[ ข้อมูล ] ความรู้เรื่องเกจ์วัดต่าง ๆ

jzdotnet · 6148

Offline jzdotnet

  • หนึ่งในใต้หล้า
  • ****
    • Posts: 590
มาตรวัดบูสต์ (BOOTS METER)

มาตรวัดตัวนี้จะเห็นในรถยนต์แทบทุกคันที่มี การติดตั้งเทอร์โบเข้าไป รวมถึงรถยนต์ ที่มีเทอร์โบมาจากโรงงานก็อาจจะมีตัวนี้มาให้ เนื่องจากมันเป็นตัวบ่งบอกสำคัญให้ผู้ ขับขี่ทราบว่า มีแรงดันอากาศ หรือแรงบูสต์เข้ามายังเครื่องยนต์มากน้อยเพียงไร มาตรวัดตัวนี้โดยปกติบนหน้าปัด จะมีค่าตัวเลขด้านล่างขึ้นมาที่ 0 ซึ่งเป็นค่าของ แวคคั่ม หรือ แรงดันลบ และจาก 0 ขึ้นไป จะเป็นของเทอร์โบ หรือ แรงดันบวก และในส่วนของ เทอร์โบนี่เองที่จะเป็นส่วนบ่งบอกว่า เทอร์โบ กำลังทำงานอยู่สำหรับการดูค่าอัตรา บูสต์เทอร์โบนั้น ถ้าหากว่าเข็มบนมาตรวัดเดินช้ามาก เป็นตัวแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า เทอร์โบมีขนาดใหญ่เกินไป ส่งผลให้ไอเสียที่ไปปั่นใบเทอร์โบไม่พอ การแก้ไขก็น่าจะเป็น การเปลี่ยนเป็นแคมฯ องศาสูง หรือไม่ก็เปลี่ยนจังหวะของวาล์วเป็นต้น นอกจากนี้หาก บนมาตรวัดชี้ว่ามีแรงบูสต์สูงเกินไปจากที่มีการตั้งค่าเอาไว้ ก็อาจจะสรุปได้ว่าเกิดปัญหา ขึ้นที่สปริงวาล์วของเวสต์เกต ที่เป็นตัวควบคุมแรงดันบูสต์ของเทอร์โบเป็นต้น สำหรับ มาตรวัดอัตราการบูสต์นี้ อาจจะมีค่าการวัดไม่เหมือนกัน บางครั้งอาจบ่งบอกค่าการวัดเป็น Bar (บาร์) หรือว่า psi (ปอนด์) อีกทั้งค่าสูงสุดของมาตรวัดบูสต์ ก็ไม่เท่ากัน จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ

มาตรวัดอุณหภูมิเครื่องยนต์ (WATER TEMP METER)

สำหรับ มาตรวัดความร้อน ตามปกติในรถธรรมดาทั่วไป ก็จะมีติดตั้งมาให้เป็น มาตรฐานอยู่แล้ว แต่ว่ารถยนต์ทั่วไปนั้นอาจไม่ได้อ่อนไหวในเรื่องของความร้อนมากนัก ค่าแสดงให้เห็นจึงไม่ละเอียดมากนัก ทั้งนี้เป็นเพราะทางโรงงานตั้งใจทำมาอย่างนั้น เพื่อคนขับจะได้ไม่ต้องเป็นห่วงมาก แต่ว่าเมื่อไหร่ที่เกจความร้อนขยับสูงขึ้น นั่นหมาย ความว่าความร้อนขึ้นค่อนข้างมาก ทว่าถ้าเป็นในรถธรรมดา อาจจะยังไม่ก่อปัญหามากนัก ขณะที่รถยนต์ซึ่งใช้เครื่องยนต์เทอร์โบและมีการโมดิฟาย หรือปรับบูสต์ เรื่องปัญหาความ ร้อนมีความสำคัญมาก เพราะอาจหมายถึงความเสียหายที่เกิดกับเครื่องยนต์ได้เลยทีเดียว โดยปกติ เซ็นเซอร์ ที่ใช้วัดความร้อนของเครื่องยนต์จะติดตั้งอยู่ตรงท่อน้ำที่ออกจากเครื่อง ซึ่งอุณหภูมิโดยปกติที่เครื่องยนต์ทำงานควรจะอยู่ที่ราว 90-100 องศาเซลเซียส และควรควบคุมไม่ให้สูงขึ้นเกินไปกว่า 120 องศาเซลเซียส หากว่าอุณหภูมิยังสูงขึ้น ก็พอมีวิธีแก้ไขคือ เพิ่มขนาดของหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น เปิดกันชนหน้าให้ลมผ่านเข้าหม้อน้ำ ได้ง่ายขึ้น หรือไม่ก็เจาะสคูปดักลมบนฝากระโปรงหน้า ให้ลมเข้ามาเป่าห้องเครื่อง วิธีการ เหล่านี้พอจะสามารถทำให้เครื่องยนต์เย็นได้บ้างเหมือนกัน

มาตรวัดรอบ (TACHO METER) RPM

สำหรับ มาตรวัดรอบ ก็เหมือนกับมาตรวัดความร้อน คือรถยนต์ส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งมา ให้จากโรงงานอยู่แล้ว แต่สาเหตุที่มีบางคนต้องไปติดเพิ่มอาจจะมาจากเหตุผลต่างกันไป บางคนอาจคิดว่าเป็นอุปกรณ์ตกแต่งสร้างความสวยงาม หรือความเท่ แต่กับบางคนอาจ จะเป็นสิ่งจำเป็นจริง ๆ อย่างรถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายเปลี่ยนไปใช้แคมฯ องศาสูงมาก ๆ จนทำให้สามารถเร่งรอบได้มากกว่าเดิม ซึ่งวัดรอบที่มีติดมากับรถ ไม่สามารถแสดงข้อมูล ได้เพียงพอ จึงต้องหาอันใหม่มาติดเข้าไป หรือในรถยนต์ที่ทำขึ้นมาสำหรับการแข่งขัน ควอเตอร์ไมล์ซึ่งจังหวะการเปลี่ยนเกียร์ ถือเป็นสิ่งที่ต้องการให้ความสำคัญมาก การตัดสิน แพ้ชนะอยู่ที่เวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที ดังนั้นมาตรวัดรอบที่มาพร้อมไฟเตือน จึงกลายเป็น อุปกรณ์ช่วยได้อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามการแพ้ชนะไม่ได้เพียงอุปกรณ์ที่ว่าเท่านั้น จังหวะ ฝีมือ สมาธิ ในการเปลี่ยนเกียร์ของผู้ขับขี่เป็นเรื่องที่สำคัญกว่า

มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER)

อุณหภูมิ น้ำมันเครื่อง มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะถือว่ามีผลกระทบกับเครื่องยนต์ โดยตรง หากว่าอุณหภูมิของน้ำมันเครื่องสูงเกินไป เครื่องยนต์ก็ไม่สามารถทำงานได้เต็ม ประสิทธิภาพ ทั้งนี้อุณหภูมิของน้ำมันเครื่องจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ใช้ ซึ่งในตลาดน้ำมันเครื่องแยกเป็นหลายประเภท มีทั้งแบบทนความร้อนสูงที่อุณหภูมิสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ส่วนบางประเภทอุณหภูมิแค่ 110 องศาเซลเซียส ก็ทนไม่ไหวกลาย สภาพเป็นน้ำก็มี โดยปกติของอุณหภูมิน้ำมันเครื่องจะสูง-ต่ำ ไปในแนวทางเดียวกับ อุณหภูมิของเครื่องยนต์หรืออุณหภูมิหม้อน้ำ ซึ่งถ้าความร้อนของน้ำขึ้น อุณหภูมิของ น้ำมันเครื่องก็จะขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ในสภาพการใช้งานเครื่องยนต์ควรรักษาอุณหภูมิของ น้ำมันเครื่องให้อยู่ในช่วง 80-110 องศาเซลเซียส ถ้าหากอุณหภูมิสูงขึ้นไปเกิน 120 องศาเซลเซียส ควรทำให้เย็นลงก่อนจึงใช้งานเครื่องยนต์ต่อไป สำหรับทางออกในการช่วย รักษาอุณหภูมิของน้ำมันเครื่อง รถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายมักมีการใส่ OIL COOLER เข้าไปช่วยก็ทำให้อุณหภูมิน้ำมันเครื่องไม่สูงเกินไป

มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER)

มาตร วัดตัวนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ น้ำมันเครื่อง โดยค่า ที่แสดงออกมาให้เห็นจะเป็นเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบสูงๆหรือขณะที่ เครื่องยนต์ มีอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่อน้ำมันเครื่องเจอเข้ากับความร้อนสูง ๆ จะถูกหลอม ให้เหลวลง และถ้าน้ำมันเครื่องเหลวมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพความหล่อลื่นก็จะลดลง การสึกหรอ จนถึงการ ระบายความร้อนก็จะลดประสิทธิภาพลงตามไปด้วย ดังนั้นการ ตรวจสอบตรงจุดนี้จึงมีความสำคัญ ซึ่งมาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่องจะเป็นตัวบ่งบอก ข้อมูลนี้ได้ โดยในการแสดงข้อมูลให้เห็นนั้น หากว่ามีแรงดูดน้อย ที่เรียกว่า "แรงดันต่ำ" จะถือว่าการหล่อลื่นไม่ดี เพราะแสดงถึงว่าน้ำมันเครื่องเหลวมาก ใช้แรงดูดน้อยก็ไหล เข้ามาแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แรงดูดก็ต้องใช้แรงมาก เรียกว่า "แรงดันสูง" จะสังเกตได้ว่าเวลาที่น้ำมันเครื่องยังคงเย็น มาตรวัดจะแสดงว่ามีแรงดันสูง แต่เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น น้ำมันเครื่องคลายความหนืดลง ความดันก็จะเริ่มต่ำลงมา สำหรับรถยนต์โดยทั่วไปในขณะวิ่ง แรงดันน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่ประมาณ
3 - 4 kg/cm2 หรือหากสูงมากก็ไม่ควรจะเกิน 6 kg/cm2

มาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสีย (EX. TEMP METER)

อุณหภูมิ ของท่อไอเสีย หลายคนอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับประสิทธิภาพ การทำงานของเครื่องยนต์ ทว่าในความเป็นจริงมันมีส่วนที่สัมพันธ์กับแรงดันน้ำมัน หรือการไหลของอากาศสำหรับรถที่ผ่านการโมดิฟาย นอกจากน้ำมันเครื่องแล้ว ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญ ก็คือ ปริมาณการจ่ายน้ำมันเบนซิน ซึ่งปริมาณน้ำมันเบนซินจะมากจะน้อย ก็สามารถวัดได้จากมาตรวัดอุณหภูมิท่อไอเสียนี่เอง ซึ่งหากมีการปรับน้ำมันให้อ่อนลง จะทำให้อุณหภูมิของท่อไอเสียเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้ามน้ำมันแก่ อุณหภูมิของท่อไอเสีย ก็จะต่ำลง ดังนั้นมาตรวัดอุณหภูมิไอเสีย จึงสามารถบอกข้อมูลของรถในขณะวิ่งได้ อย่างไรก็ตามโดยทั่วไป มาตรวัดอากาศไหลเข้า หรือว่ามาตรวัดแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็ใช้บอกข้อมูลในทางเดียวกัน

มาตรวัดแรงดันเชื้อเพลิง (FUEL PRESSURE METER)

สำหรับ มาตรวัดตัวนี้ใช้เป็นตัวเช็คแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงว่า ในขณะที่เหยียบคันเร่ง แล้วน้ำมันขึ้นมาตามปริมาณที่เราออกแรงกดลงไปบนคันเร่งหรือไม่ สำหรับคนที่ใช้ รถแบบปรกติหรือใช้บนถนนทั่วไป มาตรวัดตัวนี้คงจะไม่จำเป็น อย่างไรก็ดีหากว่า ปั๊ม น้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดเกิดมีปัญหาขึ้นมา มาตรวัดที่บอกค่าของแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สามารถเป็นตัวบอกความผิดปกติได้ วิธีดูมาตรวัดตัวนี้ จะใช้ดูค่าในขณะที่รถยนต์ติด เครื่องเดินเบาเป็นหลัก สำหรับรถยนต์ที่มีเทอร์โบติดตั้งอยู่ด้วยค่าของแรงดันนี้จะขึ้นไปตาม อัตราการบูสต์ เช่น ค่าที่วัดได้ในขณะเดินเบามีค่าเป็น 3 บาร์ แต่เมื่อเทอร์โบบูสต์ไป 1 บาร์
ค่าบนของมาตรวัดจะชี้ไปที่ 4 บาร์ ซึ่งหากว่าแรงดันนี้ตกลง นั่นหมายถึงว่าขนาดของปั๊ม น้ำมันเชื้อเพลิงหรือหัวฉีดที่ใช้ไม่เพียงพอ เสียแล้ว ดังนั้นมาตรวัดตัวนี้จึงมีความจำเป็น ไม่น้อยสำหรับรถยนต์เทอร์โบ ซึ่งผู้ขับขี่ความสังเกตค่าแรงดันในขณะที่เดินเบาเป็นหลัก และสังเกตว่าแรงดันน้ำมัน นั้นขึ้นไปตามอัตราการบูสต์หรือไม่

มาตรวัดส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (A/F METER)

มาตรวัดตัวนี้เป็นการเช็คความสมดุลระหว่าง อากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับ A/F คืออัตราส่วนระหว่างอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งโดยทั่วไปอัตราส่วนตามหลักการนี้จะ ต้องมีค่าเท่ากับ 14 ในขณะที่เครื่องเดินเบา เลข 14 ก็จะหมายถึงอากาศ 14 ส่วน/น้ำมัน 1 ส่วน ซึ่งจะผสมอยู่ในห้องเผาไหม้สำหรับจุดระเบิด และค่านี้จะต่ำลงไปในขณะที่มีการเร่ง เนื่องจากปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้น และค่า A/F นี้จะสูงขึ้นในขณะที่ทำการถอนคันเร่ง โดยค่า A/F นี้จะถูกแบ่งออกเป็น "บาง" กับ "หนา" ซึ่งถ้าต้องการทำให้รถแรงขึ้น ก็ต้องปรับให้ค่า A/F ให้มีค่าที่บางลง คือการปรับให้น้ำมันน้อยลง-อากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับ ในลักษณะดังกล่าว ก็มีผลทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้สูงขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับ อย่างระมัดระวัง ทั้งนี้ค่า A/F ไม่ควรสูงเกินกว่า 12 เพราะนั่นหมายความว่าน้ำมันเชื้อ เพลิงน้อยเกินไป ซึ่งในรถที่มีการโมดิฟาย ควรจะให้มีค่า A/F ขณะเร่งอยู่ในช่วง 10.5- 11.5 ก็พอ

แวคคั่ม มิเตอร์ (VACCUM METER)


มาตรวัด VACCUM ตัวนี้ จริง ๆ แล้วมันก็อยู่ในมาตรวัดตัวเดียวกับมาตรวัดอัตราบูสต์ เทอร์โบ มาตรวัดตัวนี้จะตอบสนองกับ อัตราการเหยียบคันเร่ง ซึ่งสามารถนำมาใช้ใน การเช็คความสิ้นเปลืองน้ำมันได้เหมือนกัน สำหรับการดูค่าของมาตรวัดตัวนี้ต้องดูเวลา เครื่องเดินเบา ซึ่งจะดูได้จากค่าสุญญากาศ ถ้าค่าสุญญากาศนี้มีมาก ก็จะถือได้ว่าเครื่อง ยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ ไม่รั่วซึม แต่ถ้าค่านี้ลดลงไปมาก นั่นก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม มาตรวัดตัวนี้จึงเป็นมาตรวัดที่อาจมีไว้เช็คสภาพของเครื่องยนต์ได้ ทั้งนี้ในขณะเครื่องยนต์ เดินเบาถ้าเข็มบนมาตรวัดนี้บอกค่าไม่ถึง 300 cmHg นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่าเครื่องยนต์ มีสภาพย่ำแย่ โดยเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ที่มีความสมบูรณ์ค่าตัวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 450 cmHg

โวลท์ มิเตอร์ (Volts Meter)

มาตร วัด Volts Meter ตัวนี้มีประโยชน์ในส่วนของการชาร์ทไฟเข้า แบตตอรี่ โดยการต่อนั้นจะใช้สายสัญญาณต่อเข้าที่ตัวแบตตอรี่ หรือตัวไดชาร์ท การชาร์ทไฟที่สมบูรณ์นั้นจะมีกระแสไฟอยู่ที่ 12.5 - 14 จะถือว่ากระแสไฟนั้นปกติ รถที่เกิดปัญหาแบตตอรี่เสื่อมหมดสภาพ ถ้าได้ทำการติดตั้งตัวนี้เข้าไปนั้นจะดูที่เกจ์วัดหน้าปัดก็จะแสดง กระแสไฟต่ำ จนถึงต่ำมาก หรือไม่ขึ้นเลย รถที่ติดตั้งเกจ์วัด Volt Meter เข้าไปนั้นเวลาที่เรามา สตาร์ทรถ เข็มหน้าปัดเกจ์ Volt Meter จะขึ้นไปอยู่ที่ 12.5+ ถ้าอยู่ต่ำลงมาที่ 10 จะสตาร์ทรถไม่ค่อยติด

แหล่งที่มาของบทความมีสาระดี ๆ คือ
http://www.nekketsu-racing.com


Offline Khing_kaw

  • ผู้เยี่ยมยุทธ
  • ***
    • Posts: 259
  • ชื่อ หนึ่ง (แม่พี่ขิง&น้องข้าว) Corsa 3 Door
ขอบคุณมากเลยค่ะ  ได้ความรู้เยอะเลย :D :D
เยอะจังจำไม่ได้เลยอะ  แก่แล้วก็แบบนี้อะนะ :หนาว: :หนาว:


เสื้อผ้าเด็ก แหล่ม ๆ แนวยุโรป ญี่ปุ่น สนใจ แวะดูก่อน
www.khing-kawshop.pantown.com/
งานอดิเรกจ้า หาเงินมาแต่งรถ


Offline Hui

  • นักรบพเนจร
  • **
    • Posts: 129
  • รุ่นรถ: corsa joy1.4 3D
  • สีรถ : แดง
  • เครื่องยนต์: C14 เดิมๆ
มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER)

มาตร วัดตัวนี้จะมีส่วนสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ น้ำมันเครื่อง โดยค่า ที่แสดงออกมาให้เห็นจะเป็นเวลาที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบสูงๆหรือขณะที่ เครื่องยนต์ มีอุณหภูมิในการทำงาน เพราะเมื่อน้ำมันเครื่องเจอเข้ากับความร้อนสูง ๆ จะถูกหลอม ให้เหลวลง และถ้าน้ำมันเครื่องเหลวมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพความหล่อลื่นก็จะลดลง การสึกหรอ จนถึงการ ระบายความร้อนก็จะลดประสิทธิภาพลงตามไปด้วย ดังนั้นการ ตรวจสอบตรงจุดนี้จึงมีความสำคัญ ซึ่งมาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่องจะเป็นตัวบ่งบอก ข้อมูลนี้ได้ โดยในการแสดงข้อมูลให้เห็นนั้น หากว่ามีแรงดูดน้อย ที่เรียกว่า "แรงดันต่ำ" จะถือว่าการหล่อลื่นไม่ดี เพราะแสดงถึงว่าน้ำมันเครื่องเหลวมาก ใช้แรงดูดน้อยก็ไหล เข้ามาแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันเครื่องมีความหนืดมาก แรงดูดก็ต้องใช้แรงมาก เรียกว่า "แรงดันสูง" จะสังเกตได้ว่าเวลาที่น้ำมันเครื่องยังคงเย็น มาตรวัดจะแสดงว่ามีแรงดันสูง แต่เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้น น้ำมันเครื่องคลายความหนืดลง ความดันก็จะเริ่มต่ำลงมา สำหรับรถยนต์โดยทั่วไปในขณะวิ่ง แรงดันน้ำมันเครื่องควรอยู่ที่ประมาณ
3 - 4 kg/cm2 หรือหากสูงมากก็ไม่ควรจะเกิน 6 kg/cm2

ได้มาจากงานที่แก่งกระจานติดตั้งไม่เป็นครับ
ช่วยแนะนำหน่อยครับ



Offline PeeSard

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 9,159
  • DIY ไม่ทำไม่รู้..*v*
  • No.: 3
  • รุ่นรถ: Corsa GSi
  • สีรถ : แดง
  • เครื่องยนต์: X16XE 16V 105Hp
อย่าลืม วัดแรงดันหัวใจด้วยล่ะ เผื่อซิ่งหนักๆ เกิน 200 จะได้ไม่วายไปก่อน 5555

+นู๋แดง GSi ไปได้ทุกที่+

เกี่ยวกับนู๋ซ่า มีปัญหาอะไร โทรมาได้เลยครับ
ส่วนตัว GSM : 0 89 0 31 55 99

NCStyle Mobile Kiosk
ซุ้มขายของสำเร็จแนวคลาสสิต





Offline aor

  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 2,164
อย่าลืม วัดแรงดันหัวใจด้วยล่ะ เผื่อซิ่งหนักๆ เกิน 200 จะได้ไม่วายไปก่อน 5555

- คุณ Khing_kaw ไม่ต้องกลัวแก่หรอกครับ ดูอย่างพี่นุ่นซิขับคอร์ซ่ามานาน วัยรุ่นขึ้นเรื่อย ๆ ดูอย่างภาษาที่ใช้ซิ วัยรุ่นซะ คิดได้งัยเนี่ย "แรงดันหัวใจ"
- ผมสนใจตัวโวลท์มิเตอร์ เพราะแบตเตอร์รี่เดี๋ยวนี้ห่วยมาก สิ้นชีพกันเร็วเหลือเกิน
- ผมเข้าใจว่า พวกมิเตอร์ต่าง ๆ เนี่ย ลำพังมาแค่หน้าปัทม์คงใช้ไม่ได้ใช่ไหมครับ ที่ปลายสายอีกข้างคงต้องมีเซ็นเซอร์ไปจับสิ่งที่ต้องการจะวัดด้วยใช่ไหม แล้วปกติแล้วพวกมิเตอร์วัดต่าง ๆ เนี่ย เขาจะมีตัวเซ็นเซอร์ที่ว่ามาให้พร้อมกันเลยไหมครับ



Offline kamolwat_t

  • I'm Gayray's
  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 12,856
  • โปรดขับรถอย่างมีความรับผิดชอบ
    • I'm Gayray's
  • No.: Shiroro : Corsa 40 , Tama : Omega 04
  • รุ่นรถ: Corsa B 3 Door , Omega B Sedan
  • สีรถ : คันแรกเขียวๆ คันหลังเทาๆ
  • เครื่องยนต์: Shiroro : X16XE , Tama : 2jz vvti
อย่าลืม วัดแรงดันหัวใจด้วยล่ะ เผื่อซิ่งหนักๆ เกิน 200 จะได้ไม่วายไปก่อน 5555

- คุณ Khing_kaw ไม่ต้องกลัวแก่หรอกครับ ดูอย่างพี่นุ่นซิขับคอร์ซ่ามานาน วัยรุ่นขึ้นเรื่อย ๆ ดูอย่างภาษาที่ใช้ซิ วัยรุ่นซะ คิดได้งัยเนี่ย "แรงดันหัวใจ"
- ผมสนใจตัวโวลท์มิเตอร์ เพราะแบตเตอร์รี่เดี๋ยวนี้ห่วยมาก สิ้นชีพกันเร็วเหลือเกิน
- ผมเข้าใจว่า พวกมิเตอร์ต่าง ๆ เนี่ย ลำพังมาแค่หน้าปัทม์คงใช้ไม่ได้ใช่ไหมครับ ที่ปลายสายอีกข้างคงต้องมีเซ็นเซอร์ไปจับสิ่งที่ต้องการจะวัดด้วยใช่ไหม แล้วปกติแล้วพวกมิเตอร์วัดต่าง ๆ เนี่ย เขาจะมีตัวเซ็นเซอร์ที่ว่ามาให้พร้อมกันเลยไหมครับ


ปรกติเวลาซื้อมาจะมีให้ครับ...

แต่ว่า พวกแอแดปเตอร์ ของบางจุด อาจจะไม่พอดี ต้องไปซื้อขนาดที่ต้องการเองฮะ  :)

ชื่อ ต้น นะครับ อายุ 31 ครับ

opel corsa คันเล็กๆ ชุดแต่ง Std.แท้จากโรงงาน เครื่อง 16v ล้อ 15 ยางแตนๆ ท่อดังๆ

www.opel.in.th

ผมไม่ใช่อู่ ไม่ใช่คนขายอะไหล่นะครับผมเป็น "ผู้ประสานงานทางด้านเทคนิคทั่วไป" ไม่ได้รู้ทุกอย่างแต่พวกเยอะครับ มีปัญหาอะไรพวกเราจะช่วยกันครับ

lap Time
Kaeng Krachan Circuit wet 1.55 dry 1.49.8
Bira Circuit Dry 1.32 (เบรคพังฮะ)


Offline Oakbannoon

  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 1,101
  • ~Opel Astra inside Maha SaraKham~
อย่าลืม วัดแรงดันหัวใจด้วยล่ะ เผื่อซิ่งหนักๆ เกิน 200 จะได้ไม่วายไปก่อน 5555

- คุณ Khing_kaw ไม่ต้องกลัวแก่หรอกครับ ดูอย่างพี่นุ่นซิขับคอร์ซ่ามานาน วัยรุ่นขึ้นเรื่อย ๆ ดูอย่างภาษาที่ใช้ซิ วัยรุ่นซะ คิดได้งัยเนี่ย "แรงดันหัวใจ"
- ผมสนใจตัวโวลท์มิเตอร์ เพราะแบตเตอร์รี่เดี๋ยวนี้ห่วยมาก สิ้นชีพกันเร็วเหลือเกิน
- ผมเข้าใจว่า พวกมิเตอร์ต่าง ๆ เนี่ย ลำพังมาแค่หน้าปัทม์คงใช้ไม่ได้ใช่ไหมครับ ที่ปลายสายอีกข้างคงต้องมีเซ็นเซอร์ไปจับสิ่งที่ต้องการจะวัดด้วยใช่ไหม แล้วปกติแล้วพวกมิเตอร์วัดต่าง ๆ เนี่ย เขาจะมีตัวเซ็นเซอร์ที่ว่ามาให้พร้อมกันเลยไหมครับ




มาตรวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง (OIL TEMP METER)


มาตรวัดแรงดันน้ำมันเครื่อง (OIL PRESSURE METER)


โวลท์ มิเตอร์ (Volts Meter)

3ตัวนี้ผมใช้อยู่ครับ ของSARD ในชุดจะมีเซ็นเซอร์มาพร้อมเลยครับ
ไม่มี สายนำสัญญาณ
แล้วก็หมวกจับหน้าปัด
(OIL PRESSURE METER)ส่วนตัวนี้มันจะไม่จบ ที่ชุดตัววัด เพราะว่าไม่สามารถนำตัวเซ็นเซอไปเจาะใส่ได้ ต้องมีอะเด็ปเตอร์แรงดันประกอบด้วยเพิ่มค่าใช้จ่าย +- ประมาณ1000 บาทไทยครับ

H S 4 V H B  144.400 ,145.7125 -Dup600

โ อ็ คไ ม่ใ ช่เ รือ เร่      เ ปิ้ น ก็ ไ ม่ ใช่ ลู ก ค้า อ ย่ าไห วหวั่น

เ ปิ้น เป็นใ คร ไม่ สำ คัญ   รู้ ว่าโอ็ค รักเปิ้น เท่านั้น   โอ็คสัญญา


 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง