[ข้อควรรู้] เรื่องของมุมล้อ Camber , Caster , Toe

ZeaBiscuit · 33074

Offline ZeaBiscuit

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 3,952
  • ปากหมา ใจไม่หมา
    • ZB's Photos...
มุมแคมเบอร์ (Camber angle) คือมุมการวางตำแหน่งล้อ เมื่อมองจากด้านหน้ารถ หรือหลังรถเข้าไปหาตัวรถ

ถ้าระยะห่างระหว่างด้านล่างของล้อ (ติดพื้นถนน) มีระยะน้อยกว่า ระยะห่างด้านบนของล้อทั้ง 2 ข้าง เรียกว่าแคมเบอร์มีค่าเป็นบวก (Positive) เมื่อมองดูแล้วเหมือนกับล้อเอียงสอบเข้าหากัน คล้ายรูปกรวย

ในทางตรงข้าม ถ้าระยะห่างระหว่างด้านล่างของล้อ (ติดพื้นถนน) มีระยะมากกว่า ระยะห่างด้านบนของล้อทั้ง 2 ข้าง เรียกว่า แคมเบอร์มีค่าเป็นลบ (Negative) เมื่อมองดูแล้วเหมือนกับล้อ แบะออกไป

มุมแคมเบอร์ ทำหน้าที่ต้านการเอียงข้างของรถขณะขับขี่ในทางโค้ง ลดรัศมีหมุนเลี้ยวลง เพื่อให้หมุนพวงมาลัยได้เบา ทำให้ไม่เกิดการคลอนตัวลูกปืนล้อที่ระยะฟรี และลดอาการล้อลื่น


มุมแคสเตอร์ (Caster angle) คือ มุมการวางตำแหน่งล้อ เมื่อมองจากด้านข้างตัวรถ เข้าไปหาตัวรถ มุมแคสเตอร์ จะเป็นมุมของแกนหมุนเลี้ยว ที่เอียงจากแนวดิ่งไปตามแนวยาวของรถ เมื่อแกนหมุนเลี้ยวส่วนบน เอียงไปทางด้านหลังรถ มุมแคสเตอร์ จะมีค่าเป็นบวก (Positive)

ในทางตรงข้าม ถ้าแกนหมุนเลี้ยวส่วนบน เอียงไปทางด้านหน้ารถ มุมแคสเตอร์ จะมีค่าเป็นลบ (Negative)

มุมแคสเตอร์ ทำหน้าที่ทรงทิศทางด้วยตัวเอง เพื่อให้พวงมาลัยหมุนคืนกลับตำแหน่งทางตรงได้เอง หลังจากมีการเลี้ยว และทำให้การการทรงตัวได้ดี


โทอิน (Toe-in) คือระยะหน้ายางเอียงเข้าหากัน ตามทิศทางหน้ารถ (เมื่อมองจากด้านบน ลงสู่พื้นถนน) โทอิน จะมีค่าเป็นบวก (Positive) เมื่อระยะห่างของยางด้านหน้า น้อยกว่าระยะห่างของยางด้านหลัง และโทอิน จะมีค่าเป็นลบ (Negative) เมื่อระยะห่างของยางด้านหน้ามากกว่า ระยะห่างของยางด้านหลัง

โทอินจะทำไม่ให้ล้อสั่น จากความต้านทางกลิ้ง ลดระยะหลวมของลูกหมากคันส่ง และทำให้ล้อรถ เคลื่อนที่ขนานไปอย่างคงที่

โทเอ้าท์ (Toe-out) คือผลต่างของมุมเลี้ยวล้อหน้า ที่อยู่ด้านนอกวงเลี้ยว และด้านในวงเลี้ยว หรือรัศมีการเลี้ยวนั่นเอง มุมโทเอ้าท์ จะทำให้ล้อหมุนเลี้ยวได้อย่างราบรื่น ทำให้จุดศูนย์กลางการหมุนเลี้ยว แต่ละล้อร่วมกัน ป้องกันการสึกหรอของยาง และอาการเสียงดังขณะเลี้ยวได้ระดับหนึ่ง
« Last Edit: 11 Feb 2009, 21:04 by ZeaBiscuit »




ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาเจอกัน !!
Life Start at 6,000 rpm !!!
www.dekgayray.com


Offline kamolwat_t

  • I'm Gayray's
  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 12,856
  • โปรดขับรถอย่างมีความรับผิดชอบ
    • I'm Gayray's
  • No.: Shiroro : Corsa 40 , Tama : Omega 04
  • รุ่นรถ: Corsa B 3 Door , Omega B Sedan
  • สีรถ : คันแรกเขียวๆ คันหลังเทาๆ
  • เครื่องยนต์: Shiroro : X16XE , Tama : 2jz vvti
ช่วงล่าง
การเซ็ทช่วงล่างขั้นสูง มุมโท มุมแคมเบอร์ อัตราความหนืดของสปริง

เพิ่ม ความหนืดให้กับสปริงคู่หน้า : ทำให้เกิดอาการอันเดอร์สเตียร์มากขึ้น ทำให้สัดส่วนการถ่ายเทน้ำหนักมาด้านหน้ามากขึ้นเนื่องจากด้านหลังไม่ได้ปรับ ให้หนืดตาม ทำให้แรงยึดเกาะในด้านหน้าลดลง เมื่อไม่ได้เพิ่มความหนืดให้กับด้านหลังด้วย
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : 150-600 ปอนด์/นิ้ว
อาการ ของการปรับมากเกินไป : ทำให้เกิดอันเดอร์สเตียร์ ด้านหน้าของรถจะโดดเวลาเข้าโค้ง เกิดอาการฟรีทิ้งของล้อด้านติดโค้ง สำหรับพวกรถขับหน้า

ลดความหนืดให้กับสปริงคู่หน้า : ทำให้อันเดอร์สเตียร์น้อยลง ลดสัดส่วนการถ่ายเทน้ำหนักมาด้านหน้าเมื่อไม่ได้ปรับสปริงในด้านหลัง เพิ่มแรงยึดเกาะในด้านหน้าหากในด้านหลังไม่ได้ปรับ
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : 150-600 ปอนด์/นิ้ว
อาการ ของการปรับมากเกินไป : โอเวอร์สเตียร์มากเกินไป โอเวอร์สเตียร์เสร็จจะตามมาด้วยอาการอันเดอร์สเตียร์ในกรณีที่สปริงอ่อนเกิน ไป ท้ายรถจะกวาดออกเกินไป

เพิ่มความหนืดให้กับสปริงคู่หลัง : ทำให้โอเวอร์สเตียร์มากขึ้น ทำให้สัดส่วนการถ่ายเทน้ำหนักไปด้านหลังหากสปริงคู่หน้าไม่ได้ปรับ เพิ่มแรงยึดเกาะในด้านหลังถ้าในด้านหน้าไม่ได้ปรับ
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : 100-600 ปอนด์/นิ้ว
อาการของการปรับมากเกินไป : จะโอเวอร์สเตียร์มาก รถจะกระโดดไปด้านข้างเวลาเข้าโค้ง กระตุก ค่อนข้างน่ากลัวเลยทีเดียว (กลัวคว่ำ)

ลด ความหนืดให้กับสปริงคู่หลัง : เกิดอาการโอเวอร์สเตียร์น้อยลง ลดอัตราสัดส่วนการถ่ายเทน้ำหนักมาด้านหลังหากด้านหน้าไม่ได้ปรับ เพิ่มแรงยึดเกาะในด้านหลังหากด้านหน้าไม่ได้ปรับ
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : 100-600 ปอนด์/นิ้ว
อาการ ของการปรับมากเกินไป : รถจะอันเดอร์สเตียร์ หากสปริงนิ่มเกินไป หลังจากอันเดอร์สเตียร์จะต่อด้วยอาการโอเวอร์สเตียร์ ท้ายรถจะกวาดออกเกินไป

ปรับกันสะบัดหน้าให้หนืดขึ้น : อันเดอร์สเตียร์มากขึ้น
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : ตั้งแต่ 0 ถึง 1.25 นิ้ว
อาการ ของการปรับมากเกินไป : เกิดอาการอันเดอร์สเตียร์ ทำให้ล้อด้านในโค้งลอยซึ่งจะทำให้ล้อฟรีทิ้งได้สำหรับรถขับหน้า และทำให้ยางของล้อด้านในโค้งไม่แสดงประสิทธิภาพเนื่องจากลอยอยู่

ปรับกันสะบัดหน้าให้หนืดน้อยลง : อันเดอร์สเตียร์น้อยลง
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : ตั้งแต่ 0 ถึง 1.25 นิ้ว
อาการของการปรับมากเกินไป : โอเวอร์สเตียร์อย่างน่ากลัว ค่อนข้างมันส์

ปรับกันสะบัดหลังให้หนืดขึ้น : โอเวอร์สเตียร์มากขึ้น
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : ตั้งแต่ 0 ถึง 1 นิ้ว
อาการของการปรับมากเกินไป : โอเวอร์สเตียร์แบบสุด ๆ และอาจทำให้ล้อด้านในโค้งลอยได้

ปรับกันสะบัดหลังให้หนืดน้อยลง : โอเวอร์สเตียร์น้อยลง
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : ตั้งแต่ 0 ถึง 1 นิ้ว
อาการของการปรับมากเกินไป : เกิดอันเดอร์สเตียร์ ช้าและน่าเบื่อ

เพิ่มแรงดันลมยางในล้อคู่หน้า : เพิ่มอาการอันเดอร์สเตียร์
ช่วงการเติมที่สามารถทำได้ : ไม่เกิน 55 psi
อาการ ของการเติมลมยางมากเกินไป : ไม่มีแรงยึดเกาะทำให้เกิดอันเดอร์สเตียร์ได้ง่าย ทำให้ล้อฟรีทิ้งสำหรับรถขับหน้า ได้ความรู้สึกแข็งและสะเทือน กินส่วนกลางของหน้ายาง

ลดแรงดันลมยางในล้อคู่หน้า : ลดอาการอันเดอร์สเตียร์
ช่วงการเติมที่สามารถทำได้ : ไม่ต่ำกว่า 20 psi
อาการของการเติมลมยางอ่อนเกินไป : กินแก้มยางเนื่องจากยางแบน รู้สึกยวบยาบ ยางบวมเพราะแรงดันลมยางต่ำทำให้เกิดความร้อน

เพิ่มแรงดันลมยางในล้อคู่หลัง : เพิ่มอาการโอเวอร์สเตียร์
ช่วงการเติมที่สามารถทำได้ : ไม่เกิน 45 psi
อาการ ของการเติมลมยางมากเกินไป : ไม่มีแรงยึดเกาะทำให้เกิดอาการโอเวอร์สเตียร์ได้ง่าย ทำให้ล้อฟรีทิ้งสำหรับรถขับหลัง ได้ความรู้สึกแข็งและสะเทือน กินส่วนกลางของหน้ายาง

ลดแรงดันลมยางในล้อคู่หลัง : ลดอาการโอเวอร์สเตียร์
ช่วงการเติมที่สามารถทำได้ : ไม่ต่ำกว่า 20 psi
อาการของการเติมลมยางอ่อนเกินไป : กินแก้มยาง ทำให้รู้สึกยวบยาบ ยางบวม

มุมแคมเบอร์ในด้านหน้าเป็นลบ : เกิดอันเดอร์สเตียร์น้อยลงเพราะแรงยึดเกาะด้านข้างที่ดีกว่าจากการที่ยางรับมุมเอียงข้าง
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : ไม่เกิน 3.5 องศา
อาการของการปรับมากเกินไป : ทำให้เบรคไม่ค่อยอยู่ รถจะสะบัดไปมาง่าย กินแก้มยางด้านในของวงยาง

มุม แคมเบอร์ในด้านหลังเป็นลบ : เกิดโอเวอร์สเตียร์น้อยลงเพราะแรงยึดเกาะด้านข้างที่ดีกว่าจากการที่ยางรับ มุมเอียงข้าง เพิ่มแรงยึดเกาะในด้านหลัง
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : ไม่เกิน 2.5 องศา
อาการของการปรับมากเกินไป : โอเวอร์สเตียร์มาก ด้านท้ายรถกระตุก กินแก้มยางด้านในวงยาง ทำให้ระยะเบรคมากขึ้นหากปรับมากเกินไป

ความสูงของรถ : รถจะกระตุกจากแรงที่ไม่อาจคาดเดาได้ แรงกระเทือนที่สุดจะทน
ช่วง การปรับที่สามารถทำได้ : โดยปกติจะแค่ 1.5-2.0 นิ้วต่ำกว่าความสูงเดิมของรถ นอกเสียจากว่ารถได้ถูกปรับแต่งให้มีความเตี้ยได้มากกว่านั้นอีก
อาการของ การปรับมากเกินไป : อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ อาจจะอยู่ ๆ ก็โอเวอร์สเตียร์ หรือ อันเดอร์สเตียร์ รถกระเทือนเกินไป ยางหมดไวก่อนเวลาอันควร

การปรับมุมโทอินในล้อคู่หน้า : รถจะวิ่งตรง การเข้าโค้งพอใช้ได้
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : 0-1/8 นิ้ว
อาการของการปรับมากเกินไป : รถมีอาการกระตุกนิด ๆ ตอนเบรค รู้สึกประหลาด ๆ กินแก้มยางด้านนอก

การปรับมุมโทเอาท์ในล้อคู่หน้า : รถจะเข้าโค้งได้ดี จะส่งผลดีกับรถขับหน้าเนื่องจากรถเวลาวิ่งล้อจะหุบเป็นโทอินอยู่แล้ว
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : 0-1/4 นิ้ว
อาการของการปรับมากเกินไป : รถจะสะบัดเวลาเบรค รถจะเลื้อยบนทางตรง กินแก้มยางด้านใน

การปรับมุมโทอินในล้อคู่หลัง : รถจะมีโอกาสเกิดอาการโอเวอร์สเตียร์ได้น้อยเวลายกคันเร่ง
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : 0-1/8 นิ้ว
อาการของการปรับมากเกินไป : ประหลาด ช้า ด้ายท้ายรถสั่น รู้สึกรถไปได้ช้าแถมไม่มั่นคง กินแก้มยางด้านนอก

การปรับมุมโทเอาท์ในล้อคู่หลัง : ช่วยให้รถเลี้ยวดีขึ้นในความเร็วต่ำหรือในการวิ่งสลาลอม รถแข่งแรลลี่ที่เป็นรถขับหน้าปรับกันทุกคัน
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : 0-1/8 นิ้ว
อาการ ของการปรับมากเกินไป : ไม่เหมาะสำหรับขับบนถนน เพราะจะทำให้เกิดอาการโอเวอร์สเตียร์เวลาถอนคันเร่ง ด้านท้ายรถสั่นอย่างรุนแรง กินแก้มยางด้านใน

มุมแคสเตอร์เป็นบวกใน ล้อคู่หน้า : ช่วยทำให้รถเสถียร ช่วงล่างจะเพิ่มมุมแคมเบอร์ด้วยตัวมันเองเวลาเลี้ยว การลดมุมแคสเตอร์ที่เป็นบวกจะทำให้เลี้ยวยาก (ไม่สามารถทำให้มุมแคสเตอร์เป็นลบได้)
ช่วงการปรับที่สามารถทำได้ : 4-9 องศา
อาการของการปรับมากเกินไป : ทำให้รถอันเดอร์สเตียร์โดยเฉพาะสำหรับรถที่มียางแก้มเตี้ยและหน้ากว้าง ทำให้เลี้ยวได้ง่าย

การ ปรับช๊อคให้มีค่าหนืดมากขึ้น : ทำให้เลี้ยวดีขึ้น ได้แรงตอบสนองที่ดีขึ้น ทำให้เกิดอาการโอเวอร์หรืออันเดอร์สเตียร์ได้ยากหรือช้าลง เนื่องจากทำให้การถ่ายเทน้ำหนักช้าลง ขึ้นอยู่กับว่าคุณปรับช๊อคในด้านหน้าหรือหลัง
อาการของการปรับมากเกินไป : ช่วงล่างจะทื่อ รถจะกระเทือนมาก รถจะกระโดด ทำให้สูญเสียแรงยึดเกาะ ทำให้เกิดการถ่ายเทน้ำหนักช้าลงทำให้รู้สึกแปลก ๆ ในการควบคุม เหมือนกับ อันเดอร์สเตียร์เสร็จแล้วพอพ้นโค้งไปก็โอเวอร์สเตียร์

การปรับช๊อคให้มีค่าหนืดน้อยลง : ให้การตอบสนองช้าลง ทำให้เกิดอาการอันเดอร์หรือโอเวอร์สเตียร์ได้เร็วขึ้น
อาการของการปรับมากเกินไป : รถจะโคลงเคลงเหมือนเรือ รถสะบัดเวลาเข้าโค้ง รู้สึกไม่เสถียร

ขอให้สนุกกับการปรับเซ็ทช่วงล่างของคุณนะ  ใช้มุมโทกับแคมเบอร์ช่วย หรือแม้แต่แรงดันลมยาง




ปล. ที่มา http://www.club1500cc.net และ www.coronacarclub.com ครับ



มุมล้อมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเคลื่อนที่ และการทรงตัวของรถ โดยเฉพาะในทางโค้ง และที่เกี่ยวข้องกับ Concept Car ของเราในเล่มนี้ คือ มุมแคมเบอร์ (Camber) ซึ่งยังแยกแยะออกเป็น "แคมเบอร์บวก" และ "แคมเบอร์ลบ" ได้อีก
มุมแคมเบอร์ จะดูได้ในกรณีที่เรายืนอยู่หน้ารถ (หรือหลังรถ) และมองเข้าไปยังล้อทั้งข้างซ้ายและข้างขวา ถ้าด้านบนของล้อทั้ง 2 ข้าง "ถ่างออก" จะเป็นมุม "แคมเบอร์บวก" ในทางกลับกัน ถ้าด้านบนของล้อทั้ง 2 ข้าง "หุบเข้าหากัน" ก็จะเป็นมุม "แคมเบอร์ลบ" ในรถแข่งการเซ็ตมุมล้อชนิดนี้จะมีความสำคัญต่อเสถียรภาพในการทรงตัวของรถใน ขณะเข้าโค้ง ซึ่งในโค้งมุม "แคมเบอร์ลบ" จะทำให้ล้อตั้งฉากกับพื้นถนนมากที่สุด นั่นหมายความว่า หน้ายางจะสัมผัสกับพื้นผิวถนนได้เต็มที่มากกว่า

ถ้ามั่นใจว่าช่วงล่างสมบูรณ์แบบแล้วให้ทำดังนี้ครับ

ให้ตั้ง camber ลบ 1.5องศาห้ามมากกว่านี้จะกินยางขอบใน ห้ามตั้งเป็นบวก

ตั้ง Toe out 1.5องศาห้ามเกินกว่านี้เพราะหน้าจะดื่อโค้ง ห้ามตั้งเป็นศูนย์หรือ Toe in เด็ดขาด


สวัสดี ครับอาจารย์วอน ผมเอาTerrano ไปตั้งศูนย์ที่ร้าน E.K.wheel ผมบอกช่างให้ตั้งแคมเบอร์เป็น ลบ 1.5 ตามที่อาจารย์วอนบอก แต่ช่างเขาเขายืนยันมาว่ารถรุ่นนี้มุนแคมเบอร์จะต้องเป็นบวกครับหนหน้าจอก ตัวเลขเทียบกันเป็นบวก 1.xxxครับ ผมจึงยืนยันให้เขาตั้งเป็นลบ เขาก็เลยถอดแผ่นซิมออกจนหมดเลยครับเหลือแต่แหวน ด้านขวา 2 ชั้น ด้านซ้ายชั้นเดียวครับ ค่าเป็น ลบ0.6xx และ ลบ1.0xx แล้วตั้งมุนโทตั้งเท่ากับค่ามาตราฐานเดิม 1.7 ครับ มุนเคสเตอร์ช่างเขาบอกว่าปรับเพิ่มขึ้นอีก (เขาขันตัวที่ทำหน้าที่คล้ายกับหนวดกุ้งในรุ่นขับ 2 แต่ Terrano เป็นก้านเหล็กยันด้านหลังปีกนกล่าง) เพิ่มจากของเดิมเขาว่าถ้าวิ่งทางไกลจะช่วยให้พวงมาลัยมั่นคงขึ้นครับ

พอ ตั้งเสร็จขับเลี้ยวออกจากร้านรุ้สึกพวงมาลัยหนืดขึ้นเล็กน้อย แต่ตอนออกจากโค้งพวงมาลัยมีแรงหมุนคืนดีขึ้นมากครับ ต้องใช้แรงปลายช่วยเล็กน้อยเพียงแค่หมุนคืนตอนใกล้คืนสุดเท่านั้น ขับทางตรงนิ่งมากๆครับ ขับทางตรงประคองพวงมาลัยเบาๆมือเดียวก็วิ่งได้ตรงมากครับ

ต่อครับ เอาเรื่อง camber ก่อนแล้วกันครับ

แคม เบอร์ เป็นตัวกำหนดว่าหน้ายางสัมผัสพื้นผิวถนนกี่เปอร์เซ็น โดยถ้ามองตามหลักฟิสิก แคมเบอร์ 0 เท่ากับหน้ายางสัมผัสพื้นถนน 100 เปอร์เซ็น หนึ่งองศา เท่ากับค่าเปลี่ยนแปลงประมาณ 1.11 เปอร์เซ็น (เอา ร้อย หาร เก้าสิบ) นั่นหมายความว่า ถ้าหน้ายางแข็งแบบเหล็ก ถ้าเราตั้งแคมเบอร์ ที่ -1 เราก็จะเห็น หน้ายางด้านนอกตัวรถ ยกขึ้นจากพื้นเล็กน้อย แต่ทีนี้ยางรถยนต์เราไม่ได้เป็นอย่างนั้น มันให้ตัวได้ครับ แต่เอ แล้ว ความพอดีอยู่ที่ไหน?

ถ้าตามหลักการ ข้างบน รถที่มี แคมเบอร์ 0 จะเกาะถนนที่สุด อันนี้เป็นเรื่องจริง ถ้ารถวิ่งทางตรงอย่างเดียว (รถแข่งควอเตอร์ไมลล์ แคมเบอร์ 0 ทั้งนั้น เพราะต้องการผิวสัมผัสของหน้ายางแบบ 100 เปอร์เซ็น)

ทีนี้ก็มีคำ ถามว่า แล้ว ทำไมพวกผู้ผลิตต่างๆ ถึง เซ็ท ค่า แคมเบอร์ เป็น -1 ถึง -2 ที่ล้อหลัง ออกมาจากโรงงานล่ะ เหตุผลมีอยู่ว่า การใช้งานปกติ เราต้อง เลี้ยวรถที่ความเร็วสูงๆ ตามแต่ถนนจะบังคับ การที่ล้อหลังมีค่าแคมเบอร์เป็นลบ จะช่วยให้รถเกาะถนนได้ดีกว่า แคมเบอร์ 0 เพราะว่า ตอนที่เข้าโค้ง รถจจะมีการโยนตัว ออกด้านนอกของโค้ง แคมเบอร์ 0 ก็จะกลาย เป็น +1 หรือ +2 แล้วแต่ความแรงในการเข้าโค้ง แคมเบอร์ -1 หรือ -2 ก็จะกลายเป็น แคมเบอร์ 0 นั่นเอง พอจะเห็นภาพกันแล้ว นะครับ
หึหึ แต่ยังไม่จบ การตั้งแคมเบอร์ลบเยอะเกินไป มีผลไม่ดีกับยางโดยตรง เพราะ ในการวิ่งตรงๆ หน้ายางไม่ได้สัมผัสพื้นถนน 100 เปอร์เซ็น แล้ว น้ำหนัก ก็จไปกดอยู่กับแก้มยางด้านใน ทำให้เกิดการสึกหรอของยาง แบบ "กินใน"

ค่า แคมเบอร์ที่น่าจะเหมาะที่สุด ไม่ควรเกิน -1 ครับ เพราะเราสามารถไปชดเชยด้วยการให้แรงดันลมยางที่เหมาะสม อันนี้ผู้ผลิตรถยนต์ จะบอกมากับรถรุ่นนั้นๆอยู่แล้ว

รถขับล้อหลัง ที่มีช่วงล่างแบบเพลาแข็ง (เหมือนรถกระบะ) ไม่สามารถตั้งค่าแคมเบอร์ และ โท ที่ล้อหลังได้ครับ เป็น 0 หมด ไม่เหมาะกับการนำมาแต่งไว้ซิ่งในสนามที่มีเลี้ยวเยอะ เพราะจะเสียเปรียบ รถที่มีช่วงล่างอิสระ และ สามารถตั้งค่าแคมเบอร์ได้ (รถวิชอย่างเรามีช่วงล่างอิสระทั้งสี่ล้อ) แต่รถที่ขับล้อหน้า และมีช่วงล่างหลังแบบคานแข็ง แบบ Vios, Yaris "สามารถ" ตั้ง แคมเบอร์ กับ โท ได้ ด้วยการ "ดัด" มุมของดุมล้อ (อันนี้เคยเห็นพี่ป้อบ ที่แข่ง GymKhana ทำใส่ วีอ้อสของเขา camber -2, toe-in -2)

ท่านๆ ที่ไป โหลดเตี้ย ยกสูง อย่าลืมตั้งค่าแคมเบอร์ใหม่ทุกครั้งด้วยนะครับ ยางจะได้มีอายุใช้งานนานขึ้น

นำมาจาก www.lancer-club.net ครับ ของคุณ ngng123

ชื่อ ต้น นะครับ อายุ 31 ครับ

opel corsa คันเล็กๆ ชุดแต่ง Std.แท้จากโรงงาน เครื่อง 16v ล้อ 15 ยางแตนๆ ท่อดังๆ

www.opel.in.th

ผมไม่ใช่อู่ ไม่ใช่คนขายอะไหล่นะครับผมเป็น "ผู้ประสานงานทางด้านเทคนิคทั่วไป" ไม่ได้รู้ทุกอย่างแต่พวกเยอะครับ มีปัญหาอะไรพวกเราจะช่วยกันครับ

lap Time
Kaeng Krachan Circuit wet 1.55 dry 1.49.8
Bira Circuit Dry 1.32 (เบรคพังฮะ)


Offline ksuchon

  • DekGayRay's
  • ยอดฝีมือแห่งแค้วน
  • *****
    • Posts: 1,290
  • Pen-Gay Team
เมพ มากครับ  :D

Mobile   0870005270
E-Mail     ksuchon@yahoo.com


 





Opel Vauxhall Corsa B Astra Vectra B Omega Kadett Kapitan Olympia C14NZ C12NZ X14XE X16XE X16XEL X18XE X18XE1 X20XEV Z22SE C20NE C20SE C20XE C2OLET X25XE C25XE X30XE imcher stiemetz zifira


รถยนต์ ขับรถ Opel in Thai โอเปิล อิน ไทย สนาม ซ่อม แต่ง คลับ club love lover modify talk host server online network game เกมส์ colocation co-location ล้อ ยาง ช่วงล่าง เครื่อง