เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นประจำ สาหตุหนึ่งคือตำรวจที่เป็นผู้ถือกฏหมาย
ใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือหากิน
ในขณะที่ผู้ใช้รถใช้ถนนก็ไม่เข้าใจกฏหมายดีพอ
ทำให้เกิดช่องในการหาผลประโยชน์ นายวันชัย บุนนาค
ผู้ใช้รถใช้ถนนคนหนึ่ง แสดงความเห็นและความข้องใจใน
การจับกุมรถที่ """" วิ่งเลนขวา """""
" ข้อหาฮิตบนทางหลวง "
เขาเดินทางในหลายพื้นที่ พบว่าถนนหนทางใน
ประเทศไทยพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ รถยนต์ก็พัฒนาขึ้น
กฏหมายก็พัฒนาตาม
" แต่ตำรวจซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฏหมายพัฒนาไปด้วยหรือเปล่า "
เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ประจำอยู่ตามถนนสายใหญ่ ๆ โดยเฉพาะ
เส้นทางไปแหล่งท่องเที่ยว เช่น ชลบุรี หรือพัทยา มักจะเรียกจับ
รถด้วยข้อหาแทรงซ้ายแล้วไม่เข้าไม่เข้าช่องซ้าย
.......รถบรรทุก รถกระบะ รถปิกอัพ รวมทั้งรถเก๋ง......
ขอใบขับขี่แล้วเอาไปถือไว้
" ทำท่าจะเขียนใบสั่ง "
ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่เดากิริยาท่าทางออก
....ส่งเงินให้ เพื่อแลกกับการที่ไม่ต้องเสียค่าปรับที่แพงกว่า
และเสียเวลาไปเสียค่าปรับที่โรงพัก ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก
พ.ศ. 2522 ในมาตรา 34 และ 35 ระบุถึงเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน.......
จับใจความได้ว่า ถนนที่มีช่องทางเดินรถไปในทางเดียวกัน
ตั้งแต่สองช่องทาง ที่รถต้องไม่แล่นสวนทางกัน รถที่ได้รับการยกเว้น
ไม่ต้องแล่นในช่องซ้ายตลอดเวลาคือ รถบรรทุกที่มีน้ำหนักไม่เกิน
1,600 กก. หรือรถปิกอัพ และรถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถเก๋ง
ส่วนที่แซงในช่องขวาแล้วต้องกลับเข้าช่องซ้ายคือ
รถบรรทุก รถโดยสาร รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่แล่นช้ากว่าคันอื่น
ทางหลวงสายใหญ่ในเมืองไทยที่ขาไปและขากลับแยกคนละฝั่งต้อง
ถือว่าเป็นถนนที่เดินรถไปในทางเดียวกัน ตามเจตนารมณ์ของกฏหมาย
ที่ไม่ต้องการให้รถที่ขับสวนทางกันเฉี่ยวชน ถ้าเป็นเช่นนี้การขับรถเก๋ง
หรือขับรถปิกอัพในช่องขวา ย่อมทำได้ ไม่ผิดกฏหมาย การตีความตาม
กฏหมายเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน ตำรวจจราจรหรือตำรวจทางหลวง ควรทำความ
เข้าใจกฏหมายเรื่องนี้ให้เป็นไปมนแนวทางเดียวกัน พร้อมทำความเข้าใจ
กับประชาชนด้วย ผู้ใช้รถใช้ถนนจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง
.........จะจับหรือจะไถก็ขอให้มีกฏหมายรองรับ.........