การทำงานของแอร์รถยนต์ อุปกรณ์แต่ละชิ้นทำงานอย่างไร

Joofy · 29317

Offline Joofy

  • เจ้าพ่อห้องเย็น
  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 1,127
การทำงานของแอร์รถยนต์ อุปกรณ์แต่ละชิ้นทำงานอย่างไร


แอร์รถยนต์ หรือระบบปรับอากาศภายในห้องโดยสารของรถยนต์ คืออุปกรณ์ที่ใช้สูบความร้อนภายในห้องโดยสารรถ แล้วนำความร้อนมาคายทิ้งภายนอก เป็นกรรมวิธีสูบและคายความร้อนที่จำเป็นต้องอาศัยชิ้นส่วนหลายชิ้น

เริ่มจากเมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงานก็จะดูดน้ำยาแอร์ที่มีสภาพเป็นก๊าซเข้ามาอัดความดันและอุณหภูมิให้สูงขึ้น จากนั้นส่งไปตามท่อทางออกของคอมเพรสเซอร์เข้าสู่คอยล์ร้อนซึ่งจะทำหน้าที่ระบายความร้อนของก๊าซเหล่านี้ออกไปตามครีบระบายความร้อน จนกระทั่งก๊าซกลายเป็นของเหลวที่มีความดันสูงไหลออกจากคอยล์ร้อนผ่านท่อทางออกไปเข้าสู่ถังพักน้ำยาแอร์ เพื่อกรองสิ่งแปลกปลอม และดูดความชื้นไปด้วย

ชั่วขณะที่ว่านี้น้ำยาแอร์มีสภาพเป็นของเหลวและความดันสูง ไหลออกจากถังพักน้ำยาแอร์ไปตามท่อเข้าสู่วาล์วปรับความดันที่จะลดความดันของน้ำยาแอร์ให้อุณหภูมิลดต่ำลงอย่างมาก เพื่อป้อนเข้าสู่คอยล์เย็น เมื่อของเหลวความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำไหลเข้าสู่คอยล์เย็นก็จะดูดซับความร้อนที่บริเวณรอบๆ ตัว พัดลมจะทำหน้าที่ดูดอากาศในห้องโดยสารผ่านแผงคอยล์เย็น ผ่านทางท่อลมจนออกไปจากช่องปรับอากาศด้านหน้าคอนโซล อากาศร้อนในห้องโดยสารจะถูกดูดซับออกไปด้วยวิธีนี้

น้ำยาแอร์จะดูดซับความร้อนวนเวียนอยู่ตามท่อทางเดินที่ขดไปมาบนแผงคอยล์เย็นจนแปรสภาพเป็นก๊าซไหลออกจากคอยล์เย็นไปตามท่อ เข้าสู่คอมเพรสเซอร์อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นกระบวนการอัดความดันของน้ำยาแอร์รอบใหม่วนเวียนไปจนกว่าคอมเพรสเซอร์หยุดการทำงาน

สรุปว่าอุปกรณ์สำคัญๆ ของแอร์รถยนต์ประกอบด้วย 1.คอมเพรสเซอร์ 2.คอยล์ร้อน 3.ถังพักน้ำยา ตัวกรองและดูดความชื้น 4.วาวล์แอร์ 5.คอยล์เย็น และ 6.น้ำยาแอร์

การตรวจซ่อมและบำรุงรักษา

1.ทำความสะอาดภายนอกทุกส่วน เช่น ที่คอยล์ร้อนและคอยล์เย็น โดยเฉพาะบริเวณครีบระบายความร้อนและความเย็นควรสะอาด เพราะถ้าคอยล์ร้อนสกปรกจะทำไห้การระบายความร้อนไม่ดี และหากคอยล์เย็นสกปรกการระบายความเย็นมาสู่เราจะไม่สมบูรณ์

2.เช็กปริมาณน้ำยาแอร์โดยดูที่ช่องกระจกที่ตัวเก็บและดูดความชื้น (ไดเออร์) ถ้าพบว่าเป็นฟองอากาศแสดงว่าน้ำยาน้อยเกินไป ไห้ไปอัดน้ำยาเพิ่ม

3.ตรวจดูว่ามีรอยรั่วของข้อต่อต่างๆ หรือไม่โดยใช้น้ำสบู่หรือฟองสบู่เช็ดตามข้อต่อ หากเกิดการรั่วซึมจะพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้นให้ไปหาช่างแอร์เชื่อมอุดรอยรั่ว

4. ตรวจฝาครอบท่ออัดน้ำยาทั้งสองด้าน ถ้าปิดไม่สนิทจะทำไห้มีฝุ่นเกาะติด อัดน้ำยาครั้งต่อไปจะทำไห้น้ำยาแอร์สกปรกแล้วทำไห้ระบบอุดตันได้ กรณีแอร์ไม่เย็นอาจน้ำยาแอร์รั่ว หรือบริเวณท่ออุดตัน วิธีตรวจดูว่ารั่วจุดใดให้สังเกตว่าจุดต่อตัวไหนที่มีคราบน้ำมันเยิ้มเกาะอยู่แสดงว่าเกิดการรั่วซึม ให้นำน้ำสบู่มาเช็ดดูอีกครั้งว่ารั่วจริงหรือไม่ หากรั่วให้ขันข้อต่อเข้าไปให้แน่นหากยังไม่หายให้เปลี่ยนสายที่ข้อต่อนั้น

สาเหตุหลักฯ ที่แอร์ไม่เย็น คอมมีเสียงดัง และล็อค เนื่องจาก
1.ความร้อน..........ระบบระบายความ ร้อน คือศีตรูหมายเลข 1 ของระบบแอร์/เคื่องยนต์ และ ระบบเกียร์ออโต้.. ....พัดลมแผง หรือ หม้อน้ำเสีย แผ ง เล็กเกินไประบายไม่พอ/สกปรก/ตีบ/งอ....ช่องลมฮีทเตอร์รั่วเข้ามาในระบบ...ลมภายนอกรั่วเข้ามาจากขอบประต ู หรือ หน้าต่างรถ....หรือแผ่นกันลมระหว่างแผงกับหม้อน้ำ
2.น้ำยา....ไม่ใด้คุณภาพ ....มากเกิน.. ..ขาด หรือ น้ำยาผสมระหว่าง R12 กับ 134A
3.คอมเพรสเซอร์แรงอัดไม่พอ .....เพราะเสื้อสูบหรือลูก สูบสึกหรอตามอายุการใช้งาน (คอมเพรสเซอร์ บางรุ่นสามารถซ่อมกลับมาให้ใช้งานเหมือนใหม่ได้ ยกเว้นคอม Rata ry เช่น: Nissan/Suzuki: DKV....,Mazda:Panasonic/TRF....Mitubishi:FX/MSC 090.....Honda-Civic/Crv:TRF/ TRV/TRSA 090-105- & Ford Scroll(Jaguar S-Type)...
4.ใช้น้ำมันผิดเสปค(Nissan DKV-14C/D & Toyot a (TV12/14C),BMW318,SS-96D1..ต้องใช้ Oil 9 /Viscosity 100,all GM,Kia,Daewoo,Opel น้ำมัน Viscosity 15 0) ***.ใช้น้ำมันผิดทำให้คอมมีเสียงดัง กรีกฯ .ไม่ควรใส่น้ำมันคอมเกิน เพราะทำให้ไม่เย็นเท่าที่ควรและทำ ให้คอมทำงานหนักกว่าเดิม แต่ก็ไม่ทำให้คอมแอร์พัง.ในทันที ควรล้างระบบใหม่ และเติมน้ำมันให้พอดี+/-10%(ข ึ้นอยู่กับ ประเภทของคอมแอร์ รุ่นของรถยนต์ ขนาดเครื่องยนต์ )
(ในกรณีที่รถที่ออกแบบมาใช้แอร์ตู้เดียว ไปติดแอร์ตู้หลังเพิ่ม และใส่น้ำมันไม่พอ ผลคือคอมพังก่อน.ควรติดตั้งคอมแอร์ที่ใหญ่กว่าเดิม และเพิ่มน้ำมัน.).
. 5.ดรายเออร์สกปรก/ตัน ... หรือความชื้นภายในระบบแอร์ หลายครั้งที่เปิดคอมแล้วพบค ราบสนีมบนแผ่น Plate ภายในตัวคอม หรือความชื้นภายในระบบเนื่องจาก ร้านแอร์แวคคั่มนานไม่พอ หรือมีการรั่ว ซึมในระบบมานาน
6 รั่ว เพราะเกิดจาก โอริง/.ท่อน้ำยาหมดอายุ.
7.ตู้แอร์...ชึม/.รั่ว...คร ีบของตู้แอร์ล้ม เพราะผ่านการใช้งาน หรือ สกปรก ฝุ่นเกาะหนา ขนสัตว์ น้ำหอม ความชื้นหรือน้ำไม่สามารถระเ หยออกมาจากตู้ใด้ ทำให้น้ำแข็งเกาะตู้ เพราะลมเป่าผ่านตู้ไม่ได้..
8.และชิ้นส่วนอื่นฯ เช่น pres sure switch,thermostat, relay,ดรายเออร์ และ เอ็กแพนซั่นวาวล์ (ดรายเออร์/แอคคิวมูเลเตอร์ และ เอ็กแพนซ ั่นวาวล์ ควรเปลี่ยน ทุกฯ 3-4 ปี..ถ้าเป็นระบบ Orifice tube ควรถอดมาทำความสะอาด ทุกฯ 2-30,000 ก.ม.หรือ เปลี่ยนถ้าตระแกงฉีกขาด วาวล์ตัวนี้ทำหน้าทีกรองด้วย ถ้าสกปรก/อดตัน แอร์จะไม่เย็น) **.หรือติดตั้ง หาง เทอร์โม ผิด/เสีย(กรณีนี้เจอบ่อย ถ้ามีคนจะแกล้ง เพียงดึงหรือดันหางให้ผิดตำแห่นง ความเย็นจะเพี้ยนไปหรื อคอมจะตัดช้าหรือตัด ก่อน ในกรณีนี้ แอร์จะไม่เย็น สุดท้ายคอมเริ่มรั่ว และตาย ผมเคยเจอมาแล้ว)
9.ควรศึกษาคู่มือ วิธีการใช้ ปุ่มปรับตั้งระบบปรับอากาศรถคุณ เพราะหลายครั้งเจอผู้ใช้รถ ปรับผิด ....... .
10.รอบเครื่องต่ำเกินเพราะต้องการเซฟน้ำมัน...แต่แอร์ไม่เย็น ......ต้องเลือกเอาครับ
11 .PWM,Current Limiting pressure Control Valve,คอมจะทำงานเมื่อเครื่องติด เป็นระบบที่ใช้กับรถ Europe แล ะ ญี่ปุ่น High-end บางรุ่น ไม่มีเทอร์โมสแตท์ควบคุม จะใช้อุณหภูมิในห้องโดยสาร และECU ควบคุม pressur e แทน ไม่มีคลัทช์
**.การรั่วซึมของน้ำยา(ท่อน้ำยา 134 ยังกันซึมใด้ไม่ถึง100 เปอร์เซ็นต์) เติม น้ำยาบ่อยฯ โดยไม่ได้เติมน้ำมัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คอมสึกหรอเร็วกว่าปรกติ และคอมล็อคได้ ควรเติมน้ ำมัน เมื่อเติมน้ำยาครั้งที่ 2-3 ถ้า 8-12 เดือน น้ำยาขาด ถือว่าปรกติ เติมน้ำยาบ่อยฯ ควรหาจุดรั่วและซ่ อมเสียจะดีกว่า เพราะน้ำยา และ น้ำมันคอมขาด ทำให้ระบบแอร์ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ แอร์ไม่เย็นและจะทำให ้คอมเพรสเซอร์สึกหรอเร็วกว่าที่ควรจะเป็น . และที่สำคัญที่สุด ระบบต้องสะอาด..
วิธีการตรวจสอบข้อขัดข้องอย่างง่ายๆ คือการมองและการฟังเสียง

สายพานขับหย่อนหรือไม่ ?
ถ้าสายพานขับหย่อนมากเกินไป จะเกิดการลื่นและการสึกหรอ ซึ่งจะต้องทำการปรับตั้งให้อยู่ในค่าความดึง มาตราฐาน และ ถ้าสายพานสึกหรอมากเกินไป จะต้องเปลี่ยนใหม่

เกิดเสียงดังใกล้ๆ คอมเพรสเซอร์
ตรวจสอบโบลท์ยึดคอมเพรสเซอร์ และ แผ่นยึด ถ้ามีการหลวมขันให้แน่น

เกิดเสียงดังภายในคอมเพรสเซอร์
เสียงดังนี้อาจเกิดจากการสึกหรอ ของลูกปืนหรือน้ำมันในระบบ การทำความเย็น

ถอดคอมเพรสเซอร์ และ ถอดแยกชิ้นส่วน ซ่อมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนที่จำเป็น รวมทั้งเสียงดังนี้ อาจจะเกิดจาก น้ำมันคอมเพรสเซอร์ ไม่เพียงพอดังนั้น การที่จะถอดแยกคอมเพรสเซอร์ จะต้องตรวจดูปริมาณของน้ำมัน คอมเพรสเซอร์ ให้เรียบร้อยเสียก่อน

ครีบของคอนแดนเซอร์ถูกปกคลุมด้วยสิ่งสกปรกและฝุ่นละออง
ตัวครีบของคอนเดนเซอร์สกปรก จะทำให้มีการระบายความร้อนได้น้อย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพ ในการทำความเย็น ลดลงอย่างมาก ดังนั้นจะต้องล้างสิ่งสกปรกและฝุ่นผง ออกจากคอนเดนเซอร์

ถ้ามีการใช้แปรงในการล้าง จะต้องระวังไม่ให้ครีบเกิดการบิดงอหรือเสียหาย

กรองอากาศอุดตันหรือไม่?
กรองอากาศที่อุดตัน จะกั้นการไหลของอากาศและประสิทธิภาพในการทำความเย็นจะลดลง ดังนั้น ถ้าเกิดการ อุดตันจะต้องถอดกรองอากาศมาทำความสะอาด

น้ำมันที่สกปรกจะสามารถมองเห็นได้จากจุดต่อต่างๆของระบบทำความเย็น
เราสามารถมองเห็นน้ำมันสกปรกจะไหลออกมาจากระบบทำความเย็น เพราะว่า น้ำมันคอมเพรสเซอร์ จะผสมกับสารทำความเย็น เพื่อทำให้เราสามารถมองเห็นการรั่วได้ ซึ่งถ้าสารทำความเย็นที่เป็นแก๊ส มีการรั่วไหล เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีคราบน้ำมันปนออกมาด้วย จะทำให้เราสามารถมองเห็นการรั่วได้ยาก

ถ้าพบคราบน้ำมัน จะต้องทำการขันจุดต่อให้แน่น หรือ เปลี่ยนชิ้นส่วนที่มีการรั่วไหล

จุดที่เราสามารถมองเห็นการรั่วได้บ่อยๆ คือตามจุดข้อต่อของท่อ และที่ประเก็นคอมเพรสเซอร์ ซึ่งจำเป็นที่ จะต้องตรวจเช็คบ่อยๆ

เกิดเสียงดังใกล้ๆพัดลม
ให้มอเตอร์พัดลมหมุนที่ตำแหน่ง LO, MED และ HI

ถ้ามีเสียงผิดปกติ หรือมอเตอร์มีการหมุนผิดปกติให้เปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ การตัดขัดของพัดลมจากสิ่งอื่นๆ ก็จะทำให้เกิดเสียงดังขึ้นได้ และการขันที่ไม่ถูกต้องก็จะเป็นสาเหตุของการหมุนผิดปกติ ดังนั้น ก่อนที่จะเปลี่ยน มอเตอร์ใหม่ จะต้องตรวจสอบทุกจุดให้เรียบร้อยเสียก่อน

ตรวจสอบปริมาณของสารทำความเย็นที่กระจกมอง
ถ้ามองจากกระจกมองแล้วไม่พบว่ามีฟองเกิดขึ้นเลย แม้ว่าจะใช้น้ำสาดที่คอมเดนเซอร์ แสดงว่าสารทำ ความเย็น มีมากเกิดไป ดังนั้นจะต้องดูดสารทำความเย็นออกให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องใช้ความ ระมัดระวังอย่างมาก เมื่อจะทำการดูดสารทำความเย็นออกจากวาล์วบริการด้านแรงดันต่ำ เพื่อป้องกันการดูด ออกมากเกินไป ซึ่งน้ำมันคอมเพรสเซอร์จะถูกดูดออกด้วย

เครื่องปรับอากาศ คือ อุปกรณ์สำหรับรักษาอุณหภูมิและความชื้นของอากาศ ในห้องให้อยู่ในสภาพ ที่เหมาะสมเมื่ออุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้น ความร้อนจะถูกดึงออกมา เพื่อให้อุณหภูมิลดลง (เรียกว่าการทำความเย็น) และในทาง สลับกันเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น (เรียกว่า การทำความร้อน) ดังนั้นความชื้นจะถูกจ่ายออกมาหรือเอาออกเพื่อรักษาความชื้น ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม

ดังนั้นเครื่องปรับอากาศจึงเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นประกอบไปด้วย เครื่องทำความเย็น เครื่องทำร้อนตัวควบคุม ความชื้น และเครื่องถ่ายลม

เครื่องปรับอากาศสำหรับรถยนต์โดยทั่วๆไป ประกอบด้วย เครื่องทำความร้อนหรือ เครื่องทำความเย็น ซึ่งมีตัว ดูดความชื้นและเครื่องถ่ายลม

ระบบการทำความเ็ย็น

--------------------------------------------------------------------------------
คอมเพรสเซอร์จะรับสาร ทำความเย็น ที่ออกมาจากอีแว๊ปเปอร์สเตอร์ และ จ่ายออกในช่วงจังหวะอัด ทำให้สารทำความเย็น มีอุณหภูมิและแรงดันสูงขึ้น
สารทำความเย็นที่เป็นแก๊สจะผ่านไปยังคอนเดนเซอร์ ซึ่งคอนเดนเซอร์ จะทำให้สารทำความเย็นที่ เป็นแก๊สควบแน่น กลายเป็นของเหลว
สารทำความเย็นที่เป็นของเหลวนี้จะไหลไปยังรีซีฟเวอร์ ซึ่งรีซีฟเวอร์ จะกรองและเก็บ ความชื้นก่อนที่ จะส่งไปยังอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์
แอ๊คเพนชั่นวาล์ว จะเปลี่ยนสารทำความเย็นที่เป็นของเหลวให้เป็น ของเหลว ที่มีอุณหภูมิต่ำและ แรงดันต่ำ และ ผสมกัน เป็นฝอยละออง
จากนั้น ฝอยละอองของสารทำความเย็น จะผ่านไปยังอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์

ของเหลวจะกลายเป็นไปภายใน อีแว๊ปเปอร์เรเตอร์ ความร้อนจากอากาศรอบๆ จะผ่านไปยังขด อีแว๊ปเปอร์เรเตอร์ และ ถุกส่งไปยังสารทำความเย็น

ของเหลวทั้งหมดจะเปลี่ยนไปเป็นแก๊สในอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์ และ ก็จะส่งไปยังคอมเพรสเซอร์ จากนั้นกรรมวิธีซ้ำแบบเดิมอีกต่อไป

เครื่องปรับอากาศรถยนต์มีอยู่ 2 แบบ ซึ่งแตกต่างกันออก ไปตามวิธีการปรับตั้งอุณหภูมิ อย่างแรก คือ แบบนำอากาศ ไปผสม และ อีกแบบคือแบบเทอร์โมสตัท แบบนำอากาศไป ผสมจะใช้กันแบบที่มี ตัวทำความร้อน ในที่นี้จะอธิบายใน แบบเทอร์โมสตัทเท่านั้น

แบบเทอร์โมสตัท
ในจำนวนแบบความแตกต่างของระบบการนำความเย็นในรถยนต์ ที่ควบคุมเทอร์ดมสตัท แบบหนึ่งซึ่งปัจจุบันนิยม ใช้เป็นส่วนมาก คือ แบบเทอร์มิสเตอร์

เทอร์มิสเตอร์ คือ สารกึ่งตัวนำซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน โดยสอดคล้องกับอุณหภูมิ ดังแสดงในกราฟ ข้างล่าง เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ค่าความต้านทานจะลดต่ำลง แต่ในทางกลับกัน เมื่ออุณหภูมิลดลง ค่าความต้านทาน ของเทอร์มิสเตอร์จะสูงนั้น เทอร์มิสเตอร์จะยึดตัว อยู่กับครีบของ อีแว๊ปเปอร์เตอร์ และ จะรับอุณหภูมิจากผิวของครีบ อุณหภูมิจะถูกควบคุมโดย การเปรียบเทียบสัญญาณ จากเทอร์มิสเตอร์ และ สัญญาณจากความต้านทานที่ควบคุม อุณหภูมิ จากนั้น แอมพริฟลายเออร์ จะส่งผลไปยังคลัทช์แม่เหล็กให้จับและปล่อย ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้สาร ทำความเย็น ไหลจากคอมเพรสเซอร์ ไปยังอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์ หรือ ตัดการไหลของสารทำความเย็น

จากผลอันนี้อุณหภูมิของอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์จึงมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงเป็นการควบคุมอุณหภูมิของอากาศ ที่ผ่านออกจากอีแว๊ปเปอร์เรเตอร์

คอมเพรสเซอร์

--------------------------------------------------------------------------------
คอมเพรสเซอร์ คือ ปั๊มอยางหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มแรงดัน ของสารทำความเย็นให้สูงขึ้น การเพิ่มแรงดันจะทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นด้วย สารทำความเย็นที่เป็นไอ และ มีอุณหภูมิสูง จะควบแน่น อย่างรวดเร็วในคอมเดนเซอร์ โดยการถ่ายเทความร้อนออกสู่บรรยากาศรอบๆ ตัวมัน

ชนิดต่างๆ ของคอมเพรสเซอร์ แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

- แบบรีชีปโปรเคติ้ง
- แบบข้อเหวี่ยง
- แบบสว๊อชเพลต
- แบบโรตารี่
- แบบใบพัด

แบบข้อเหวี่ยง ในคอมเพรสเซอร์แบบรีชิปโปรเคดิ้ง การหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงจะถูก เปลี่ยนเป็นการเคลื่อนที่ขึ้นลง ของลูกสูบ

แบบสว๊อชเพลต จำนวนของลูกสูบคู่ที่อยู่บนสว๊อชเพลตจะทำมุม 72 องศา สำหรับคอมเพรสเซอร์แบบ 10 กระบอกสูบ หรือ ทำมุม 120 องศา สำหรับคอมเพรสเชอร์แบบ 6 กระบอกสูบ
เมื่อลูกสูบด้านหนึ่งอยู่ในช่วงจังหวะอัด อีกด้านหนึ่งจะอยู่ในจังหวะดูด

แบบโรตารี่ ลักษณะของคอมเพรสเซอร์แบบใบพัดจะมีใบพัดจะมีใบพัด แต่ละใบอยู่ตรงข้ามกัน ซึ่งจะมีใบพัดอยู่ 2 คู่ สวมติดอยู่ในร่องของโรเตอร์ ขณะโรเตอร์หมุนใบพัดจนเลื่อนอยู่ในทิศทาง ตามแนวรัศมี และ ปลายด้านหนึ่งจะสัมผัส กับผิวด้านในของกระบอกสูบ

แบบใบพัด ในคอมเพรสเซอร์จะมีใบพัด2ตัวหันหน้าเข้าหากันในตัวใบลายแบบก้นหอย เมื่อคอมหมุน ก้นหอย2ตัวจะเบียดกันแบบลักษณะข้อเหวี่ยงคือเบียดและคลาย...เพื่อดูดน้ำมันและสร้างแรงดันให้สารทำความเย็น...


ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดี...จากเวปCoronaCarClub...
เครดิตท่าน..CoRoNaMaFiA..ครับ..

ในส่วนของข้อมูลมีการEdit และ เพื่อเติมในบางส่วน โดยกระผมถ้าขาดตกประการบกพร่องในประการใด..ผมขอรับผิดชอบในการEditข้อความแต่ผู้เดียวครับ
และขออนุญาตเจ้าของข้อความในการนำมาเผยแพร่และแก้ไขข้อความด้วยครับด้วยครับ



www.opel.in.th

www.dekgayray.com

www.phuntana.Hi5.com

phuntana@hotmail.com

Mobis : 081-0202-400


 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง