัวเทียน  ระบบจุดระเบิดด้วยแมกนิโตนี้มักใช้กับเครื่องยนต์ขนาดเล็กทั้งแบบสี่จังหวะและสองจังหวะ  ภาพด้านล่างแสดงระบบแมกนิโตที่ใช้ชุดทองขาวซึ่งมีแม่เหล็กถาวรติดอยู่กับล้อ  เมื่อหมุนล้อก็จะทำให้เกิดกระแสในขดลวดไฟแรงต่ำ  ( W1 )  และเมื่อชุดทองขาวเปิด  กระแสไฟฟ้าที่ไหลในขดลวดไฟแรงต่ำก็จะถูกตัด  เกิดการยุบตัวของฟลักซ์แม่เหล็กอย่างรวดเร็ว  เป็นผลให้เกิดไฟฟ้าแรงดันสูงในขดลวดไฟแรงสูง  ( W2 )  ที่ต่อไปยังหัวเทียน  ( K )


รูปที่ 3.11 ระบบจุดระเบิดด้วยแมกนิโตที่ใช้ชุดทองขาว




Offline naykatua

  • น้องใหม่ในยุทธจักร
  • *
    • Posts: 34
เป็นระบบจุดระเบิดด้วยคอยล์ควบคุมด้วยทรานซิสเตอร์ครับ



Offline หนานมา

  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 3,127
  • luangsu_m@hotmail.com
  • No.: 34
  • รุ่นรถ: แอสตร้าแวน
  • สีรถ : สีเทา
  • เครื่องยนต์: พันหกอีโคฯ
จุดระเบิดด้วยหัวเทียน  ควบคุมด้วยกล่องควบคุม
ตามเงื่อนไขที่เขียนโปรแกรมไว้ครับ  :P

    “คำฮักน้องกูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลั๋วหนาว  จักเอาไว้พื้นอากาศ กล๋างหาว ก็กลั๋วหมอกเหมยซอนดาวลงมาขะลุ้ม  จักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม ก็กลั๋วเจ้าป๊ะใส่แล้วลู่เอาไป  ก็เลยเอาไว้ในอกในใจ๋ตัวจายปี้นี้  จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้ ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา”
- สมเจตน์ วิมลเกษม


 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง