วิธี...ที่ช่วยให้ขับรถปลอดภัย...!!!!!!

Ton_Oo · 1106

Offline Ton_Oo

  • ผู้เยี่ยมยุทธ
  • ***
    • Posts: 291
  • """Tomorrow Never Come""" 080-0914411
สิ่ง ดีดี ที่เอามาฝาก...

วิธี ที่ช่วยให้ขับรถปลอดภัย

กรณีที่ 1 เมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถ
ยางระเบิดในขณะขับรถ มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

1. มือทั้งสองต้องจับอยู่ที่พวงมาลัยอย่างมั่นคง
2. ถอนคันเร่งออก
3. ควบคุมสติให้ดีอย่าตกใจ มองกระจกหลังเพื่อให้ทราบว่ามีรถใดตามมาบ้าง
4. แตะเบรกอย่างแผ่วเบาและถี่ๆ อย่าแตะแรงเป็นอันขาด เพราะจะทำให้รถหมุน
5.ห้ามเหยียบคลัตช์โดยเด็ดขาดเพราะถ้าเหยียบคลัตช์รถจะไม่เกาะถนนรถจะลอยตัว และจะทำให้
บังคับรถได้ยากยิ่งขึ้น อาจเสียหลักเพราะการเหยียบคลัตช์เป็นการตัดแรงบิดของเครื่องยนต์ให้
ขาด จากเพลา
6. ห้ามดึงเบรกมืออย่างเด็ดขาด จะทำให้รถหมุน
7. เมื่อความเร็วรถลดลงพอประมาณแล้วให้ยกเลี้ยวสัญญาณเข้าข้างทางซ้ายมือ
8. เมื่อความเร็วลดลงระดับควบคุมได้ ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงและหยุดรถ
ข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือ ไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิดล้อหน้าหรือล้อหลังก็ตาม เมื่อระเบิด ด้านซ้าย รถก็จะแฉลบไปด้านซ้ายก่อน แล้วก็จะสะบัดกลับและสะบัดไปด้านซ้ายอีกที สลับกันไปมา และในทำนองตรงกันข้าม หากระเบิดด้านขวาอาการก็จะ กลับเป็นตรงกันข้ามอุบัติเหตุ ร้ายแรงที่เกิดขึ้นส่วนมากก็คือ หากขณะยางระเบิดรถวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงมากๆ พอยางระเบิดขึ้นมารถก็จะกลิ้งทันที ทำอะไรไม่ได้ดังนั้นการขับรถที่ใช้ความเร็วสูงๆจึงมักจะแก้ไขอะไรในเรื่อง นี้ไม่ได้ เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นในขณะขับรถ จึงไม่ควรขับรถเร็ว
(ความเร็วทีถือว่าปลอดภัยใน DEFENSIVE DRIVING คือ ความเร็วไม่เกิน 100
กิโลเมตร ต่อชั่วโมง)

กรณีที่ 2 เมื่อรถตกน้ำ

ในกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุแล้วตกลงไปในแม่น้ำ ลำคลองใดๆ ก็ตามรถจะไม่ตกลงไปในน้ำแล้ว
จมทันที เหมือนหิน ตกน้ำ แต่จะค่อยๆ จมลงทีละน้อยๆ จนกว่าจะถึง พื้นล่างและในนาทีวิกฤตนี้ ควรตั้งสติให้ดีและปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ปลด SAFETY BELT ออกทุกๆคน รวมทั้งผู้โดยสารด้วย
2. อย่าออกแรงใดๆ เพื่อสงวนการใช้อากาศหายใจซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนจำกัด
3. ให้ยกส่วนศีรษะให้สูงเหนือระดับน้ำที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในรถ
4. ปลดล็อกประตูรถทุกบาน
5. หมุนกระจกให้น้ำไหลเข้าในรถเพื่อปรับความดัน! ในรถและนอกรถให้เท่ากันมิฉะนั้นท่านจะ
เปิดประตูรถไม่ออก เพราะน้ำจากภายนอกตัวรถจะดันประตูไว้
6. เมื่อความดันใกล้เคียงกัน แล้วให้ผลักบานประตูออกให้กว้างสุด แล้วท่านก็ออกจากห้องโดยสาร
ของรถได้
7. จากนั้นท่านอาจจะปล่อยตัวให้ลอยขึ้นเหนือน้ำตามธรรมชาติหรือจะว่ายน้ำขึ้นมา ก็ได้ ใน
กรณีนี้หากน้ำลึกมากๆอาจจะมองไม่เห็นว่า ทิศใดเหนือน้ำ ทิศใดใต้น้ำเพราะว่ามืดไปหมด ไม่ ควรใช้วิธีว่ายน้ำ เพราะอาจจะว่าย ไปในทิศทางที่ไม่ขึ้นเหนือน้ำ กรณีเช่นนี้ ควรปล่อยตัวให้ ลอยขึ้นตามธรรมชาติ หรือลองเป่าปากดูว่า ฟองอากาศลอยไปในทิศทางใด ให้ว่ายน้ำไปในทิศทางที่ฟองอากาศลอยไป ก็จะไม่มีอาการ หลงน้ำ นอกจากนั้น ก่อนออกจากรถหากท่านมีผู้โดยสารที่เป็นเด็กๆ อาจจะหนีบ เด็กๆ นั้นออกมากับท่านได้อีกหนึ่งคน
ดังนั้นหากท่านปฏิบัติ ตามวิธีการเหล่านี้ ก็จะช่วยให้ชีวิตของท่านปลอดภัย ได้ ในยามคับขัน
  
  
จับพวงมาลัยให้ถูกต้อง

พวงมาลัย อุปกรณ์หลักในการบังคับทิศทางของรถ การจับพวงมาลัยอย่างถูกวิธี และถูกตำแหน่ง จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัย

อย่าเพิ่งคิดว่าเป็นเรื่องพื้น ๆ ที่รู้อยู่แล้ว แค่จับพวงมาลัยไม่เห็นมีอะไรซับซ้อน จับตามวิธีและตำแหน่งที่ตนเองถนัดก็พอ ทั้งที่ความจริงแล้ว การจับพวงมาลัยตามถนัด อาจไม่ใช่การจับที่ถูกต้องตามหลักการด้านความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ก็ เป็นได้

การจับพวงมาลัยผิดตำแหน่ง
ผู้ขับรถคนไทยส่วนใหญ่ มักไม่เห็นความสำคัญของการจับพวงมาลัย จึงมีการปฏิบัติแบบผิด ๆ ต่อเนื่องกันมา โดยมีสาเหตุจาก
- ขาดการฝึกฝนอย่างถูกวิธี ทั้งจากโรงเรียนสอนขับรถยนต์ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
- เน้นความสบายและผ่อนคลายเป็นหลัก
- คิดว่าจับพวงมาลัยแบบไหน ก็ไม่เห็นเกิดอุบัติเหตุ

การจับพวงมาลัยผิดตำแหน่งมีหลากหลายรูปแบบ ที่พบบ่อย คือ
- จับด้านบนของพวงมาลัยตำแหน่ง 12 นาฬิกา
- วางมือทั้ง 2 ข้างไว้บนตัก แล้วจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกา
- สอดแขนทั้ง 2 ข้างเข้าไปในวงพวงมาลัย ข้อมือพาดอยู่แถวก้าน วางมือไว้บนคอพวงมาลัย
- จับที่ก้านพวงมาลัยด้านซ้าย-ขวา
- จับด้วยมือขวาข้างเดียว ข้อศอกขวาท้าวขอบหน้าต่าง หรือที่ท้าวแขนบนบานประตู
- จับด้วยมือซ้ายข้างเดียว ข้อศอกซ้ายพาดอยู่บนที่ท้าวแขน

ที่ถูกต้อง 3 และ9 หรือ 2 และ10
ตำแหน่งการจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง เมื่อเปรียบเทียบกับตำแหน่งของตัวเลขบนหน้าปัดนาฬิกา ก็จะเข้าใจง่ายขึ้น เพราะเป็นทรงกลมเหมือนกัน

มือขวาควรจับวงพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 3 นาฬิกา และมือซ้ายจับที่ตำแหน่ง 9 นาฬิกา สังเกตว่ามือทั้ง 2 ข้างอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันที่ขนานกับพื้น อยู่บริเวณกึ่งกลางวงพวงมาลัย จึงสามารถหมุนพวงมาลัยได้อย่างแม่นยำ และฉับไว ทั้งหมุนไปทางซ้ายหรือขวา บางคนอาจจับสูงขึ้นมาอีกนิด แต่ไม่ควรเกินตำแหน่งมือขวาที่ 2 นาฬิกา มือซ้ายที่ 10 นาฬิกา โดยรวมแล้ว แนะนำให้จับตำแหน่ง 3 – 9 นาฬิกา จะเหมาะสมกว่า

ถ้าสังเกตสักนิดจะพบว่า พวงมาลัยส่วนใหญ่จะผลิตมาเอื้อต่อการจับที่ตำแหน่ง 3-9 นาฬิกา โดยมีหลุมตื้น ๆ หรือเป็นร่องตื้น ๆ บริเวณปลายก้านที่ต่อกับวงพวงมาลัย เพื่อให้วางนิ้วโป้งได้อย่างพอเหมาะ

 มีแอร์แบ็กยิ่งต้องระวัง
ในกรณีที่พวงมาลัยมีแอร์แบ็ก ควรจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 3-9 นาฬิกา เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วแอร์แบ็กพองตัว แขนทั้ง 2 ข้างจะได้สะบัดออกด้านข้าง หลักทางให้แอร์แบ็กรองรับร่างกายช่วงบนได้ แต่ถ้าจับพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 2 – 10 นาฬิกา แขนทั้ง 2 ข้างอาจจะสะบัดเฉียงขึ้น ขวางการพองตัวของแอร์แบ็กได้

 พิสูจน์ง่าย ๆ ด้วยตนเอง
ถ้าใครคิดว่าจับพวงมาลัยแบบไหนก็หมุนได้เหมือนกัน ทดลองง่าย ๆ ด้วยการจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วหมุนไปมา หรือจะหาที่โล่ง ๆ และปลอดภัยเพื่อทดลองขับก็ได้ เปรียบเทียบการจับพวงมาลัยแบบผิด ๆ ถ้าไม่เข้าข้างตัวเองเกินไปก็จะพบว่า การจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ถูกต้อง จะทำให้หมุนได้อย่างฉับไว รวมทั้งควบคุมน้ำหนัก และทิศทางได้แม่นยำกว่า

 จับ 2 มือเมื่อล้อหมุน
สำหรับการขับรถยนต์ทางเรียบในทุกสถานการณ์ ควรใช้นิ้วโป้งเกี่ยวเพิ่มความกระชับด้วยเสมอ จะเกี่ยวลึกหรือเกี่ยวไว้เล็กน้อยก็ยังดี (หากขับบนทางวิบาก ไม่ต้องใช้นิ้วโป้งเกี่ยว เพราะพวงมาลัยจะสะบัดบ่อย) ส่วนนิ้วที่เหลือก็กำให้แน่นพอประมาณ ไม่ต้องแน่นจนเกร็ง แต่ก็ต้องไม่หลวมเกินไป และควรจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ถูกต้องด้วยมือทั้ง 2 ข้างตลอดเวลาที่ล้อหมุน

เมื่อขับทางตรงและโล่ง อย่าวางใจด้วยการขับมือเดียวหรือจับพวงมาลัยผิดตำแหน่ง เพราะยิ่งใช้ความเร็วสูงก็ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวัง และเตรียมพร้อมอยู่เสมอ เพราะถนนข้างหน้าอาจมีหลุมบ่อหรือสิ่งกีดขวางตกอยู่ ถ้าเป็นเกียร์ธรรมดา เมื่อเปลี่ยนเกียร์แล้ว มือซ้ายควรกลับมาจับพวงมาลัยไม่วางแช่ไว้บนหัวเกียร์

 ตำแหน่งของเบาะก็เกี่ยวข้อง
ความฉับไว และแม่นยำในการหมุนพวงมาลัย นอกจากจะเกี่ยวข้องกับตำแหน่งในการจับพวงมาลัยแล้ว การปรับเบาะ และพนักพิงก็เป็นส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน โดยเมื่อจับพวงมาลัยตามตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ข้อศอกจะต้องงอเล็กน้อย ไม่ตึงจนต้องเหยียดแขนสุดหรือหย่อนจนข้อศอกแนบลำตัว

การตรวจสอบระยะที่เหมาะสมของเบาะ และพนักพิงทำได้ไม่ยาก แค่เหยียดแขนให้ตึงแล้วคว่ำลงบนสุดของพวงมาลัยที่ตำแหน่ง 12 นาฬิกา ข้อมือต้องอยู่บนพวงมาลัยพอดี หรือเยื้องเลยจากข้อมือไปบริเวณอุ้งมือได้เล็กน้อย แต่ต้องไม่เลยไปจนถึงฝ่ามือ และแผ่นหลังจะต้องแนบกับพนักพิงด้วย
  
  
การเปลี่ยนยางเพื่อเพิ่มความปลอด แก่เพื่อนๆ
เมื่อไรควรเปลี่ยนยาง
ยางรถยนต์ไม่ได้หมดอายุจากการสึกของดอกยางเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ยางหมดอายุได้ โดยแบ่งเป็น 6 ลักษณะ คือ ดอกหมด ไม่เกาะ เนื้อแข็ง โครงสร้างกระด้าง เสียงดัง หรือแก้มบวม ถ้าเกิดขึ้นเพียงลักษณะเดียวหรือควบคู่กัน ก็ถือว่ายางนั้นหมดอายุ

การเปลี่ยนยาง ควรเปลี่ยนพร้อมกันทั้ง 4 เส้น เพราะยางผ่านการใช้งานมาเท่ากัน ย่อมมีการสึกหรอและสภาพภายในที่ใกล้เคียงกัน โดยควรเลือกใช้ยางรุ่น และขนาดเดียวกันทั้ง 4 ล้อ

สาเหตุของการหมดอายุของยาง
ดอกหมด  ถ้ายางดอกหมด หรือร่องยางเหลือตื้นมาก แต่ส่วนประกอบของยางเส้นนั้นยังดีอยู่ ก็ยังสามารถใช้บนถนนเรียบ และแห้งได้ และจะเกาะถนนแห้งดีกว่ายางมีดอกที่มีความกว้างเท่ากัน เพราะมีพื้นที่สัมผัสถนนมากกว่า ส่วนร่องยางมีหน้าที่ในการรีดน้ำ ฝุ่น และโคลนเป็นหลัก ยิ่งร่องตื้น หน้าสัมผัสของดอกยางก็ยิ่งมาก เพราะร่องยางส่วนใหญ่เป็นทรงกึ่งตัววี  V

แต่รถยนต์ที่ขับใช้งานทั่วไป ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าเมื่อไรจะเจอถนนเปียก เมื่อยางดอกหมดหรือหรือมีความลึกต่ำกว่าที่กำหนด ก็ควรเปลี่ยนชุดใหม่

เนื้อแข็ง  ตามพื้นฐานของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยาง ที่เมื่อถูกความร้อน (ที่ไม่ร้อนจัดถึงขั้นละลาย) ก็จะค่อย ๆ แข็งขึ้น ยางรถยนต์ส่วนใหญ่ เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง และได้รับความร้อนจากสภาพอากาศ พื้นถนน และการบิดตัวของยางเอง ซึ่งเกิดขึ้นตลอดการหมุน เนื้อยางก็จะแข็งขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อเนื้อยางเริ่มแข็งขึ้น การสึกของดอกยางก็จะช้าลง มองดูแล้วเห็นว่าร่องยางยังลึกอยู่ แต่แรงเสียดทานระหว่างดอกยางกับผิวถนนจะมีน้อยลง และโครงสร้างภายในของยางก็เสื่อมสภาพลงด้วย

หากเปรียบเทียบอัตราการสึกของดอกยางต่อระยะทาง เมื่อผ่านการใช้งานไปแล้ว แทบไม่มียางรุ่นไหนที่ดอกสึกเร็วขึ้น ส่วนใหญ่มักจะสึกช้าลงหรือแทบไม่สึกเลยเมื่อเนื้อยางแข็งกระด้างเต็มที่ ทดสอบง่าย ๆ โดยใช้เล็บจิกลงบนเนื้อของหน้ายาง เปรียบเทียบกับยางใหม่ ๆ ที่สามารถจิกลงไปในเนื้อยางได้ง่าย และลึกกว่า

หากดอกยางใหม่หมด เฉลี่ยคร่าว ๆ ว่า เมื่อเกิน 3 ปี หรือเกิน 50,000 กิโลเมตร หากต้องการใช้งานต่อ ต้องหมั่นตรวจสอบสภาพอย่างสม่ำเสมอ และควรหลักเลี่ยงยางเก่าเก็บ เพราะจะทำให้ระยะเวลาในการใช้ยางสั้นลงกว่า 3 ปี

                                  :) :) :) :) :) :) :) :)

อุปสรรคที่ทานทน จะสร้างคนให้ทนทาน
### มื่อใหม่ ใจปลาซิว แต่วิ่งฉิวไม่เคยรอใคร...###
E-mail : oo_sukanya@hotmail.com
            oo_sukanya@yahoo.com


 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง