^
^
^
โอ้ว...กลับมาแล้วรึค่ะ
มาเล่าเรื่องต่อรึป่าว มารออ่านค่า ^^*
ต้องหาโอกาสขับหรือเป็นเจ้าของรถ Opel น่ะครับ ก็จะมีเรื่องเขียนได้อีก โดยเฉพาะ Corsa ยังมีเรื่องน่าสนใจมากนะครับ เช่น หลายคนรู้สึกว่าช่วงเหยียบเบรคต้องเหยียบลึกกลัวไม่อยู่ จริงๆ เบรคดีครับ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรอกครับแต่น่าจะเป็นการออกแบบช่วงจังหวะการเบรคไม่ให้ล้อล็อคเพราะถ้าช่วงเหยียบเบรคตื้น ในจังหวะฉุกเฉิน ถ้าเราเหยียบเบรคกระทันหัน เบรคอาจจะจับล้ออยู่แต่ล้อล็อคแล้วท้ายปัด เราก็จะเสียการควบคุมรถได้ครับ และ Corsa เป็นรถเล็กฐานล้อแคบถ้าท้ายปัดแรงๆ อาจพลิกคว่ำได้ครับ
ช่วงเบรคของ opel จะออกแบบมาให้สามารถคุมระยะการกดเบรคได้ละเอียดกว่าหลายๆยี่ห้อครับ ทำให้สามารถแต่งจังหวะเบรคได้ค่อนข้างเยอะครับ ถ้าขับ opel แล้วไปขับรถยี่ปุ่น เหยียบครั้งแรกมักจะหัวทิ่มครับ เพราะว่าไม่ชินระยะแป้นเบรคครับ
ใช่ครับ รถเยอรมันมักจะออกแบบให้มีระยะเบรคแบบนี้ เพราะต้องการให้รถชะลอและหยุดได้อย่างปลอดภัย แต่หลายๆ ท่านที่ขับรถญี่ปุ่นก็จะชินกับการเบรคปุ๊ปอยู่ปั๊ปทันที ซึ่งก็ดีแต่ล้อก็ล็อคได้ง่ายกว่าน่ะครับ บางครั้งผมก็นึกถึงว่าเป็นเพราะกฎหมาย ลักษณะถนน ภูมิประเทศ วัฒนธรรม แนวคิดเพื่อการผลิตรถของเยอรมันกับญี่ปุ่นมีความแตกต่างกันหรือเปล่าทำให้การออกแบบอุปกรณ์ต่างๆในรถยนต์มีความแตกต่างกันบ้าง เช่น เยอรมันมีทางด่วนออโต้บาห์น ทั้งรถเล็ก รถใหญ่ จึงต้องมีช่วงล่างดี ขับขี่ในความเร็วสูงได้อย่างมั่นใจ ทำให้ออกแบบช่วงเบรคสามารถชะลอและหยุดได้อย่างปลอดภัย แต่ญี่ปุ่นอาจมีแนวคิดเรื่องการผลิตรถเล็กว่าเป็นรถขนาด CC. ไม่มาก ใช้สำหรับระยะทางใกล้ๆ ใช้ในพื้นที่ๆ มีการจราจรแออัด หรือรถสามารถเคลื่อนไปได้แบบ stop and go คือไปๆ หยุดๆ วิ่งบ้างติดบ้าง จึงต้องทำเบรคให้มีระยะที่ตื้นกว่า เพื่อให้หยุดได้ฉับไว ลองสังเกตได้ครับว่า City car ของญี่ปุ่นมักมีตีนต้นดี บางคันถึงกับเร้าใจเลยทีเดียว