ต่อมากรุงเทพมีคนสอบและขอนามเรียกขานจำนวนมาก HS1 และ HS0 หมดลงประเทศไทยจึงได้ขอเพิ่มคือ Prefix ใหม่ได้เป็น E2 ซึ่งสามารถเอามารันเป็นเลขหมวดได้ ตั้งแต่ 0-9 คือ E20-E29 แต่เราใช้ไปแค่สองตัวคือ E20 กับ E21 ในสมัยกรมไปรษณีย์โทรเลข
ประเทศไทยจัดสรรโดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 9 เขต โดยใช้การทวนเข็มนาฬิกา จากกรุงเทพและปริมณฑล ทวนเข็มนาฬิกา ไปตะวันออก อีสานตอนล่าง อีสานตอนบน เหนือตอนบน เหนือตอนล่าง ตะวันตก ใต้ตอนบน และสิ้นสุดที่ใต้ตอนล่าง รวม 9 เขต ตามที่เพื่อนๆ แจ้งข้อมูลไว้
และกำหนดหลักเกณฑ์การออกสัญญาณเรียกขานให้กับสถานีวิทยุสมัครเล่น ดังนี้
HS n xxx (HS=Prefix n = number หมายเลขเขต x = Suffix อักษรโรมัน)
HS และ E2 บ่งบอกประเทศ (ประเทศไทย)
n บ่งบอกพื้นที่เขตในแต่ละภูมิภาค 0-9
HS n x กำหนด Suffix อักษรโรมัน 1 ตัว สำหรับพระราชวงศ์ เช่น HS1A HS1C HS1D (ซึ่งปัจจุบันมี 3 พระองค์)
HS n xx กำหนด Suffix อักษรโรมัน 2 ตัว สำหรับสถานีควบคุมข่าย ขึ้นต้นด้วย AA-AZ
เช่น HS1AB (ตัว B คือ Bangkok) HS1AS (S=Samutprakarn สมุทรปราการ) HS2AC (C=Chonburi ชลบุรี)
HS n xx กำหนด Suffix อักษรโรมัน 2 ตัว สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น ขึ้นต้นด้วย BA-ZZ
เช่น HS1BA-HS1ZZ, HS2BA-HS2ZZ
HS n xxx กำหนด Suffix 3 ตัว สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น เช่น HS1AAA-HS1ZZZ, HS2AAA-HS2ZZZ
HS 0 AA-HS 0 AZ กำหนดให้สำหรับสถานีคลับสเตชั่น หรือ สถานีกิจกรรมพิเศษ เช่น HS0AC, HS0AR, HS0AJ
HS 0 ZAA-HS 0 ZZZ กำหนดให้สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นต่างชาติ ที่มีสัญญาต่างตอบแทนระหว่างประเทศ Reciprocal Agreement
การกำหนดสัญญาณเรียกขานให้กับนักวิทยุสมัครเล่น ให้รันไปตามลำดับของตัวอักษรโรมัน A-Z เช่น AAA, AAB, AAC - AAZ...
E2 ก็ใช้หลักการเช่นเดียวกันครับ แต่ในการกำหนดแบ่งสัญญาณเรียกขานแต่ละพื้นที่ทั้ง 9 เขตของ E2 นั้น จะไม่เหมือนกับ HS ตามข้อมูลเบื้องต้น
เมื่ออดีต จะเว้น Suffix ในหมวด Q ไว้ เพราะจะไปซ้ำกับสัญญาณ Q code แต่เมื่อ E2 0 ZZZ หมดลง จึงมีนโยบายนำ Q ที่เหลือกลับมาใช้ใหม่ โดยเริ่มจาก HS 1 QAA – HS 1 QZZ, HS 0 QAA – HS 0 QZZ, E2 1 QAA - E2 1 QZZ, E2 0 QAA - E2 0 QZZ ส่วนเขตอื่นๆ เมื่อหมด ZZZ ก็จะกลับมาใช้ QAA - QZZ ใหม่