http://rcw.ms/forums/showthread.php?p=9399014#post9399014ออ ผมเคยไปคุยกับผู้ผลิตในลิงค์ข้างบนครับ... เอาหลักการมาอธิบายก่อนนะครับ...
หลักการง่ายๆคือ ปริมาณไอเสียที่ รอบ 2000 ต่อนาที กับ 5000 ต่อนาทีมัน มีปริมาณไอเสียที่ไม่เท่ากันแน่นอนครับ...
นั้นหมายความว่า ในขั้นตอนการผลิดท่อไอเสียจากโรงงานมักจะเน้น รอบการทำงานจริง คือช่วงประมาณ 2000-4000 รอบให้ การออกแบบทางเดินอากาศ ออกมาสมบูรณ์ที่สุด... โดยที่ยังคงเรื่องอายุการใช้งานของตัวท่อพักด้วย
ด้วยเหตุข้างต้น รถที่ทำการเดินท่อไอเสียใหม่ จึงบอกว่า ปลายไหลกว่า ต้นมาดีกว่า รอบมาไวกว่า... แล้วแต่ว่าทำสูตรที่ต้องการให้ช่วงการใช้งานของรอบรถอยู่ช่วงไหนครับ เพราะว่ามันออกแบบใหม่นั้นเอง...
จึงมีการพัฒนาให้เกิดการค้นคว้าระบบทางเดินอากาศที่ สามารถทำงานได้ดีทั้งรอบต่ำและรอบสูงขึ้นมา... เท่าที่ผม รู้จักมีของ BMW และ HONDA ครับ คล้ายกันคือ...
มีท่อ2ใบ แต่ว่าที่รอบต่ำ จะทำงานท่อใบเดียว คือใบที่มาทางเดินอากาศซับซ้อนเพื่อให้อากาศไหลได้ช้า แรงบิดมาง่าย แต่เมื่อรอบสูงจนถึงจุดที่กำหนด จะมีการเปิดวาวล์บายพาสไปยังท่ออีกใบซึ่ง เป็นท่อที่ทางเดินอากาศโล่งกว่าในรอบสูงจึงสามารถไหลได้ทันไม่มีอาการอั้นครับ...
ดูรูป ดีกว่า...
ลองดูดีๆนะครับ... พักปลาย 2 ใบขนาดไม่เท่ากัน... ( จริงๆแล้วมันต้องดูของ BMW ครับ แต่ผมหารูปไม่เจอ.. )
กลับมาดูที่ท่อตัวที่สงสัย....
จกหลักการคงจะมีอะไรมาเป็นตัวขยายหรือหด ทางเดินอากาศโดยแปรผันตามแรงดันไอเสียครับ แต่สาเหตุที่ ไม่มีระบบนี้ในรถที่ผลิตขาย...คือ
1 เสียเวลาการทำงานและเพิ่มขั้นตอน
2 อายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่โดนอากาศร้อนระดับ 7-800 องศาตลอดเวลาทำงาน ถ้ามีระบบแมคคานิคอายุมันมักจะสั้นครับ ขนาดท่อไอเสียธรรมดา เวลาใช้ไปนานๆมันยังผุเลย..แล้วตัวที่มันขยับได้ พอผุแล้ว...... มันจะเป็นยังไงบ้างไม่รู้...
ที่เหลือถ้าถามว่า ใช้่งานดีไหม ถ้าเป็นไปตามหลักการที่ผมบอกไปข้างต้นก็คงดีครับ แต่ว่าเหมาะกับรถที่ใช้งานปรกติครับ ขับรอบสูงๆ คงไม่เวริค์