หลายๆคนอาจสงสัยว่า เจ้า Battery มันต้องรักษา ดูแล หรือ เช็คสภาพยังไง วันนี้ admin มีคำตอบแล้วครับ
วิธีการดูแล Battery อย่างง่ายๆ มีดังนี้
1. ตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่เสมอ อย่าให้มีรอยแตกร้าว เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เก็บประจุไฟฟ้า
2. ดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดเสมอ ถ้ามีคราบเกลือเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาด
3. ตรวจสภาพของระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกๆ 1 สัปดาห์
4. ตรวจเช็กระบบไฟชาร์จของอัลเตอร์เนเตอร์ ว่าระบบไฟชาร์จต่ำหรือสูงไป ถ้าต่ำไป จะมีผลทำให้กำลังไฟไม่พอใช้ในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือถ้าสูงไปจะทำให้ น้ำกรดและน้ำกลั่นอยู่ภายในระเหยเร็วหรือเดือดเร็วได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน
5. ช่วงที่มีอากาศหนาวหรืออุณหภูมิต่ำ ประสิทธิภาพการแพร่กระจาย ของน้ำกรด และน้ำกลั่นจะด้อยลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟมากๆ ขณะอากาศเย็น
6. ควรศึกษาถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่และไดชาร์จ เพื่อที่จะให้วงจรการไหลของไฟฟ้าเป็นไปด้วยดี
7. ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมต่ำหรือสูงเกินไป (เติมสูงไป เป็นสาเหตุหลักทำให้ขี้เกลือขึ้นเร็ว แบตสกปรกเร็ว)
เมื่อเราใช้แบตเตอรี่ไปได้สัก 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปี แบตเตอรี่จะเริ่มเสื่อมสภาพ
หากสังเกตดีๆ เมื่อแบตเตอรี่ใกล้เสื่อมสภาพจะมีสัญญาณเตือนดังนี้
1. เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก
2. ไฟหน้าไม่ค่อยสว่าง
3. ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง
4. ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปรกติ
เมื่อมีสัญญาณเตือนดังนี้ ก็เข้าร้านที่ไว้ใจได้ เปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เลย
บาง ครั้ง หากมีการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์เพิ่ม แบตเตอรี่ก็ควรถูกปรับเปลี่ยนความจุให้มีมากขึ้นด้วย ซึ่งหากมีการติดตั้งแบตเตอรี่ใหม่ในยานพาหนะ ควรปฏิบัติดังนี้
1. สังเกตว่าแบตเตอรี่ใหม่ ซึ่งจะใช้ติดรถ อยู่ในสภาพไฟเต็ม
2. ควรบันทึกวันที่เริ่มใช้แบตเตอรี่ใหม่ ไว้เพื่อการตรวจสอบสภาพ เป็นช่วงๆ (ผมใช้ปากกาเมจิกเขียนที่ตัวแบตเลย)
3. ยึดแบตเตอรี่และแท่นวางแบตเตอรี่ให้แน่น ไม่เคลื่อนไหว
4. ถ้าแบตเตอรี่มีท่อยาวระบายอากาศ อย่าให้ท่อระบายอากาศถูกกดทับเพราะอาจทำให้แบตเตอรี่ระเบิดได้
5. ใส่ขั้วไฟก่อน (อาจเป็นขั้วบวกหรือขั้วลบก็แล้วแต่ชนิดของรถ) ก่อนใส่ควรขยายขั้วสวมให้โตกว่าขั้วแบตเตอรี่เล็กน้อย ห้ามตอกขั้วต่ออัดลงไปเพราะจะทำให้ขั้วแบตเตอรี่ทรุดตัว แบตเตอรี่อาจเสียหายได้ (ถ้าลำบากนักก็ให้ร้านเขาใส่ ถ้าร้านทุบหัวขั้วแบตทรุด ก็ทุบหัวเจ้าของร้านเลย)
6. เมื่อต่อขั้วเรียบร้อย ทาขั้วด้วยจารบี หรือวาสลิน
7. ต่อขั้วดินเป็นอันดับสุดท้าย
จากนั้นก่อนสตาร์ทเครื่อง ก็ควรตรวจดูความถูกต้องในการต่อขั้วอีกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของรถยนต์และตัวคุณเอง
Cr. kautosmilesclub
ติดตามบทความดีๆ และ click like เพื่อสนับสนุนเราได้ทาง
www.facebook.com/ruxalaiyontสนับสนุนบทความดีๆ โดย
รักษ์อะไหล่ยนต์ (Ruxalaiyont Limited Partnership)