[ ข้อมูล ] นี่แหละเค้าเรียกทดสอบการชน

jook_corsa · 3864

Offline jook_corsa

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 1,748
  • コンプリートエンジン
ในเรื่องการทดสอบการชน ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นข้อมูลของ องค์กรทดสอบการชนของรถยนต์ แห่งทวีปยุโรป
นั่นก็คือ EURONCAP หรือ ชื่อเต็มว่า (European New Car Assessment Programme)
ซึ่งองค์กรนี้ได้รับการการันตีคุณภาพ การทดสอบที่เป็นกลาง จากกลุ่มประเทศ EU จำนวน 5 ประเทศด้วยกัน
จึงมั่นใจได้ว่า ข้อมูลทดสอบที่ได้มานั้น จะไม่ใช่ข้อมูลหลอกๆ เพราะจะมีรูปถ่ายเป็นหลักฐานให้ดูด้วยครับ

ขอเข้าประเด็นเลยนะครับ

การทดสอบการชนนั้น จะแบ่งหัวข้อในการทดสอบดังนี้ครับ

1.Frontal impact (ทดสอบการชนด้านหน้า)
2.Side impact (ทดสอบการโดนชนจากรถทางด้านข้าง)
3.Pole impact (ทดสอบการชนทางด้านข้างกับเสา)
4.Child protection (ทดสอบการคุ้มครองผู้โดยสารที่เป็นเด็ก)
5.Pedestrain protection (ทดสอบการชนคนกับหน้ารถ)

--Frontal impact ทดสอบการชนด้านหน้า
การทดสอบนี้ ทำที่ความเร็ว 64 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือ ประมาณ 40 ไมล์ต่อชั่วโมง ซึ่งรถที่จะรับการทดสอบ จะถูกลากเข้าไปชนกับแผงกั้นซึ่งยุบตัวได้ ซึ่งมีขนาดกว้าง 540 มิลลิเมตร และ ยาว 1000 มิลลิเมตร โดยที่จุดประทะของหน้ารถ จะเยื้องกับแผงกั้น 40 % ของ
ความกว้างที่สุดของตัวรถ แต่ไม่นับกระจกข้าง ดังที่จะได้ในรูปครับ



ในการทดสอบนี้ จะเอาหุ่นนั่งไปแทนคน โดยที่ผู้ใหญ่นั่งหน้า 2 คน ซึ่งหุ่นจะมีเซ็นเซอร์วัดแรงกระแทกตามจุดต่างๆที่คล้ายคนมากที่สุด
ซึงเราแบ่งเป็นระดับสีต่างๆดังในรูปครับ


เราแบ่งระดับความบาดเจ็บ ไล่จากไม่เป็นอะไรเลยจนพิการในส่วนนั้นดังนี้ครับ
1.บริเวณสีขาว = ดีสุดยอดไม่เป็นอะไรเลย
2.บริเวณสีเขียว (Good) = ดีมาก ไม่เป็นอะไรเท่าไหร่
3..บริเวณสีเหลือง (Adequate) = ค่อนข้างดี บาดเจ็บเล็กน้อย
4.บริเวณสีส้ม (Marginal) = พอใช้ บาดเจ็บ แต่ไม่สาหัส
5.บริเวณสีน้ำตาล (Weak) = แย่ บาดเจ็บสาหัส
6.บริเวณสีแดง (Poor) = แย่สุดๆ บาดเจ็บจนรักษาไม่ได้

สัญลักษณ์สีความร้ายแรงในการบาดเจ็บนี้ ใช้กับทุกรูปแบบทดสอบการชนนะครับ

--Side impact ทดสอบการชนทางด้านข้าง
ในการทดสอบนี้ รถที่เข้ารับการทดสอบ จะจอดหยุดนิ่งเฉยๆครับ แต่จะมีรถที่มีแผงกั้นด้านหน้า พุ่งเข้ามาชนด้านข้างของคนขับครับ
โดยที่แผงกั้นที่ติดกับหน้ารถของคันที่เอามาชน มีขนาด กว้าง 500 มิลลิเมตร และ ยาว 1500 มิลลิเมตรครับ ซึ่งรถที่มาชนจะพุ่งเข้าชนที่ความเร็ว 50 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 30 ไลล์ต่อชั่วโมงครับ









ระดับความบาดเจ็บ แตกต่างจาก frontal test ตรงที่ เป็นรูปทางด้านข้างคนขับแทนครับ



1.บริเวณสีขาว = ดีสุดยอดไม่เป็นอะไรเลย
2.บริเวณสีเขียว (Good) = ดีมาก ไม่เป็นอะไรเท่าไหร่
3..บริเวณสีเหลือง (Adequate) = ค่อนข้างดี บาดเจ็บเล็กน้อย
4.บริเวณสีส้ม (Marginal) = พอใช้ บาดเจ็บ แต่ไม่สาหัส
5.บริเวณสีน้ำตาล (Weak) = แย่ บาดเจ็บสาหัส
6.บริเวณสีแดง (Poor) = แย่สุดๆ บาดเจ็บจนรักษาไม่ได้


--Pole impact ทดสอบการชนด้านข้าง โดยชนกับเสา
ในการทดสอบนี้ จะเอารถที่เข้ารับการทดสอบยึดไว้กับฐานที่เคลื่อนที่ได้ไปในทางด้านข้าง ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 64 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง หรือประมาณ 40 ไมล์ต่อชั่วโมงครับ และจะเคลื่อนไปชนกับเสา ที่มีขนาด
254 มิลลิเมตร ซึ่งก็เป็นตามรูปครับ


ระดับความบาดเจ็บใช้แบบเดียวกับ side impact ครับ


-- Child protection ทดสอบการคุ้มครองผู้โดยสารที่เป็นเด็ก

เป็นการทดสอบโดยใช้วิธีเดียวกับ frontal impact , side impact , pole impact แต่หุ่นที่แทนเด็กนี้
จะวางไว้อยู่ที่เบาะหลังครับ โดยจะแบ่งเป็นเด็กเล็ก อายุ 1 ขวบครึ่ง ซึ่งจะนั่งอยู่บนเก้าอี้ของเด็กที่ผู้ผลิตรถออกแบบมาให้ใช้ครับ
ส่วนหุ่นเด็ก 3 ขวบ จะคาดเข็มขัดนิรภัยแบบผู้ใหญ่ครับ

--Pedestrain protection ทดสอบการชนคนกับหน้ารถ

การทดสอบนี้จะแตกต่างจากอย่างอื่นตรงที่ จะไม่ใช้หุ่นเต็มตัวครับ เนื่องจาก จากผลการทดลองพบว่า เวลาชนหุ่นแล้ว หุ่นไม่กระเด็นไปที่เดิมเสมอไป จึงทำให้ผลที่ออกมาผิดพลาดเยอะ แต่ทาง euroncap ก็แก้ปัญหานี้ โดยที่เอาแต่ละส่วนของหุ่นมายึดกับที่แล้วทดสอบการชนครับ เช่น ทดสอบขา ก็จะเอาเฉพาะขามาให้ชน ทดสอบหัวก็เอาเฉพาะส่วนหัวมาให้ชนครับ โดยแต่ละส่วนจะโดนชน ณ ความเร็ว 40 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง หรือ ประมาณ 25 ไมล์ต่อชั่วโมงครับ ดังที่อยู่ในรูปครับ



รูปทางซ้าย เป็นมุมในการยึดส่วนของหุ่นไว้ให้โดนชนครับ ส่นรูปทางขวา อันนี้จะแปลความหมายต่างจากอย่างอื่นครับ

1.บริเวณสีเขียว (Good) = บริเวณที่ส่วนของหุ่นโดนชนแล้วไม่บาดเจ็บอะไรเท่าไหร่
2.บริเวณสีเหลือง (Adequate) = บริเวณที่ส่วนของหุ่นโดนชนแล้ว บาดเจ็บเล็กน้อย
3.บริเวณสีแดง (Marginal) = บริเวณที่ส่วนของหุ่นที่โดนชนแล้ว บาดเจ็บแต่ไม่ถึงขั้นสาหัส


การทดสอบนี้มีข้อเสียอยู่ที่ว่า ในความเป็นจริง มันจะไม่ได้ผลตามที่ทดสอบเสมอไปครับ เพราะ เวลาคนเราโดนชนแล้ว ไม่สามารถควบคุมได้ว่า จะกระเด็นไปทางไหนครับ ถ้าบางคนโดนชนที่ขาแล้ว ไปนอนอยู่บนฝากระโปรง ก็อาจจะไม่ตาย แต่บางคน ถึงโดนที่เดียวกัน แต่หัวไปกระแทกพื้นก็อาจตายได้ครับ

ที่มา : www.euroncap.com

มาทำความรู้จักกับหุ่นของเรากันหน่อย ชื่อเล่นของเขาคือ Dummies ครับ

หุ่นที่ใช้ในการทดสอบจะแบ่งเป็น 2 รุ่น คือ 1. รุ่น Hybrid III เอาไว้สำหรับทดสอบการชนแบบ frontal impact
และรุ่น EuroSID II เอาไว้ทดสอบแบบ Side impact และ Pole impact ครับ เหตุที่ต้องใช้หุ่นต่างรุ่นกัน ก็เพราะ แต่ละรุ่นจะวางเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงกระแทกไม่เหมือนกันครับ หุ่นทั้ง 2 รุ่นนี้ทำจาก กระดูกที่เป็นโลหะ และผิวหนังที่เป็นยางครับ พร้อมฝังเซ็นเซอร์ตามจุดต่างๆ และหุ่นตัวนี้ ค่าตัวแพงครับ ราคา 100,000 f (ฟรังส์ ) หรือ 685,545.37 บาท



จุดรับรู้ของ Dummies อยู่ตรงไหนบ้าง

1.หัว
ทำมาจากอลูมิเนียม หุ้มด้วยยางอ่อนๆ และมีเซ็นเซอร์วัดความเร็ว 3 ตัวฝังอยู่ตามมุมต่างๆของหัว ซึ่งจะรายงานขนาดของแรง และ ความเร่ง ตอนเกิดอุบัติเหตุ

2.คอ
มีเซ็นเซอร์ตรวจจับ แรงบิดงอ แรงฉือน และแรงยืด ในขณะที่คอนั้นงอไปข้างหน้า หรือข้างหลัง

3.แขน
ไม่มีเซ็นเซอร์ใดๆทั้งสิ้น

4.หน้าอก (กรณี frontal impact)
หุ่น Hybrid III มีซี่โครงที่ทำจากเหล็กกล้า และมีอุปกรณ์ตรวจจับ การเปลี่ยนทิศทางของแรงที่กระทำกับหน้าอก เช่น แรงที่เข็มขัดนิรภัยรัดแน่นเกินไป

5.หน้าอก (กรณี side impact)
หุ่นรุ่น EuroSID II มีซี่โครงที่บรรจุด้วย อุปกรณ์ตรวจจับแรงอัด และ ความเร็วของแรงอัด

6.หน้าท้อง
ใช้หุ่น EuroSID III ที่ประกอบด้วย เซ็นเซอร์วัดแรง ที่สามารถทำความบาดเจ็บแก่หน้าท้องด้วย

7.กระดูกก้นกบ
หุ่น EuroSID III มีอุปกรณ์ตรวจจับแรงที่อาจทำให้ กระดูกเคลื่อนหรือหักได้

8.ช่วงขาด้านบน
ในหุ่น Hybrid III จะมีอุปกรณ์ตรวจจับแรงกระแทก ซึ่งอยู่บนเข่าที่สไลด์ได้ (ไปหน้าหรือถอยหลังได้)
เพื่อตรวจสอบแรงที่ทำต่อหัวเข่าเวลา หัวเข่าไปโขกกับแผงคอนโซลของรถ

9.ช่วงขาด้านล่าง
อุปกรณ์ที่อยู่ในเจ้า dummies จะวัดแรงงอ แรงเฉือน แรงบีบอัด และแรงดึงตรง shin – bone (น่าจะเป็นกระดูกขาด้านหน้า)
และ fibula (น่าจะเป็นส่วนของกระดูกขาด้านล้างที่ต่อเชื่อมไปยังตาตุ่ม)

10.เท้าและตาตุ่ม
มีอุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหวของเท้า และ การบิดตัวของเท้าขณะชน



ที่มา : www.euroncap.com

ผมผิดตรงไหนแย้งได้นะครับ โดยเพราะศัพท์อวัยวะคน ผมไม่ค่อยรู้เท่าไหร่

ใครที่ต้องการศึกษาอย่างละเอียดเพิ่มเติม ตามลิงค์ครับ เป็น pdf file จะบอกสเปคทุกอย่างที่ใช้ในการทดสอบครับ รวมกันก็ 300 กว่าหน้าครับ
http://www.euroncap.com/Content-Web-...protocols.aspx

ขอบคุณเพื่อนวศินจาก SUT carclub ที่แปลให้นะครับ
« Last Edit: 03 Nov 2009, 12:01 by kamolwat_t »



 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง