ฮีต 12 ของชาวอิสาน

PeeSard · 2620

Offline PeeSard

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 9,159
  • DIY ไม่ทำไม่รู้..*v*
ฮีต คือ อีหยัง?

คำ”ฮีด”ใช้ตัว”ด”สะกด เพราะเขียนตามอักขระวิธีของอักษรไทยน้อย ซึ่งเป็นตัวหนังสือไทอีสาน
ใช้ “จาร”(จาร-จารึก = ขีดเขียน) เรื่องราวต่างๆโดยเฉพาะนิทานพื้นบ้านและตำรายาต่างๆไว้ในคัมภีร์ใบลานของชาวอีสาน

“ฮีต” เป็นภาษาลาว ซึ่งชนเผ่าลาวนำมาจากคำศัพท์บาลีว่า “จาริตฺต”(อ่านว่า จา-ริด-ตะ)
แล้วชนเผ่าลาวและไทอีสานได้นำคำ”จาริตฺต”มาใช้โดยวิธีเปลี่ยนรูปเปลี่ยน เสียงให้เหมาะกับลิ้นของตนว่า “จาฮีด”
ต่อมาเกิดการกร่อนคำ จากคำหลายพยางค์ให้เป็นพยางค์เดียว โดยตัดคำ “จา” ที่อยู่หน้าพยางค์ออกเหลือเป็น”ฮีด”คำเดียวโดดๆ
ส่วนภาษาไทยยังใช้ว่า “จารีต” มาตราบเท่าทุกวันนี้



เว้ากันมาม่วนหลายสืบสายแหรก
จ้ำปลาแดกมาดนจนเติบใหญ่
ปั้นข้าวเหนียวชีวิต ปั้นจิตใจ
ปั้นข้าวจี่กี่ไฟอุ่นไอเฮา


ไทอีสานเดี๋ยวเสี่ยวเดี๋ยวพี่น้อง
สืบฮีตคองคอบมาว่าคือเก่า
ยังฮักแพงผูกด้ายบายศรีเอา
บ่ว่าเจ้าว่าข้อย บ่ถอยธรรม


ธรรมดาสามัญปั้นข้าวเหนียว
พี่น้องเหลียวแลกันวันยังค่ำ
สิปั้นน้อยปั้นใหญ่ เว้าไปนำ
ปั้นแล้วจ้ำป่นแจ่วก็แนวมัน

 
แนวผู้เฒ่าผู้แก่เพิ่นแผ่ให้
สืบรุ่นไปใสแจ้งเพิ่นแต่งปั้น
สิอยู่ไสตายไส สายใยนั้น
อย่าถิ้มกันถกก้าวแตกด้าวแดน

 
ปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนคือก่อนกี้
สามัคคีเด็ดเดี่ยวจงเหนียวแน่น
อัตลักษณ์ซ่ายล่ายปานสายแนน
จงแน่นแฟ้นแผ่นดินถิ่นมูนมัง...


... ปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนคือก่อนกี้
สามัคคีข้นเคี่ยว จงเหนียวแน่น
ถึงบ้านเมืองหมกไหม้แต่ไฟแค้น
ขอเฮาแน่นเหนียวกันอยู่มั่นยืนฯ ...



วัฒนา ธรรมกูร
๑๖ พฤศจิกายน  ๒๕๕๒
สำนักสาระฅน มหาสารคาม

+นู๋แดง GSi ไปได้ทุกที่+

เกี่ยวกับนู๋ซ่า มีปัญหาอะไร โทรมาได้เลยครับ
ส่วนตัว GSM : 0 89 0 31 55 99

NCStyle Mobile Kiosk
ซุ้มขายของสำเร็จแนวคลาสสิต





Offline PeeSard

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 9,159
  • DIY ไม่ทำไม่รู้..*v*
Reply #1 on: 25 Jan 2011, 14:17
ฮีตที่ ๑ บุญเข้ากรรม หรือ บุญเดือนเจียง

"ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย
ฝูงหมู่สังฆเจ้ากะเตรียมเข้าอยู่กรรม
มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน
อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แหล่ว"


บุญเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงที่พุทธศาสนิกชนชาวอีสานให้ความสำคัญอีกงานหนึ่ง เพราะเป็นช่วงที่พระสงฆ์จะมีการเข้ากรรมหรืออยู่บริวาสกรรม
เพื่อออกจากอาบัติสังฆาทิเลสตาม คติไทยเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงของชาวอีสาน จะมีประเพณีการทำบุญเข้ากรรมของพระสงฆ์
ประเพณีเส็งกลอง (แข่งขันตีกลอง) ทำบุญดอกผ้า ประเพณีนวดข้าว เป็นต้น

โดยมากงานบุญในเดือนนี้มักจะเป็นพิธีกรรมทางสงฆ์เสียมากกว่า

ผู้คนมีความเชื่อกันว่า หากทำบุญแด่พระสงฆ์ในช่วงที่ท่านเข้ากรรมจะได้อานิสสงฆ์สูง เพราะในยามที่พระสงฆ์เข้ากรรมถือเป็นช่วงที่เคร่งวินัย
และบริสุทธิ์มากที่สุด การเข้ากรรมของพระสงฆ์ก็เปรียบได้กับการอยู่กรรม ของแม่ลูกอ่อนหรือหญิงที่พึ่งจะคลอดลูกใหม่ที่จะต้องอยู่กรรม
ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมคือจะต้องรู้จักคะลำ ทั้งเรื่องการกินและกิจวัตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิความปลอดภัยทั้งแม่และลูก

+นู๋แดง GSi ไปได้ทุกที่+

เกี่ยวกับนู๋ซ่า มีปัญหาอะไร โทรมาได้เลยครับ
ส่วนตัว GSM : 0 89 0 31 55 99

NCStyle Mobile Kiosk
ซุ้มขายของสำเร็จแนวคลาสสิต





Offline PeeSard

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 9,159
  • DIY ไม่ทำไม่รู้..*v*
Reply #2 on: 01 Mar 2011, 11:54
เดือนยี่-บุญคูณลาน

"ฮีตหนึ่งนั้น พอแต่เดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิง
ให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้ อย่าได้ไลคองนี้ มันสิสูญเสียเปล่า
ข้าวและของหมู่นั้นสิหายเสี่ยงบ่ยัง จงให้ฟังคองนี้แนวกลอนเฮาบอก
อย่าเอาใด ดอกแท้เข็นฮ้ายแล่นเถิงเจ้าเอย"


การทำบุญคูณลานจะทำกันเมื่อได้เก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ชาวอีสานจะเห็นความสำคัญของข้าวเป็นอย่างมาก
ในพิธีนี้จะมีการนิมนต์พระสงฆ์ไปเทศน์ที่ลานนวดข้าว (ลานนวดข้าวของชาวอีสานในสมัยก่อนมักจะทำขึ้นในลานข้างบ้าน
หรือข้างทุ่งนา และมักจะให้มูลของควายมาลาดพื้นแล้วตากให้แห้งจะได้พื้นที่เรียบ) มีการทำบุญตักบาตรเลี้ยงพระ
ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่ชาวบ้าน ลานนวดข้าว ที่นา ต้นข้าว และบริเวณใกล้ลานนวดข้าว ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่การเกษตรกรรม
ทำให้ข้าวในนาอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเชื่อว่า เจ้าของจะอยู่เย็นเป็นสุข ฝนจะตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าจะงอกงามและได้ผลดีในปีต่อไป
เมื่อเสร็จพิธีทำบุญคูณลานแล้วชาวบ้านจึงจะขนข้าวใส่ยุ้ง และเชิญขวัญข้าวคือพระแม่โพสพไปยังยุ้งข้าว
และทำพิธีสู่ขวัญข้าวสู่ขวัญเล้าข้าว (ฉางข้าว)เพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป ประเพณีปัจจุบันแทบจะหาดูไม่ได้แล้ว
เพราะชาวอีสานได้ทำนากันน้อยลง และนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ เช่น การใช้เครื่องนวดข้าวแทนการนวดด้วยมือ
หรือใช้สัตว์นวด(ทำให้ไม่ต้องมีลานนวดข้าว)

+นู๋แดง GSi ไปได้ทุกที่+

เกี่ยวกับนู๋ซ่า มีปัญหาอะไร โทรมาได้เลยครับ
ส่วนตัว GSM : 0 89 0 31 55 99

NCStyle Mobile Kiosk
ซุ้มขายของสำเร็จแนวคลาสสิต





Offline khomsan

  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 1,155
Reply #3 on: 01 Mar 2011, 15:22
อ่านแล้วคิดฮอดตอนยังเป็นเด็กๆ(บักหำน้อย)  โดยเฉพาะเวลาที่ตากะยายเกี่ยวข้าว   ผมและเพื่อนๆสมัยเด็กๆมันจะเอาลำข้าวมาตัดเป็นท่อนๆ  ใช้ดินเหนียวปั้นเป็นรูปกลมๆยาวๆรีๆแล้วเอาลำข้าวมาวางไว้เป็นช่องๆตัดลำข้าวให้ได้ตามขนาดๆแล้วเอามาเป่าเทียบเสียงไปตั้งแต่สูงถึงต่ำ   บางท่านยังนึกไม่ออกว่าอะไร  ชาวบ้านผมเค้าเรียกแคนโหวดน้อยครับ   แล้วเอามาเป่าเล่นกันตามทำนองเพลงต่างๆ   บางครั้งเมื่อเป่าจนเเหนื่อยก้อจะเอาเชีอกว่าว  มามัดทำเป็นห่วง2ห่วงแล้วเอาโหวดน้อยคล้องเข้าไปในห่วงจากนั้นก้อแกว่งเชือกให้หมุน   ก้อจะได้ยินเสียงโหวดน้อยดังอีกแบบหนึ่ง   ช่วงหน้าเกี่ยวข้าวชาวอิสานจะนิยมเล่นว่าวกันมาก   แม้แต่พระเณรในวัดก้อยังเล่นว่าวกับชาวบ้าน   ว่าวบางตัวยังใส่ธนูไว้ที่หัวว่าวด้วย   เวลาว่าวติดลมบนเสียงธนูก้อดังฟังไพเราะ   บางคนเล่นปล่อยไว้ทั้งคืนทั้งวันก้อยังมี   เรื่องราวดีๆของคนอิสานบ้านเฮายังมีอีกแยะครับ

ขับแอสตร้าชีดาน 4 ประตู  จอดมากว่าเข้าอู่


 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง