[ข้อมูล] น้ำมันเครื่องคร้าบ

PeeSard · 8770

Offline PeeSard

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 9,159
  • DIY ไม่ทำไม่รู้..*v*
ขอเปิดประเด็น น้ำมันเครื่องนะครับ จากหลากหลายแหล่งเอามาปะติดปะต่อกัน
เพื่อเราๆ ท่านๆ จะได้รับทราบรายละเอียดว่า อันไหนเหมาะสม หรือไม่เหมาะสมกับสภาพรถเรา

น้ำมันหล่อลื่น หรือ น้ำมันเครื่อง ประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่สำคัญคือ
น้ำมันพื้นฐาน และสารเพิ่มคุณภาพ น้ำมันเครื่องมีหน้าที่ลดแรงเสียดทานของวัตถุชิ้นที่เสียดสีกัน
ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ เคลือบช่องว่างระหว่างผิวสัมผัส ทำความสะอาดเขม่าและเศษโลหะภายในเครื่องยนต์
ป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมและกรดต่างๆ และป้องกันกำลังอัดของเครื่องยนต์รั่วไหล

แหล่งที่มาของน้ำมันพื้นฐานที่ใช้ทำมันเครื่องมี 3 แหล่งคือ

   1. น้ำมันที่สกัดจากพืช
   2. น้ำมันที่สกัดจากน้ำมันดิบ
   3. น้ำมันสังเคราะห์ น้ำมันชนิดนี้จะให้คุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ดีที่สุด
   4. น้ำมันหล่อลื่น

Lube Oil , Lubricating Oil ผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการกลั่น น้ำมันดิบ มีช่วงจุดเดือดระหว่าง 380-500 องศาเซลเซียส
และเติมสารเพิ่มคุณภาพต่างๆ ในปริมาณเล็กน้อยเพื่อปรับปรุงสมบัติให้เหมาะสมสำหรับใช้งานหล่อลื่นแต่ละอย่าง เช่น
ความหนืดโดยเยื่อบางๆ หรือเนื้อครีม ของน้ำมันหล่อลื่นจะเคลือบอยู่ระหว่างผิวของชิ้นส่วน 2 อย่าง
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนโลหะที่มีการเคลื่อนไหวผ่านไปมา ทำหน้าที่ป้องกันการเสียดสีกันโดยตรง
ขณะเดียวกันจะช่วยทำความสะอาด และระบายความร้อน โดยช่วยระบายความร้อนจากเครื่องยนต์ได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์
แอดดิทีฟอื่นๆ ที่มักผสมลงไปด้วย ได้แก่ สารป้องกันสนิม และการกัดกร่อน

มาตรฐานน้ำมันเครื่อง

1. มาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ (Society of Automotive Engineer : SAE)
ใช้ระบุความหนืด (ความข้นใส) ของน้ำมันเครื่อง ค่ายิ่งมากก็ยิ่งมีความหนืดมาก โดยแบ่งน้ำมันเครื่องออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
 * เกรดเดียว (monograde) คือน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดค่าเดียว เช่น SAE 40 หมายความว่า
ณ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส น้ำมันจะมีค่าความหนืดอยู่ที่ เบอร์ 40
 * เกรดรวม (multigrade) คือน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืด 2 ค่า เช่น SAE 20W-50 หมายความว่า
ในอุณหภูมิ -25 องศาเซลเซียส น้ำมันจะมีค่าความหนืดอยู่ที่ เบอร์ 20
แต่เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 100 องศาเซลเซียส จะเปลี่ยนค่าความหนืดเป็น เบอร์ 50
 * อักษร "W"(winter) ใช้เป็นตัวบ่งบอกว่าค่าความหนืดนี้เป็นเกรดฤดูหนาว (วัดที่ -25 องศาเซลเซียส)
หากไม่มีจะเป็นเกรดฤดูร้อน (วัดที่ 100 องศาเซลเซียส)

2. มาตรฐานของสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (The American Petroleum Institute : API)
ใช้ระบุประเภทของเครื่องยนต์ และสมรรถนะในการปกป้องชิ้นส่วนของเครื่องยนต์
--สำหรับเครื่องยนต์เบนซินใช้อักษร "S" (spark ignition) เช่น SA SC SD SE SF SG SH SI SJ
--ส่วนเครื่องยนต์ดีเซลใช้ อักษร "C" (compress ignition) เช่น CD CB ... CF4 บางครั้งเราอาจเห็นทั้ง "S" และ "C" มาด้วยกัน เช่น
SG/CH4 หมายถึง น้ำมันเครื่องนี้เหมาะสำหรับการใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน แต่ก็สามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ในระยะสั้น หรือ
CH4/SG ก็จะกลับกันกับกรณีข้างต้นคือเหมาะสำหรับการใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล แต่ก็สามารถใช้กับเครื่องยนต์เบนซินได้ในระยะสั้น


ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C
http://www.nice.ac.th/data/knowledge1.ppt

+นู๋แดง GSi ไปได้ทุกที่+

เกี่ยวกับนู๋ซ่า มีปัญหาอะไร โทรมาได้เลยครับ
ส่วนตัว GSM : 0 89 0 31 55 99

NCStyle Mobile Kiosk
ซุ้มขายของสำเร็จแนวคลาสสิต





Offline PeeSard

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 9,159
  • DIY ไม่ทำไม่รู้..*v*
มาตรฐานน้ำมันเครื่อง (แบบละเอียด 1)

ความหมายของเกรดน้ำมันเครื่องที่อยู่ข้างกระป๋องนั้น
มีความสำคัญต่อการใช้งานของเครื่องยนต์เราสามารถแบ่ง เกรดน้ำมันเครื่องออกได้สองประเภทด้วยกันดังนี้

-แบ่งตามความหนืด
-แบ่งตามสภาพการใช้งาน

การแบ่งเกรดน้ำมันเครื่องตามความหนืด
แบบนี้จะเป็นที่คุ้นเคยและใช้กันมานานแล้ว และเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงของอีกหลายสถาบันที่ตั้ง ขึ้นมาทีหลังอีกด้วย
พูดถึงมาตรฐาน "SAE" คงจะรู้จักกันมาตรฐานนี้ก่อตั่งโดย "สมาคมวิศวกรยานยนต์" ของอเมริกา (Society of Automotive Engineers)

การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องแบบนี้จะแบ่งเป็นเบอร์ เช่น 30,40,50 ซึ่งตัวเลขแต่ละชุดนั้นจะหมายถึงค่าความข้นใสหรือค่า ความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น
โดยน้ำมันที่มีเบอร์ต่ำจะใสกว่าเบอร์สูง ตัวเลขที่แสดงอยู่นั้นจะมาจากการทดสอบที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
หมายความว่า ที่อุณหภูมิทำการทดสอบ น้ำมันเบอร์ 50 จะมีความหนืดมากกว่าน้ำมันเบอร์ 30 เป็นต้น

น้ำมันที่มีตัว "W" ต่อท้ายนั้นย่อมาจากคำว่า Winter เป็นน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับใช้ในอุณหภูมิต่ำ
ยิ่งตัวเลขน้อยยิ่งมีความข้นใสน้อย จะวัดกันที่อุณหภูมิต่ำ -18 องศาเซลเซียสน้ำมันเบอร์ 5W จะมีความข้นใสน้อยกว่าเบอร์ 15W
นั่นหมายความว่าตัวเลขสำหรับเกรดที่มี "W" ต่อท้ายเลขยิ่งน้อย ยิ่งคงความข้นใสในอุณหภูมิที่ติดลบมาก ๆ ได้เหมาะสำหรับใช้งานในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็นมาก
อย่างเกรด 0W นั้นสามารถคงความข้นใสได้ถึงประมาณ -30 องศาเซลเซียส
เกรด 20 W สามารถคงความข้นใสได้ถึงอุณหภูมิประมาณ -10 องศาเซลเซียส
น้ำมันเครื่องทั้งสองเกรดนี้เรียกว่า "น้ำมันเครื่องชนิดเกรดเดียว" (Single Viscosity หรือ Single Grade)

ส่วนน้ำมันเครื่องชนิดเกรด รวม (Multi Viscosity หรือ Multi Grade) นั้นทาง SAE ไม่ได้เป็นผู้กำหนดมาตรฐานของน้ำมันเกรดรวม
แต่เกิดจากการที่ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงโดยใช้สารเคมี เข้ามาผสมจนสามารถทำให้น้ำมันเครื่องนั้น ๆ มีมาตรฐานเทียบเท่ากับมาตรฐานของ SAE ทั้งสองแบบได้
เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการใช้งานตามสภาพภูมิประเทศที่มีอุณหภูมิต่างกันมาก
การผสมสารปรับปรุงคุณภาพนั้นแตกต่างกันมากน้อยตามความต้องการในการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเกรด 5W-40 หรือ 15W-50
แต่การแบ่งเกรดของน้ำมันเครื่องตามความหนืดที่เราเรียกกันเป็นเบอร์นี้สามารถบอกได้แค่ช่วงความหนืดเท่านั ้น
แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงระดับในการใช้งานของเครื่องยนต์ แต่ละประเภท

ต่อมาในประมาณปี 1970 SAE,API และ ASTM (American Society for Testing and Masterials)
ได้ร่วมมือกันกำหนดการแยกน้ำมันเครื่องตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี่เครื่องยนต์ที่พัฒนาขึ้น
เราจึงเห็นได้เห็นจากข้างกระป๋องบรรจุ ตัวอย่างเช่น การบอกมาตรฐานในการใช้งานไว้ API SJ/CF และมีค่าความหนืดของ SAE 20W-50 ควบคู่กันไปด้วย
แสดงว่าน้ำมันเครื่องชนิดนี้สามารถใช ้กับเครื่องยนต์เบ็นซินได้เทียบเท่าเกรด SJ ถ้าใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลจะเทียบเท่าเกรด CF ที่ค่าความหนืด SAE 20W-50

+นู๋แดง GSi ไปได้ทุกที่+

เกี่ยวกับนู๋ซ่า มีปัญหาอะไร โทรมาได้เลยครับ
ส่วนตัว GSM : 0 89 0 31 55 99

NCStyle Mobile Kiosk
ซุ้มขายของสำเร็จแนวคลาสสิต





Offline PeeSard

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 9,159
  • DIY ไม่ทำไม่รู้..*v*
มาตรฐานน้ำมันเครื่อง (แบบละเอียด 2)

API

คำว่า "API" ย่อมาจาก "American Petroleum Institute" หรือสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา
ซึ่งจะแบ่งเกรดน้ำมันหล่อลื่นตามสภาพการใช้งานเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ก็คือ

-"API"ของเครื่องยนต์ที่ ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชื้อเพลิงใช้ สัญลักษณ์ "S" (Service Stations Classifications) นำหน้า เช่น SA, SB, SC, SD, SE, SF, SG, SH, และ SJ
-"API" ของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Classifi-cations) นำหน้าเช่น CA, CB, CC, CD, CD-II, CF, CF-2, CF-4, และ CG-4


เรามาดูน้ำมันเครื่องที่ใช้น้ำมันเบ็นซินเป็นเชื้อเพลิงกันก่อนจะใช้สัญลักษณ์ "S" และตามด้วยสัญลักษณ์แทนน้ำมันเกรดต่าง ๆ ที่แบ่งได้ตามเกรดดังต่อไปนี้

-SA สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินใช้งานเบาไม่มีสารเพิ่มคุณภาพ
-SB สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินใช้งานเบามีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย และสารป้องกันการกัดกร่อนไม่แนะนำให้ใช้ในเครื่องยนต์รุ่นใหม่
-SC สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1964-1967 โดยมีคุณภาพสูงกว่ามาตรฐาน SB เล็กน้อย เช่น มีสารควบคุมการเกิดคราบเขม่า
-SD สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1968-1971 โดยมีสารคุณภาพสูงกว่า SC และมีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่า SC
-SE สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1971-1979 มีสารเพิ่มคุณภาพเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้สูงกว่า SD และ SC และยังสามารถใช้แทน SD และ SC ได้ดีกว่าอีกด้วย
-SF สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินที่ผลิตระหว่าง คศ. 1980-1988 มีคุณสมบัติป้องกันการเสื่อมสภาพสามารถจะทนความร้อนส ูงกว่า SE และยังมีสารชำระล้างคราบเขม่าได้ดีขึ้น
-SG เริ่มประกาศใช้เมื่อเดือนมีนาคม คศ.1988 มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นกว่ามาตรฐาน SF โดยเฉพาะมีสารป้องกันการสึกหรอ สารป้องกันการกัดกร่อน สารป้องกันสนิม
สารป้องกันการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อน และสารชะล้าง-ละลาย และย่อยเขม่าที่ดีขึ้น
-SH เริ่มประกาศใช้เมื่อปี คศ.1994 เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ได้มีการพัฒนาเครื ่องยนต์อย่างรวดเร็วมีระบบใหม่ ๆ ในเครื่องยนต์ที่ถูกคิดค้นนำเข้ามาใช้ เช่น
ระบบ Twin Cam, Fuel Injector, Multi-Valve, Variable Valve Timing และยังมีการติดตั้งระบบแปรสภาพไอเสีย (Catalytic Convertor) เพิ่มขึ้น
-SJ เป็นมาตรฐานสูงสุดในปัจจุบัน เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ.1997 มีคุณสมบัติทั่วไปคลายกับมาตรฐาน SH แต่จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดีกว่า
มีค่าการระเหยตัว (Lower Volatility) ต่ำกว่า ทำให้ลดอัตราการกินน้ำมันเครื่องลง และมีค่าฟอสฟอรัส (Phosphorous) ที่ต่ำกว่าจะช่วยให้เครื่องกรองไอเสียใช้งานได้นานขึ้น

สำหรับ เครื่องยนต์ดีเซลจะใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Classifications) และตามด้วยสัญลักษณ์ที่แทนด้วยน้ำมันเกรดต่าง ๆ
โดยจะแบ่งตามลักษณะเครื่องยนต์ที่ใช้งานแตกต่างกัน
-CA สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้งานเบา เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่ผลิตขึ้นระหว่าง คศ. 1910-1950 มีสารเพิ่มคุณภาพเล็กน้อย เช่น สารป้องกันการกัดกร่อน
สารป้องกันคราบเขม่าไปเกาะติดบริเวณลูกสูบผนังลูกสูบ และแหวนน้ำมัน
-CB สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา งานเบาปานกลาง มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1949 มีคุณภาพสูงกว่า CA โดยสารคุณภาพดีกว่า CA
-CC สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบ มาตรฐานนี้เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1961 ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่า CB โดยเพิ่มคุณสมบัติในการป้องกันคราบเขม่า
มีสารป้องกัน สนิมและกัดกร่อน ไม่ว่าเครื่องยนต์จะร้อนหรือเย็นจัดก็ตาม
-CD สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ.1955 มีคุณภาพสูงกว่า CC
-CD-II สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1988 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
-CE สำหรับเครื่องยนต์ที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ ใช้งานหนัก และรอบจัดเริ่มประกาศใช้ คศ.1983 มีคุณภาพสูงกว่า CD ป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้อย่างดีเยี่ยม
-CF เป็นมาตรฐานสูงสุดในเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน สำหรับเกรดธรรมดา (Mono Grade) เริ่มประกาศใช้เมื่อ คศ. 1994
เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลทุกชนิดไม่ว่าจะใช้ งานหนักหรือเบา สามารถใช้แทนในมาตรฐานที่รอง ๆ ลงมา เช่น CE, CD, CC ได้ดีกว่าอีกด้วย
-CF-2 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุนใหม่ 2 จังหวะเริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1994 ส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ดีทรอยด์ ซึ่งใช้ในกิจการทางทหาร
-CF-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4จังหวะที่ติดซุปเปอร์ชาร์จหรือเทอร์โบที่ใช้งานหนัก และรอบจัด เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 1990
เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม สามารถป้องกันการกินน้ำมันเครื่องได้ดีเยี่ยม -CG-4 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ 4จังหวะซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในในปัจจุบัน เริ่มประกาศใชปี 1996 เป็นน้ำมันเครื่องเกรดรวม
« Last Edit: 21 Oct 2009, 14:10 by PeeSard »

+นู๋แดง GSi ไปได้ทุกที่+

เกี่ยวกับนู๋ซ่า มีปัญหาอะไร โทรมาได้เลยครับ
ส่วนตัว GSM : 0 89 0 31 55 99

NCStyle Mobile Kiosk
ซุ้มขายของสำเร็จแนวคลาสสิต





Offline PeeSard

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 9,159
  • DIY ไม่ทำไม่รู้..*v*
มาตรฐานน้ำมันเครื่อง (แบบละเอียด 3)

ACEA

มาตรฐานน้ำมันเครื่อง ACEA ย่อมาจาก The Association des Constructeurs Europeens d'Automobile หรือเป็นทางการว่า
European Automobile Manufarturer' Association สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในตลาดร่วมยุโรบ ซึ่งได้แก่ ALFA ROMEO, BRITISH LEYLAND, BMW, DAF,
DAIMLER-BENZ, FIAT, MAN, PEUGEOT, PORSCHE, RENAULT, VOLKSWAGEN, ROLLS-ROYCE, และ VOLVO
ได้มีการกำหนดมาตรฐาน โดยเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 1996 โดยยกเลิกมาตรฐาน CCMC ไปเนื่องจาก ACEA มีสถาบันเข้าร่วมโครงการมากกว่าและมีข้อกำหนดที่เด่นชัด

-มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน (Gasoline (Petron) Engines)
A 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินทั่วไป
A 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
A 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์เบ็นซินในปัจจุบัน

-มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (Light Duty Diesel Engines)
B 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กทั่วไป
B 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
B 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กในปัจจุบัน

-มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ (Heavy Duty Diesel Engines)
E 1-96 มาตรฐานที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ทั่วไป
E 2-96 มาตรฐานพิเศษสูงขึ้นไปอีก
E 3-96 มาตรฐานสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน


มาตรฐานน้ำมันเครื่อง JASO
ย่อมาจาก Japanese Automobile Standard Organization หรือกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งเเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน ต่อมาเรียกรวมเป็นมาตรฐาน ISO โดยเเบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

-เครื่องยนต์เบนซิน
JSE (ISO-L-EJGE) เทียบพอๆ กับมาตรฐาน API SE หรือ CCMC G1 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้น
JSG (ISO-L-EJDD) เทียบกับมาตรรฐานสูงกว่า API SG หรือ CCMC G4 โดยเน้นป้องกันการสึกหรอบริเวณวาล์วเพิ่มขึ้นไปอีก

-เครื่องยนต์ดีเซล
JASO CC (ISO -L-EJDC) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 50 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CC เป็นอย่างต่ำ
JASO CD (ISO -L-EJDD) โดยกำหนดว่าต้องผ่านการทดสอบโดยเครื่องยนต์นิสสัน SD 22 เป็นเวลา 100 ชั่วโมง เทียบได้กับ API CD เป็นอย่างต่ำ


มาตรฐานน้ำมันเครื่องแห่งกองทัพสหรัฐ

มาตรฐาน MIL-L-2104 เป็นมาตรฐานของน้ำมันหล่อลื่นที่กำหนดขึ้นสำหรับเครื ่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน มีรายละเอียดดังนี้
MIL-L-2104 A ถูกกำหนดขึ้นเมื่อปี 1954 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีกำมะถันต่ำและเครื่องยนต ์เบ็นซินทั่ว ๆ ไปเปรียบได้กับมาตรฐาน API CA/SB ปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว
MIL-L-2104 B กำหนดใช้เมื่อปี 1964 สำหรับน้ำมันหล่อลื่นทีมีสารเพิ่มคุณภาพด้านการป้องก ันการเกิดอ๊อกซิเดชั่นและป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐานAPI CC/SC
MIL-L-2104 C กำหนดใช้เมื่อปี 1970 สำหรับน้ำมันหล่ดลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์ที่มีรอบสู งมาก ๆ และการใช้งานหนัก มีสารป้องกันคราบเขม่า ป้องกันการสึกหรอ และป้องกันสนิม เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
MIL-L-2104 D กำหนดใช้เมื่อปี 1983 เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน 4 จังหวะ ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CD/SC
MIL-L-2104 E กำหนดใช้เมื่อปี 1988 เหมาะกับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน 4 จังหวะ รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้งานหนัก เทียบได้กับมาตรฐาน API CF/SG
มาตรฐาน MIL-L-46152 เริ่มกำหนดใช้เมื่อปี 1970 เป็นมาตรฐานน้ำมันเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซิน
MIL-L-46152 A เริ่มใช้เมื่อปี 1980 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบ็นซินทั่วไป เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CC
MIL-L-46152 B กำหนดใช้เมื่อปี1981เป็นการรวมมาตรฐาน MIL-L-2104 Bเทียบได้กับมาตรฐาน API SF/CC
MIL-L-46152 C กำหนดใช้เมื่อปี 1987 โดยปรับปรุงจากมาตรฐาน MIL-L-46152 B เพราะมีการเปลียนแปลงวิธีการวัดจุดไหลเทใหม่
MIL-L-46152 D เป็นมาตรฐานที่ปรับปรุงมาจาก MIL-L-46152 C เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการทดสอบเครื่องยนต์
และมีคุณสมบัติป้องกันการเกิดอ๊อกซิเดนชั่นดีขึ้นกว่าเดิม เทียบได้กับมาตรฐาน API SE/CD
MIL-L-46152 E มาตรฐานล่าสุด เทียบได้กับมาตรฐาน API SG/CE


สำหรับ มาตรฐานน้ำมันเครื่องที่รู้จัก ก็คือมาตรฐาน "API" และ "SAE" ซึ่งน้ำมันเครื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะแจ้งมาคู่กัน
บางยี่ห้อจะบอกค่าดัชนีความหนืดของ "SAE" อย่างเช่น 5W-30, 15W-40 เป็นต้น
และจะมีค่ามาตรฐานที่บอกสมรรถนะของน้ำมันเครื่องกระป๋องนั้นเป็นมาตรฐาน "API" เช่น SE, SF, SG, CC, CD, CE เป็นต้น

ดังนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องก็ไม่ควรฟุ่มเฟือยโดยใช่เหตุ เลือกใช้ให้เหมาะกับรถก็พอ แต่ควรจะเลือกใช้ค่าความหนืดให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและอาศัยการเปลี่ยนถ่ายที่เหมาะสมแก่เวลา
ส่วนการเลือกใช้น้ำมันสังเคราะห์นั้นมันก็ดีที่ ช่วยยืดอายุเครื่องยนต์ได้อีกทาง แต่มันไม่ค่อยเหมาะสมกับรถที่ใช้งานธรรมดาจะเหมาะกับพวกชอบใช้รอบเครื่องยนต์สูง ๆ ขับซิ่ง ๆ
ยิ่งในเศรษฐกิจแบบนี้ต้องไม่จ่ายแพงกว่า และการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้งก็ควรที่จะเป ลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องควรคู่กันไปด้วย


ที่มา : http://www.boyzathailand.com

+นู๋แดง GSi ไปได้ทุกที่+

เกี่ยวกับนู๋ซ่า มีปัญหาอะไร โทรมาได้เลยครับ
ส่วนตัว GSM : 0 89 0 31 55 99

NCStyle Mobile Kiosk
ซุ้มขายของสำเร็จแนวคลาสสิต





Offline PeeSard

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 9,159
  • DIY ไม่ทำไม่รู้..*v*
มาตรฐานน้ำมันเครื่อง (แบบละเอียด 4)
ข้อมูลจาก ปตท.

มาตรฐานน้ำมันหล่อลื่น

การแยกประเภทน้ำมันหล่อลื่นโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ระบบคือแยกตามความหนืด แยกตามสภาพการใช้งาน
ข้อความดังกล่าวข้างต้นเป็นตัวบ่งบอกถึงระดับคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่น ซึ่งได้จากการแยกประเภทตามสภาพการใช้งาน
โดยผ่านการทดสอบกับเครื่องยนต์แล้วเทียบเป็นมาตรฐานต่างๆ มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ได้แก่
มาตรฐานของสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (American Petroleum Institute) หรือ API
ซึ่งเริ่มในปี 2513 โดย API, SAE (Society of Automotive Engineers) และ ASTM (American Society for Testing and Materials)
ได้ร่วมมือกันกำหนดมาตรฐานน้ำมันหล่อลื่นขึ้นมาเพื่อแบ่งประเภทน้ำมันตามสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ และให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีของเครื่องที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง

API ได้แบ่งระดับคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นเป็น 2 ประเภท ตามชนิดของเครื่องยนต์ คือ
-ประเภทที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน ซึ่งจะใช้สัญลักษณ์ "S" (Service Oils) หรือน้ำมันหล่อลื่นสำหรับสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ตามศูนย์บริการทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์เบนซิน
และประเภทที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลใช้สัญลักษณ์ "C" (Commercial Oils) หรือน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเชิงพาณิชย์ เช่นงานก่อสร้างและงานเกษตรกรรม


มาตรฐานน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน

API SM
มาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 พร้อมกันทั่วโลก
ซึ่งกำหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา โดย API SM เป็นมาตรฐานหล่อลื่นที่ใช้กับรถรุ่นใหม่ ซึ่งเพิ่มคุณสมบัติหล่อลื่นให้สูงขึ้นในด้านต่างๆ ดังนี้
-ประสิทธิภาพในการรักษาความสะอาดชิ้นส่วนเครื่องยนต์สูงสุด
-ป้องกันการสึกหรอของชุดขันเคลื่อนวาล์ว (Valve Train) ดีขึ้น
-ลดการระเหยและการเติมพร่อง
-ยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น
-ช่วยยืดอายุกรองไอเสีย (Catalytic converter)

API SL
ประกาศใช้แล้วในปี 2001

API SJ
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 1977 น้ำมันที่ได้มาตรฐานนี้ทดสอบตามข้อกำหนดของ CMA Product Approval Code of Practice,
API Base Oil Interchange และ Viscosity Grade Engine Testing สามารถป้องกันการเกิดตมในอ่างน้ำมันเครื่อง
ต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจนและ การสึกหรอ ป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อน ลดคราบจับลูกสูบที่เกิดขึ้นขณะอุณหภูมิสูง ลดอัตราการกินน้ำมันเครื่องและการเกิดฟอง

API SH
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์นั่ง รถตู้ และรถบรรทุกขนาดเล็ก ปี 1994 น้ำมันที่ได้มาตรฐานนี้มีคุณสมบัติสูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำของ API SH
โดยทดสอบตามข้อกำหนดของ Chemical Manufacturers Association (CMA) Product Approval Code of Practice ,
API Base Oil Interchange และ Viscosity Grade Engine Testing สามารถป้องกันการเกิดตมในอ่างน้ำมันเครื่อง
ต้านการรวมตัวกับออกซิเจนและการสึกหรอ ป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อน

API SG
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์นั่ง รถตู้ และรถบรรทุกขนาดเล็ก ปี 1989 น้ำมันที่ได้มาตรฐานนี้ มีคุณสมบัติเพิ่มเติมจากมาตรฐาน SF ในด้านป้องกันการเกิดตม (Sludge) ในอ่างน้ำมันเครื่อง
ต้านทานการรวมตัวกับออกซิเจนและป้องกันการสึกหรอ นอกจากนี้ยังป้องกันสนิมและการกัดกร่อนได้ดีอีกด้วย สามารถใช้กับเครื่องยนต์ที่แนะนำให้ใช้มาตรฐาน SF, SE, SF/CC หรือ SE/CC ด้วย

API SF
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์นั่งและรถบรรทุกบางชนิด ตั้งแต่ปี 1980-1988 หรือรุ่นที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์แนะนำให้ใช้ มีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่าเกรด SE
นอกจากนี้ยังรักษาความสะอาด ป้องกันสนิมและการกัดกร่อนได้ดี

API SE
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์นั่ง และรถบรรทุกรุ่นเล็ก ตั้งแต่ปี 1971 (บางรุ่น) และปี 1972-1979 มีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่าเกรด SD และ SC
เพื่อป้องกันการรวมตัวกับออกซิเจนต้านทานการรวมตัวของเขม่าและตะกอนที่ อุณหภูมิสูง ป้องกันสนิมและการกัดกร่อน สามารถใช้แทนมาตรฐานเกรด SD และ SC ได้

API SD
สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน รถยนต์นั่งและรถบรรทุกเล็ก ปี 1968-1970 และรถปี 1971 บางรุ่น มีสารเพิ่มคุณภาพมากกว่าเกรด SC
เพื่อต้านทานการรวมตัวของเขม่าและตะกอนที่อุณหภูมิสูงและต่ำ ป้องกันการสึกหรอ สนิมและการกัดกร่อนสามารถใช้กับเครื่องยนต์ที่แนะนำให้ใช้น้ำมันหล่อลื่น เกรด SC ได้

API SC
สำหรับเครื่องยนต์เบนซินรุ่นปี 1964-1967 ของรถยนต์ และรถบรรทุก (บางรุ่น) มีสารต้านการรวมตัวของเขม่าตะกอนที่อุณหภูมิสูงและต่ำ ป้องกันการสึกหรอ สนิมและการกัดกร่อนในเครื่องยนต์เบนซิน

API SB
สำหรับเครื่องยนต์สภาพงานเบา ประกาศใช้ปี 1930 มีสารเพิ่มคุณภาพประเภทป้องกันการสึกหรอ การรวมตัวกับออกซิเจน และกัดกร่อนแบริ่งผสมเล็กน้อย
น้ำมันนี้ไม่ควรใช้กับเครื่องยนต์ในปัจจุบัน ยกเว้นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์นั้นๆ แนะนำให้ใช้

API SA
สำหรับเครื่องยนต์รุ่นเก่าและสภาพงานเบา น้ำมันหล่อลื่นชนิดนี้ไม่มีสารเพิ่มคุณภาพใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ควรใช้กับเครื่องยนต์ในปัจจุบัน ยกเว้นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์นั้นๆ แนะนำให้ใช้

มาตรฐาน API ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ API SJ, API SH และ API SM
ส่วนมาตรฐานที่ต่ำกว่านี้เป็นมาตรฐานที่ API ยกเลิกแล้วทั้งสิ้น แต่ยังมีขายและใช้อยู่เนื่องจากใช้กับรถเก่าหรือรถที่มีคู่มือระบุให้ใช้ เช่น API SG และ SF เป็นต้น

ส่วนน้ำมันชั้นคุณภาพ API SA และ SB ไม่ควรใช้กับรถปัจจุบัน และกระทรวงพาณิชย์ไม่อนุญาตให้จำหน่ายในท้องตลาด



มาตรฐานน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล
มาตรฐานของน้ำมันหล่อลื่นดีเซล ซึ่งใช้สัญญลักษณ์ "C" (Commercial Oils) หรือน้ำมันหล่อลื่นสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเชิงพาณิชย์ เช่น
งานขนส่ง งานอุตสาหกรรม งานก่อสร้างและงานเกษตรกรรม เป็นต้น ในปัจจุบันมี 12 ระดับคุณภาพ

การแบ่งระดับคุณภาพของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล

API CI-4
มาตรฐานคุณภาพระดับสูงสุดของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ โดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2002 โดย API CI-4 เป็นมาตรฐานหล่อลื่นที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลงานหนัก ซึ่งเพิ่มคุณสมบัติหล่อลื่นให้สูงขึ้นในด้านต่างๆ ดังนี้
-มีสารต่อต้านกรดที่เพียงพอ จึงป้องกันการสึกหรอที่เกิดจากการกัดกร่อน
-มีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิการใช้งานทั้งสูงมากและต่ำมาก
-ประสิทธิภาพในการกระจายเขม่า
-ต่อต้านการสึกหรอที่เกิดจากการขัดสีบริเวณชุดขับเคลื่อนวาล์ว (Valve train)
-รักษาความสะอาดบริเวณลูกสูบและร่องแหวนได้ดี
-คงความหนืดได้คงที่ตลอดอายุการใช้งาน

API CH-4
เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคม 1998 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน สภาพงานหนักสามารถใช้ได้ดีกับน้ำมันดีเซล ทั้งชนิดที่มีกำมะถันต่ำและสูง (ไม่เกิน 0.5% โดยน้ำหนัก)
น้ำมันที่ได้มาตรฐานนี้เพิ่มประสิทธิภาพจาก API CG-4 ในด้านการควบคุมและกระจายตัวของเขม่า ลดคราบสกปรกที่ลูกสูบซึ่งเกิดขึ้นขณะใช้งานที่อุณหภูมิสูง ป้องกันการสึกหรอ
และลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่อง เหมาะกับเครื่องยนต์ที่ผ่านมาตรฐานมลพิษไอเสียปี 1998 และสามารถใช้แทนน้ำมันมาตรฐาน CD, CE, CF-4 และ CG-4

API CG-4
เริ่มใช้ในปี 1994 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลสภาพงานหนัก ใช้งานภายใต้สภาวะความเร็วรอบสูงที่ใช้งานทั้งบนทางหลวง (ใช้น้ำมันดีเซลปริมาณกำมะถัน 0.05% โดยน้ำหนัก)
และนอกทางหลวง (ใช้น้ำมันดีเซลปริมาณกำมะถันน้อยกว่า 0.5%โดยน้ำหนัก) น้ำมันระดับคุณภาพนี้จะลดคราบสกปรกที่ลูกสูบที่เกิดขึ้นขณะใช้งานที่ อุณหภูมิสูง
ป้องกันการสึกหรอและการกัดกร่อน ต้านทานการเกิดฟองและการรวมตัวกับออกซิเจน และป้องกันการสะสมของเขม่า เหมาะกับเครื่องยนต์ที่ผ่านมาตรฐานมลพิษไอเสียปี 1994
และเครื่องยนต์ที่ได้รับแนะนำให้ใช้น้ำมันมาตรฐาน CD, CE, และ CF-4

API CF-2
เริ่มใช้ในปี 1994 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ ที่ใช้งานทั่วไป สามารถป้องกันการเกิดรอยขีดข่วนในกระบอกสูบและหน้าแหวนลูกสูบ และการเกิดคราบสกปรก
สามารถใช้กับเครื่องที่แนะนำให้ใช้น้ำมันมาตรฐาน

API CF
เริ่มใช้ในปี 1994 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีห้องเผาไหม้ (Indirect-injected Diesel Engines) เครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา และเครื่องยนต์ซูเปอร์ชาร์จ หรือเทอร์โบชาร์จ
สามารถใช้ได้ดีกับน้ำมันดีเซลที่มีกำมะถันต่ำสูง เช่นสูงกว่า 0.5% โดยน้ำหนักน้ำมันที่ได้มาตรฐานนี้ได้ดี จะควบคุมการเกิดคราบสกปรกที่ลูกสูบ ป้องกันการสึกหรอและการกัดกร่อนของแบริ่ง
โดยเฉพาะแบริ่งที่มีทองแดงผสมอยู่ และสามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ที่แนะนำให้ใช้ได้กับเครื่องยนต์ที่แนะนำให้ ใช้น้ำมันมาตรฐานน้ำมัน

API CF-4
เริ่มใช้ในปี 1990 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีความเร็วรอบสูง น้ำมันที่ได้มาตรฐานนี้มีคุณสมบัติสูงกว่า API CE ช่วยลดอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องและลดคราบสกปรกที่ลูกสูบ
สามารถใช้แทน API CE เหมาะอย่างยิ่งกับรถบรรทุกงานหนักที่ใช้บนทางหลวง น้ำมันที่ผ่านระดับคุณภาพนี้เมื่อใช้ร่วมกับระดับคุณภาพ "S"
(น้ำมันเครื่องเบนซิน) จะสามารถใช้ได้ทั้งเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล เช่นรถยนต์นั่ง รถบรรทุกขนาดเล็ก และรถตู้ เป็นต้น ภายใต้คำแนะนำการใช้งานของผู้ผลิตรถหรือ เครื่องยนต์นั้นๆ

API CE
สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลสภาพงานหนักมีซูเปอร์ชาร์จ หรือเทอร์โบชารจ ผลิตในปี 1983 และทำงานภายใต้สภาวะความเร็วรอบต่ำ-ภาระสูง และความเร็วสูง-ภาระสูง สามารถใช้แทนน้ำมันระดับคุณภาพ API CD

API CD-II
เริ่มใช้ในปี 1987 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล 2 จังหวะ ที่ต้องการสมบัติในการป้องกันการสึกหรอ ป้องกันการเกิดคราบสกปรก และยังมีคุณสมบัติที่ครบถ้วนตาม API CD

API CD
เริ่มใช้ในปี 1985 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดามีเทอร์โบชาร์จหรือซูเปอร์ชาร์จ ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพแตกต่างกัน รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันสูง
น้ำมันระดับนี้มีสมบัติในการป้องกันการสึกหรอ ป้องกันการเกิดสกปรกที่อุณหภูมิสูง และป้องกันการกัดกร่อนที่แบริ่งได้ดี

API CC
เริ่มใช้ในปี 1961 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา เทอร์โบชาร์จ หรือซูเปอร์ชาร์จ ทำงานปานกลางและงานหนักมาก รวมทั้งเครื่องยนต์เบนซินสภาพงานหนักบางชนิด
น้ำมันระดับคุณภาพนี้ มีสมบัติป้องกันการเกิดคราบสกปรกที่อุณหภูมิสูงและการ กัดกร่อนของแบริ่งในเครื่องยนต์ดีเซล ป้องกันการเกิดสนิมและการกัดกร่อน
รวมทั้งการเกิดคราบสกปรกที่อุณหภูมิต่ำในเครื่องยนต์เบนซิน

API CB
ใช้ในปี 1949-1960 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา สภาพงานเบาและปานกลาง ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำกว่า (ปริมาณกำมะถันสูง)
จึงต้องการการป้องกันการสึกหรอและคราบสกปรกสูงกว่าที่ใช้ในเกรด CA รวมทั้งเครื่องยนต์เบนซินใช้งานเบา
น้ำมันในระดับนี้ สามารถป้องกันการกัดกร่อนที่แบริ่งและป้องกันการเกิดคราบ สกปรกที่อุณหภูมิสูง

API CA
ใช้ในปี 1940-1950 สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลธรรมดา สภาพงานเบาและงานปานกลาง ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพสูง รวมทั้งเครื่องยนต์เบนซินใช้งานเบา น้ำมันนี้มี คุณสมบัติป้องกันการกัดกร่อน
และเกิดคราบสกปรก (Deposit) โดยเฉพาะการกัดกร่อนที่แบริ่ง และคราบสกปรกบริเวณแถบแหวนลูกสูบในเครื่องยนต์ดีเซลบางชนิดที่ใช้งานสภาวะ ปกติ น้ำมันในระดับนี้ไม่ควรใช้กับเครื่องยนต์ในปัจจุบัน
ยกเว้นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์นั้นๆ แนะนำให้ใช้

มาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่ API CF, CF-4, CF-2, CG-4, CH-4 และ CI-4 ส่วนมาตรฐานอื่นๆ เป็นมาตรฐานที่ API ยกเลิกแล้ว แต่ก็ยังคงมีการใช้กันอยู่ เช่น API CC และ CD เป็นต้น

นอกจากมาตรฐาน API แล้วยังมีมาตรฐานอื่นๆ ที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่มาตรฐานของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ในทวีปยุโรป ACEA,
มาตรฐานของญี่ปุ่น JASO และมาตรฐาน VOLVO, MERCEDES BENZ และ VOLKSWAGEN เป็นต้น

การที่จะเทียบว่าน้ำมันหล่อลื่นชนิดใดได้มาตรฐานนั้นจะต้องนำน้ำมันมาทดสอบ กับเครื่องยนต์ทดสอบต่างๆ หรือวิธีการทดสอบตามที่ API หรือผู้ออกมาตรฐานนั้นๆ กำหนดไว้ในแต่ละระดับ
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ได้ให้บริการทดสอบมาตรฐานน้ำมันทั้งเชื้อเพลิงและหล่อลื่นให้เป็นไปตามข้อ กำหนดหรือเพื่อการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สำหรับหน่วยงานภายนอกด้วย


ดังนั้นในการเลือกซื้อน้ำมันเครื่องนอกจากการพิจารณาโดยใช้มาตรฐาน API แล้วยังสามารถใช้มาตรฐานอื่นๆ ดังที่กล่าวมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาด้วย
และที่สำคัญคือ ต้องเลือกระดับคุณภาพและเกรดความหนืดของน้ำมันหล่อลื่นให้ถูกต้องและเหมาะสม กับการใช้งาน โดยพิจารณาจากคำแนะนำของผู้ผลิตรถยนต์หรือเครื่องยนต์เป็นเกณฑ์

+นู๋แดง GSi ไปได้ทุกที่+

เกี่ยวกับนู๋ซ่า มีปัญหาอะไร โทรมาได้เลยครับ
ส่วนตัว GSM : 0 89 0 31 55 99

NCStyle Mobile Kiosk
ซุ้มขายของสำเร็จแนวคลาสสิต





Offline PeeSard

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 9,159
  • DIY ไม่ทำไม่รู้..*v*
จองไว้ก่อน..ยังมีต่ออีก !!

+นู๋แดง GSi ไปได้ทุกที่+

เกี่ยวกับนู๋ซ่า มีปัญหาอะไร โทรมาได้เลยครับ
ส่วนตัว GSM : 0 89 0 31 55 99

NCStyle Mobile Kiosk
ซุ้มขายของสำเร็จแนวคลาสสิต





Offline หนานมา

  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 3,127
  • luangsu_m@hotmail.com
  • No.: 34
  • รุ่นรถ: แอสตร้าแวน
  • สีรถ : สีเทา
  • เครื่องยนต์: พันหกอีโคฯ
สุดยอดครับพี่....ละเอียดมาก...รอติดตามครับ..

    “คำฮักน้องกูปี้จักเอาไว้ในน้ำก็กลั๋วหนาว  จักเอาไว้พื้นอากาศ กล๋างหาว ก็กลั๋วหมอกเหมยซอนดาวลงมาขะลุ้ม  จักเอาไปใส่ในวังข่วงคุ้ม ก็กลั๋วเจ้าป๊ะใส่แล้วลู่เอาไป  ก็เลยเอาไว้ในอกในใจ๋ตัวจายปี้นี้  จักหื้อมันไห้อะฮิอะฮี้ ยามปี้นอนสะดุ้งตื่นเววา”
- สมเจตน์ วิมลเกษม


Offline jeabjamiro

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 8,623
  • ผมมันเสือ ไม่ใช่เซียน เหอะๆ
  • No.: in 05
  • รุ่นรถ: ASTRA VAN
  • สีรถ : ขาวโบ๊ะ
  • เครื่องยนต์: x20xev AT------เครื่องตัดหญ้า
 ??? มันมากครับ มึนด้วย เหอะๆๆ

หน้าไม่ให้แต่ใจพระครับ
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม และวาระ เฮ้อ.....แต่กว่าจะถึงวันนั้นคนดีต้องเจ็บกันอีกเยะ เหอะๆ
jeabjaMIro : OPEL ASTRA VAN 8V 1.6 GL 1993
                   : FIAT 850 SPORT COUPE'


Offline chairai

  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 1,872
  • กิ๊ฟ ลำพูน
  • รุ่นรถ: opel corsa c14nz 1.4 AT
  • สีรถ : ฟ้าจร้า
  • เครื่องยนต์: เครื่อง c14nz เกียร์ออโต้
ช่างเข้บอกว่า โอ เออ โอก็โอว๊ะ  8)  8)  8)  8)  8) หรือไม่ก็ .....เอ็งเชื่อพี่ดิไอ้ .....

มีปัญหาเรื่องรถ คอซ่า c14nz ปรึกษาได้ครับ 08-5131-5081 ตอบได้เท่าที่มีประสบการณ์ครับ


 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง