สถาบัน วิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยจะเกิดสุริยุปราคาแบบบางส่วนปีนี้ เห็นได้ทุกภาค แม่ฮ่องสอนนานสุด 3 ชั่วโมง 6 นาที จับมือ มช. - สวนราชพฤกษ์ จัดมหกรรมดู สุริยคราส ชี้ถ้าพลาดต้องรอปี 2555
ร.ศ.บุญ รักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์กรมหาชน) เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติฯ หรือ สดร. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสวนเฉลิมพระเกียรติราชพฤกษ์ กำหนดจัดมหกรรมสังเกต ปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งแรก และครั้งเดียวของปี 2553 ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 มกราคม เวลา 13.30 - 17.30 น. โดยจัดขึ้น 2 แห่ง บริเวณสนามรักบี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทางเข้าสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์
"การ เกิดสุปริยุปราคาในวันที่ 15 มกราคม จะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของปีนี้ ซึ่งถือเป็นการต้อนรับศักราชใหม่ หากประชาชนพลาดการชมปรากฏการณ์ในครั้งนี้จะต้องรอไปอีก 2 ปีจึงจะเกิดขึ้นอีกครั้ง และยังถือเป็นโชคดีของภาคเหนือและจังหวัดเชียงใหม่ ที่จะสามารถสังเกตการบดบังได้ชัดเจนมากที่สุดอีกด้วย" ร.ศ.บุญรักษา กล่าว
สำหรับการเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้ จะเป็นสุริยุปราคาแบบวงแหวน หรือแบบบางส่วน โดยเป็นผลมาจากการที่โลกเข้ามาอยู่ในตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด (perihelion) ในวันที่ 3 มกราคม ทำให้มองเห็นขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ใหญ่มากกว่าปกติ ในขณะเดียวกันดวงจันทร์ก็เคลื่อนไปอยู่ที่ตำแหน่งห่างจากโลกมากที่สุด (apogee) ในวันที่ 17 มกราคม ทำให้มองเห็นขนาดปรากฏของดวงจันทร์เล็กกว่าปกติ แล้วเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกมาอยู่แนวเดียวกันในวันที่ 15 มกราคม 2553 ดวงจันทร์จึงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์และบังดวงอาทิตย์ไม่มิดทั้งดวง แต่จะมองเห็นดวงอาทิตย์สว่างเป็นวงแหวนโดยมีดวงจันทร์มืดอยู่ตรงกลาง
ทั้ง นี้ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน จะเริ่มต้นที่ทวีปแอฟริกา ผ่านประเทศชาด ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา เคนยา และโซมาเลีย แล้วออกจากทวีปแอฟริกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย และที่ตำแหน่งละติจูด 1 องศา 37 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 69 องศา 17 ลิปดาตะวันออก ในมหาสมุทรอินเดียจะเป็นตำแหน่งที่เกิด สุริยุปราคา นานที่สุด คือ 11 นาที 8 วินาที
หลัง จากนั้นจะผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชีย ผ่านบังกลาเทศ อินเดีย พม่าและเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เป็นบริเวณกว้างตาม บริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน เช่น ยุโรปตะวันออก ทวีปแอฟริกา เอเชีย และประเทศอินโดนิเซีย
สำหรับ ประเทศไทย สามารถสังเกต สุริยุปราคา ได้ทั่วทุกภูมิภาค แต่จะเกิดขึ้นในเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ จะเกิดนานที่สุดในภาคเหนือเป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 6 นาที ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดวงอาทิตย์จะถูกดวงจันทร์บดบังมากที่สุดถึงร้อยละ 77 โดยทาง สดร. จะจัดเตรียมอุปกรณ์ใช้ดูดวงอาทิตย์ ทั้งกล้องโทรทัศน์ติดแผ่นกรองแสงโซลาร์สโคป (Solarscope) กล้องรูเข็ม แผ่นฟิล์มเอ็กซ์เรย์ แผ่นดีวีดี ฯลฯ และยังจะมีการเตรียมแว่นดูดวงอาทิตย์ผลิตจากแผ่นฟิล์มที่ปลอดภัยใช้สำหรับ ดูดวงอาทิตย์โดยเฉพาะ นอกจากนี้ จะถ่ายทอดผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่
http://www.narit.or.th/ อีกด้วย
การชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาอย่างปลอดภัย
การ มองดูดวงอาทิตย์โดยตรงด้วยตาเปล่า หรือมองผ่าน viewfinder ของกล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางไกล หรือกล้องดูดาว ต่างทำให้ตาบอดได้ทั้งสิ้น แม้จะเป็นเพียงเสี้ยวบาง ๆ ของดวงอาทิตย์ หรือปรากฏการณ์ลูกปัดของเบลีย์ (Baily’s beads) ในช่วงที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงก็ตาม โดย ร้อยละ 1 ของผิวดวงอาทิตย์ก็ยังมีความสว่างถึง 1 หมื่นเท่าของความสว่างของดวงจันทร์วันเพ็ญ ดังนั้น การสังเกตการณ์สุริยุปราคาเป็นสิ่งที่ต้องกระทำด้วยความระมัดระวังเป็นอย่าง มาก
ทั้ง นี้ เพราะแสงจากดวงอาทิตย์ที่จ้าเกินไป อาจทำลายระบบการมองเห็นของเราจนกระทั่งตาบอดได้ เราจะสามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้เฉพาะขณะที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง แล้วเท่านั้น ส่วนในช่วงระหว่างที่กำลังจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง หรือสุริยุปราคาแบบวงแหวน หรือสุริยุปราคาบางส่วน เราจะต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยในการสังเกตดวงอาทิตย์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้อาจเป็นอุปกรณ์ที่เราทำได้เองอย่างง่าย ๆ เช่น การสังเกตสุริยุปราคาผ่านกล้องรูเข็ม หรือกล้องโทรทรรศน์
ส่วน อุปกรณ์ที่ใช้สังเกตการณ์โดยตรงจะต้องสร้างหรือใช้ด้วยความระมัดระวัง เช่น แผ่นซีดี ดีวีดี กระจกหรือแก้วรมควัน ต้องรมควันให้สม่ำเสมอจนเป็นสีดำสนิท ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นจนมืดสนิท หรือฟิล์มถ่ายรูปที่เสียแล้วและมืดสนิทนำมาซ้อนกันหลายชั้น หรืออุปกรณ์มาตรฐานที่มีจำหน่าย เช่น แผ่นกรองแสงอาทิตย์แบบต่าง ๆ โดยแผ่นกรองแสงแต่ละประเภทจะให้ภาพของดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์แบบใด ก็พึงระลึกไว้เสมอว่าการสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ต้องทำด้วยความระมัดระวัง และห้ามดูดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าเป็นอันขาด
credit : kapook