มันเป็นบทความอยากให้ลองอ่านและพิจารณาดูเอาเองครับ ผมเองก้อไม่ได้เก่งหรือมีความรู้ความชำนาญในเรื่องนี้ชักเท่าไหร่นักนะครับ รู้เท่าที่รู้ บอกเท่าที่รู้ ไม่รู้ก้อคือไม่รู้จริงๆครับ แต่อันไหนที่พอจะช่วยเหลือให้คำแนะนำกับสมาชิกไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม ผมก้อยินดีช่วยเหลือครับ ลองๆอ่านแล้วตัดสินใจเองนะครับ
- บางคนบอกว่า...ถ้าไม่ตัด ปั๊มจะพังเร็ว
- บางคนบอกไม่จำเป็น เพราะมีระบบไหลวนกลับ และฝรั่งต้นตำหรับก็ไม่ตัด อ่านบทความนี้แล้วจะเข้าใจชัดเจนว่า ตัด...ดีกว่าไม่ตัด!
• มีค ำ ถ า ม แ ล ะ ความสับสนในแวดวงรถยนต์ติดแก๊สทั้งแอลพีจี หรือเอ็นจีวี ว่าขณะใช้แก๊ส ควร หยุดการทำงานของปั๊มน้ำมันเบนซินหรือไม่
ปั๊มน้ำมันเบนซิน FUEL PUMP ถ้าเป็นปั๊มกลไกติดตั้งอยู่ริมๆ เครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ เรียกว่า ปั๊มเอซี หากเป็นปั๊มไฟฟ้า เรียกปั๊มติ๊ก เพราะขณะทำงานจะมีเสียงดังติ๊กๆส่วนปั๊มแรงดันสูงสำหรับเครื่องยนต์หัวฉีดขณะทำงานมีแค่เสียงคราง จากการหมุนข้างในแต่ผู้คนทั่วไปกลับเรียกกว่า ‘ปั๊มติ๊ก’ เพราะเรียกติดปากมาจากปั๊มไฟฟ้าสำหรับเครื่องคาร์บูฯแม้ตัวปั๊มจะมีเสียงไม่ดังติ๊กๆ และถือว่าเป็นการเรียกผิด แต่คงไม่ง่ายที่จะแก้ไขในสังคมวงกว้าง ใครไปซื้อปั๊มติ๊กแล้วบอกว่า ขอซื้อปั๊มส่งน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ FUEL PUMP คงงงกันทั้งร้านเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ที่ติดตั้งแก๊ส แน่นอนว่า ต้องตัดการส่งน้ำมัน ถ้าเป็นปั๊มไฟฟ้าก็ตัดไฟฟ้า หากเป็นปั๊มเอซีก็ใส่โซลินอยด์บล็อกการไหลของน้ำมัน ไม่ให้เข้าคาร์บูฯ ขณะใช้แก๊สเครื่องยนต์หัวฉีด จำเป็นต้องตัดไฟสั่งหรือเลี้ยงหัวฉีด เพื่อไม่ให้หัวฉีดยกเปิดขณะใช้แก๊สเพื่อไม่ให้น้ำมันฉีดเข้าไปขณะใช้แก๊สแต่ประเด็นที่สับสนคือ ควรตัดปั๊มติ๊ก หรือไม่ เพราะในเมื่อหัวฉีดไม่เปิด น้ำมันเบนซินก็ไม่ถูกฉีดออกไปอยู่แล้ว
ฝ่ายที่...ตัด
• เข้าใจผิดว่า “ถ้าไม่หยุดหรือตัดการทำงานของปั๊ม แล้วปั๊มจะพังเร็ว เพราะมีการอั้น จนแรง - ดันเกิน หรืออั้นจนท่อน้ำมันแตก”
ฝ่ายที่...ไม่ตัด
• อ้าง 2 เหตุผลว่า “ฝรั่งต่างชาติต้นตำหรับการติดแก๊สอย่างอิตาลีหรือยุโรป ไม่ได้มีวงจรหรือแนะนำให้ตัดไฟฟ้าที่จะส่งเข้าปั๊มเลย” ระบบท่อทางเดินน้ำมันในรถ มีการไหลวนกลับถัง และควบคุมด้วยเรกูเลเตอร์อยู่แล้ว ยังไงแรงดันในระบบก็ไม่เกิน แม้ปั๊มจะทำงาน แต่หัวฉีดไม่ยก หรือในรถรุ่นใหม่ๆ ที่ไม่มีท่อไหลกลับ ถึงจะไม่ตัดปั๊มติ๊ก แรงดันในระบบก็ไม่เกิน เพราะมีตัวควบคุมแรงดันให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลาไม่ตัด ไม่อั้น ไม่พังเร็วแต่พังที่กิโลเมตรพอๆ กับคันที่ใช้น้ำมัน ! ทั้งที่เราใช้แก๊ส
• ฝ่ายที่สนับสนุนการไม่ตัดปั๊ม คิดว่าถูกต้องและไม่มีวิธีที่ดีกว่า เพราะฝรั่งก็ทำ และเมื่อไม่ตัดปั๊มก็ไม่พังเร็ว ใช้งานได้หลายปี เหมือนรถที่ใช้น้ำมันเบนซินล้วนๆหลายอู่ติดตั้งแก๊ส เลือกไม่ตัด เพราะเข้าใจดีว่ามีการหมุนวนและไม่พังเร็ว ซึ่งก็มีส่วนจริงแต่จริงไม่ที่สุด นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการลดเวลาทำงานของช่าง หรือขี้เกียจนั่นเองตัด พังชั่วโมงเดิม แต่กิโลเมตรไกลขึ้น• เข้าใจได้ง่ายๆ ว่า จริงๆ แล้วปั๊มติ๊กมีอายุการใช้งานเป็น...ชั่วโมง ไม่ใช่กิโลเมตรหรือปี เช่น สมมุติ ใช้งานได้ 8,000 ชั่วโมงแล้วพัง รถที่ขับทางไกลบ่อย ปั๊มมักจะเสียที่กิโลเมตรบนหน้าปัดรถมากกว่าคันที่ขับในเมืองที่การจราจรติดขัด
หลักการจริง ตัดปั๊ม...แล้วจะดี
• ไม่ได้ทำให้อายุปั๊มยาวขึ้น ยังยาวนานเท่าเดิม แต่ปั๊มไปเสียที่กิโลเมตรไกลกว่าไม่ตัดการไม่ตัดปั๊มติ๊ก ไม่ได้อั้น ไม่มีแรงดันเกิน เพราะระบบมีการไหลวนหรือควบคุมแรงดันปั๊มติ๊กจะเสียที่ชั่วโมงการทำงานเท่าเดิม แต่จะไปตรงกับที่ตัวเลขเท่าไรบนหน้าปัดรถ ขึ้นอยู่กับ...ตัดหรือไม่ตัด!
คนไทยเก่ง หรือ เข้าใจดีกว่าฝรั่ง
ผมเคยเถียงกับฝรั่งที่ชำนาญการติดตั้งแก๊สจนหน้าดำคร่ำเครียด ท้ายสุดผมสรุปว่า เรื่องแรงดันเกินน่ะไม่ใช่ แต่อายุปั๊มมีหน่วยเป็น...ชั่วโมง การตัดปั๊มจะทำให้ชั่วโมงสุดท้ายตรงกับกิโลเมตรบนหน้าปัดที่มากขึ้นในทางวิศวกรรม เมื่อไม่ได้ใช้อุปกรณ์อะไร ก็ไม่ควรปล่อยให้ทำงาน โดยเสียชั่วโมงไปเปล่าๆ โดยมีข้อด้อยบ้างเล็กน้อย คือ แรงดันน้ำมันในระบบจะตกลงบ้างเมื่อใช้แก๊ส หากกดปุ่มหรือระบบ ตัดกลับมาเป็นระบบน้ำมันเบนซินเมื่อแก๊สหมด จังหวะเปลี่ยนอาจมีการกระตุกมากกว่าการไม่ตัดปั๊ม ที่มีแรงดันสูงรออยู่หลังหัวฉีดตลอดเวลา แต่ลองคิดดูว่า วันหนึ่งจะมีไหมที่ผู้ขับจะกดปุ่มสลับเป็นน้ำมันหลายครั้ง หลายวันไม่ได้ทำเลย และกี่วันจะใช้แก๊สจนหมดแล้วตัดกลับน้ำมัน และอาการกระตุกก็จะน้อยลงไปหากสลับระบบตอนที่รอบสูงกว่ารอบเดินเบา กระตุกนิดหน่อยนานๆ ครั้ง แต่ถนอมปั๊มติ๊กไว้ดีกว่า และอาการกระตุกนี้ สามารถแก้ไขได้ หากมีโปรแกรมในกล่องควบคุมแก๊สที่ดี ก็แค่สั่งฉีดแก๊สต่ออยู่ 0.2 – 1 วินาที หลังจากปล่อยให้หัวฉีดน้ำมันเริ่มทำงานรถรุ่นใหม่ บางรุ่นหลังปี 2000 ขึ้นมา (ไม่มากรุ่น) ที่ไม่มีท่อน้ำมันเบนซินไหลกลับ บางรุ่นมีการตรวจสอบแรงดันในระบบอย่างละเอียด ถ้าแรงดันตก ไฟเตือนรูปเครื่องยนต์บนหน้าปัดจะสว่างขึ้น จึงไม่สามารถตัดการทำงานของปั๊มติ๊กในขณะใช้แก๊สได้ในรถเครื่องยนต์หัวฉีดทั่วไป ไม่ว่าจะติดแก๊สระบบใด มิกเซอร์หรือหัวฉีด การตัดปั๊มติ๊กในขณะใช้แก๊ส ไม่ได้ทำให้อายุปั๊มยาวขึ้น เพราะมีชั่วโมงการทำงานเท่าเดิม แต่ชั่วโมงสุดท้าย จะเกิดพร้อมกับตัวเลขกิโลเมตรบนหน้าปัดที่มากกว่าไม่ตัดปั๊มติ๊กของใหม่ตัวละหลายพันบาท ของเก่าำหรับรถญี่ปุ่นหลายร้อยบาท การตัดปั๊มติ๊กขณะใช้แก๊สช่วยชะลอเงินคนไทยที่ไหลออกนอกประเทศเป็นค่าปั๊มติ๊ก
ถ้างง...อ่านประโยคนี้ซ้ำๆ “การไม่ตัดปั๊ม ไม่ทำให้ปั๊มมีอายุชั่วโมงสั้นลง แต่การตัดจะทำให้ชั่วโมงสุดท้ายของปั๊มที่เท่าเดิม ไปตรงกับตัวเลขกิโลเมตรบนหน้าปัดที่ไกลขึ้น”
----------------------------------------------
บทความจาก • เรื่อง : วรพล สิงห์เขียวพงษ์
หนังสือ : THAIDRIVER AUTO GAS