เรามาดู ระบบพื้นฐาน และ อุปกรณ์ในระบบก่อนนะครับ
ดิสก์ / ดรัมเป็น ชุดเบรกที่ล้อ คือ อุปกรณ์ชิ้นที่หมุนพร้อมล้อ และรับแรงกดผ้าเบรกผลิตจากวัสดุ เนื้อแข็งเรียบแต่ไม่ลื่นเพื่อให้ผ้าเบรกกดอยู่ได้ ทนความร้อนสูง และไม่สึกหรอง่าย
ดิสก์ / ดรัม มีจุดเด่นและด้อยต่างกัน
พื้นฐานดั้งเดิมของรถยนต์ส่วนใหญ่เมื่อหลายสิบปีก่อนนิยมใช้แบบดรัม-DRUM หรือแบบดุมครอบ ต่อมาก็เปลี่ยนมาใช้แบบดิสก์-DISC หรือแบบจาน เพราะความเหนือชั้น ในประสิทธิภาพ แล้วก็ยังพัฒนาตัวดิสก์และอุปกรณ์อื่นให้ดีขึ้นไปอีก
ดรัมเบรค มี ลักษณะเป็นฝาครอบทรงกลมมีผ้าเบรกโค้งแบนเป็นรูปเกือบครึ่งวงกลม ติดตั้งภายใน ตัวดรัม ถ้ามองจากภายนอกทะลุกระทะล้อเข้าไปจะเห็นฝาครอบโลหะทรงทึบ โดยไม่เห็นหน้าสัมผัสและชุดเบรกที่ถูกครอบไว้ เมื่อมีการเบรก จะมีการแบ่งผ้าเบรก ออกไปดันกับด้านในของตัวดรัม โดยเปรียบเทียบง่าย ๆ คือ คนเป็นกระบอกเบรก ยืดแขนออกไปแล้วมีผ้าเบรกติดอยู่ที่ฝ่ามือ มีฝาครอบหมุนอยู่ เมื่อมีการเบรกก็ยืดแขน ดันฝ่ามือออกไปให้ฝาครอบหมุนช้าลง
ดรัมเบรกมีจุดเด่น คือ ต้นทุนต่ำ ทนทาน มีพื้นที่ของผ้าเบรกมาก แต่มีจุดด้อยคือ กำจัดฝุ่นออกจากตัวเองได้ไม่ดี อมความร้อน เพราะเป็นเสมือนฝาครอบอยู่ ซึ่งจะทำให้ แรงเสียดทานของผ้าเบรกลดลงหรือผ้าเบรกไหม้ และเมื่อใช้งานไปสักพัก หน้าสัมผัสกับผ้าเบรกหรือดรัมอาจไม่แนบสนิทกัน ต้องตั้งระยะห่างบ่อย หรือแม้แต่มีการปรับตั้งโดยอัตโนมัติก็อาจยังไม่สนิทกันนัก จนขาดความฉับไวในการทำงาน มีผ้าเบรกให้เลือกน้อยรุ่นน้อยยี่ห้อ และเมื่อลุยน้ำจะไล่น้ำออกจากดรัมและผ้าเบรกได้ช้า
ดิสก์เบรกมี ลักษณะเป็นจานแบนกลม มีผ้าเบรกแผ่นแบนติดตั้งอยู่รวมกับชุดก้านเบรก (คาลิเปอร์) แล้วเสียบคร่อมประกบจานเบรกซ้าย-ขวา ถ้ามองจากภายนอกทะลุ กระทะล้อเข้าไป จะเห็นป็นจานโลหะเงาเพราะถูกผ้าเบรกถูทุกครั้งที่เบรก และมีชุดก้านเบรกคร่อมอยู่ ด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อเบรกจะมีการบีบผ้าเบรกเข้าหากัน ดันเข้ากับตัวดิสก์ ต่างจากแบบดรัมที่เเบ่งตัวผ้าเบรกออกโดยเปรียบเทียบง่าย ๆ คือ คนเป็นกระบอกเบรก มีผ้าเบรกอยู่ที่ฝ่ามือ ทำแขนเหมือนกำลังยกมือไหว้แต่ไม่ชิดสนิทกันมีแผ่นกลม หมุนแทรกอยู่ระหว่างมือเมื่อมีการเบรกก็ประกบฝ่ามือเข้าหากัน
ดิสก์เบรกมีจุดเด่นคือ ประสิทธิภาพสูงแม้จะมีพื้นที่สัมผัสของผ้าเบรกแคบกว่าแบบดรัมในขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง เท่ากัน ทำงานฉับไว ควบคุมระยะห่างและหน้าสัมผัสของผ้าเบรกกับตัวดิสก์ได้ดี โดยไม่ต้องปรับตั้ง ไม่อมฝุ่นเพราะทำความสะอาดตัวเองได้ดี ไล่น้ำออกจากตัวดิสก์ และผ้าเบรกได้เร็ว แต่มีจุดด้อยที่ไม่สามารถนับเป็นจุดด้อยได้เต็มที่นัก เพราะได้ใช้กัน แพร่หลายไปแล้ว คือ ต้นทุนสูง ผ้าเบรกหมดเร็วโดยมีรายละเอียดย่อยออกไปอีกเช่น มีการพัฒนาการระบายความร้อน เพราะยิ่งผ้าเบรกหรือตัวดิสก์ร้อนก็ยิ่งมีแรงเสียดทาน ต่ำลง หรือผ้าเบรกไหม้ ด้วยการทำให้พื้นที่ของจานเบรกสัมผัสกับอากาศมีการถ่ายเทกันมากขึ้น โดยการผลิตเป็นจานหนา แล้วมีร่องระบายความร้อนแทรกอยู่ตรงกลาง เสมือนมีจาน 2 ชิ้น มาประกบไว้ห่าง ๆ กัน โดยรถยนต์ในสายการผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้ระบบดิสก์แบบ มีครีบระบายล้อหน้า เพราะเบรกหน้ารับภาระในการเบรกมากกว่า ส่วนการเจาะรู และเซาะร่อง มักนิยมในกลุ่มรถยนต์ตกแต่งหรือรถแข่ง เพราะสร้างแรงเสียดทานได้สูง แต่กินผ้าเบรกและแค่มีครีบระบายก็เพียงพอแล้วส่วน การขยายขนาดของดิสก์เบรกให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการเบรก เพราะสามารถเพิ่มพื้นที่ของผ้าเบรกพร้อมใช้ก้ามเบรกให้ใหญ่ขึ้นได้ ซึ่งมีการระบายความร้อนดีขึ้นจากพื้นที่สัมผัสอากาศที่มากขึ้น นับเป็นหลักการที่เป็นจริง แต่ในการใช้งาน มักมีขีดจำกัดที่ตัวดิสก์และก้ามเบรกต้องไม่ติดกับวงในของกระทะล้อ
รถแข่ง หรือรถยนต์ที่ใช้กระทะล้อใหญ่ ๆ จึงจะเลือกใช้วิธีขยายขนาดของดิสก์เบรกนี้ได้นับ เป็นเรื่องปกติที่ระบบดิสก์เบรกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับระบบดรัม เบรก ทั้งที่มีพื้นที่หน้าสัมผัสของผ้าเบรกน้อยกว่า ด้วยจุดเด่นข้างต้น ระบบดิสก์เบรกจะให้ ประสิทธิภาพในการเบรกสูงกว่าดรัมเบรก ตัวดิสก์และดรัมเบรกผลิตจากวัสดุเนื้อแข็งกว่า ผ้าเบรกเพื่อความทนทาน แต่ก็ยังมีการสึกหรอจนไม่เรียบขึ้นได้ เพราะผ้าเบรกก็มีความแข็ง พอสมควร จึงกัดกร่อนตัวดิสก์หรือดรัมเบรกได้ เมื่อผ้าเบรกหมด ไม่ใช่สูตรสำเร็จว่า ต้องเจียร์เรียบตัวดิสก์หรือดรัมเบรกทุกครั้งตามสไตล์ช่างไทยที่ต้องการเงิน เพิ่ม เพราะต้องดูว่ายังเรียบร้อยพอไหม ถ้าเป็นรอยมากค่อยเจียร์เพราะดิสก์หรือดรัมเบรก มีขีดจำกัดในแต่ละรุ่นว่าต้องไม่บางเกินกำหนดเจียร์มาก ๆ ก็เปลืองและถ้าไม่เรียบ ก็จะทำให้ผ้าเบรกสัมผัสได้ไม่สนิทการ เลือกติดตั้งระบบเบรกของผู้ผลิตรถยนต์ในแต่ละล้อ มีหลักการพื้นฐาน คือ ประสิทธิภาพของระบบเบรกล้อคู่หน้าต้องดีกว่าล้อหลังเสมอ เพราะเมื่อมีการเบรก น้ำหนักจะถ่ายลงด้านหน้า ล้อหลังจะมีน้ำหนักกดลงน้อยกว่า ระบบเบรกหน้าจึงต้อง ทำงานได้ดีกว่า มิฉะนั้น เมื่อกดเบรกแรง ๆ หรือเบรกบนถนนลื่น อาจจะเกิดการปัดเป๋ หรือหมุนได้เสมือนเป็นการดึงเบรกมือ ดังนั้น ถ้าอยากจะตกแต่งระบบเบรกเพิ่มเติม ก็ต้องเน้นว่าประสิทธิภาพของเบรกหลังต้องไม่ดีกว่าเบรกหน้า กลุ่มที่เปลี่ยนเฉพาะ จากดรัมเบรกหลังเป็นดิสก์ โดยไม่ยุ่งกับดิสก์เบรกหน้าเดิม ต้องระวังไว้ด้วยรถยนต์ในอดีตเลือกติดตั้งระบบดรัมเบรกทั้ง 4 ล้อ แล้วจึงพัฒนามาสู่ดิสก์เบรกหน้า ดรัมเบรกหลัง และสูงสุดที่ดิสก์เบรก 4 ล้อแต่ก็ยังยึดพื้นฐานเดิมคือ เบรกหน้าต้องดีกว่า เบรกหลังเสมอ แม้ จะเป็นดิสก์เบรกทั้งหมดแต่ดิสก์เบรกหน้ามักมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบระบายความร้อน มีผ้าเบรกขนาดใหญ่ และมีแรงกดมาก ๆ จากกระบอกเบรก ขนาดใหญ่ โดยดิสก์เบรกหลังมักจะเป็นแค่ขนาดไม่ใหญ่นัก ไม่มีครีบระบาย มีผ้าเบรกขนาดไม่ใหญ่ และมีแรงกดไม่มากจากกระบอกเบรกขนาดเล็กเพื่อมิให้มีประสิทธิภาพสูงเกินเบรก หน้า
ผ้าเบรกเป็น อุปกรณ์สร้างแรงเสียดทานกดเข้ากับดิสก์หรือดรัมเบรก โดยมีพื้นฐานคือ เนื้อวัสดุของตัวดิสก์หรือดรัมเบรกต้องแข็งเพื่อไม่ให้สึกหรอมาก แต่ต้องมีผิวที่ไม่ลื่น ส่วนผ้าเบรกต้องมีเนื้อนิ่มกว่าตัวดิสก์หรือดรัม เพื่อให้มีแรงเสียดทานสูงหรือสึกหรอมากกว่า เพราะเปลี่ยนได้ง่าย โดยมีการผลิตขึ้นจากวัสดุผสมหลายอย่าง และอาจผสมกับโลหะเนื้อนิ่ม เพื่อให้เบรกในช่วงความเร็วสูงได้ดี ในอดีตใช้แร่ใยหิน แอสเบสตอสเป็นวัสดุหลัก ของผ้าเบรก เมื่อผ้าเบรกสึกจะเป็นผงสีขาวไม่เกาะกระทะล้อแต่สร้างมลพิษในอากาศ ทำลายระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันจึงหันมาใช้แกรไฟต์คาร์บอนแทน เมื่อผ้าเบรกสึกจะมีผงสีดำออกมาเกาะเป็นคราบ ดูสกปรก แต่ไม่อันตราย
ผ้าเบรกมีหลายระดับ ประสิทธิภาพและความแข็ง ด้วยหลักการง่าย ๆ คือ ยิ่งนิ่มยิ่งสร้างแรงเสียดทานได้ง่าย แต่ไม่ทนความร้อนอาจลื่น หรือไหม้ในการเบรกบ่อย ๆ หรือเบรกในช่วงความเร็วสูง และยิ่งแข็งยิ่งทนร้อน เบรกดีในช่วงความเร็วสูง แต่ต้องการการอุ่นให้ร้อนก่อน หรือเบรกช่วงความเร็วต่ำไม่ค่อยอยู่ จึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการขับและสมรรถนะของรถยนต์ผ้า เบรกเป็นอุปกรณ์หนึ่ง ถ้าเดิมใช้งานแล้วไม่พึงพอใจก็สามารถเลือกให้แตกต่างจาก ผ้าเบรกมาตรฐานเดิมได้ เพราะผู้ผลิตรถยนต์ไม่จำเป็นต้องผลิตทุกชิ้นส่วนขึ้นเอง สามารถหาผู้ผลิตชิ้นส่วนเฉพาะรายย่อย (SUPPLYER) ผลิต ชิ้นส่วนส่งให้ในราคาถูกได้ เพราะมีปริมาณการผลิตสูง เมื่อมีการผลิตส่งให้ผู้ผลิตรถยนต์ ก็อาจจะผลิตอะไหล่ ที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน หรือเหนือกว่า ตีตราบรรจุกล่องเป็นสินค้าอิสระของตนเอง เพื่อจำหน่ายกับผู้ใช้ทั่วไปด้วย
ผู้ผลิตผ้าเบรกที่เชี่ยวชาญและมีผ้าเบรกหลายรุ่นให้เลือก เช่น FERODO, BENDIX, ABEX, AKEBONO, METALIX, REBESTOS ฯลฯ
เกรดประสิทธิภาพผ้าเบรก
มี หลายระดับ แบ่งตามการทนความร้อน เพราะการสร้างแรงเสียดทานในการเบรก ต้องมีความร้อนเกิดขึ้นเมื่อผ้าเบรกร้อนเกินขีดจำกัดประสิทธิภาพจะลดลง ลื่นหรือไหม้ การเลือกต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและสมรรถนะของรถยนต์
เกรดมาตรฐาน S-STANDARD
ใช้ กับรถยนต์ทั่วไป ยกเว้นรถยนต์สมรรถนะสูงหรือรถสปอร์ต ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรก สร้างความฝืดได้ง่าย สามารถลดความเร็วได้ทันที ไม่ต้องการการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน ทำงานได้ดีเฉพาะช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง และมีความร้อนสะสมไม่สูงนัก เมื่อมีการเบรกอย่างต่อเนื่อง อาจลื่นหรือไหม้ได้ง่าย เมื่อต้องเบรกบ่อย ๆ หรือเบรก ในช่วงความเร็วสูงอย่างรวดเร็ว สาเหตุที่รถยนต์ทั่วไปถูกกำหนดให้ใช้ผ้าเบรกเกรด S เนื่องมา จากโรงงานผู้ผลิต เพราะส่วนใหญ่ยังต้องมีการใช้งานในเมือง หรือมีการใช้ ความเร็วไม่จัดจ้านนัก แม้จะขับเร็วบ้างหรือกระแทกเบรกแรง ๆ บ้าง แต่ก็ไม่บ่อย จึงถือว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง
เกรดกลาง M-MEDIAM-METAL
รองรับการเบรกในช่วงความเร็วปานกลาง-สูงได้ดี เพิ่มความทนทานต่อความร้อนโดยตรง และความร้อนสะสมในการเบรกสูงขึ้นกว่าผ้าเบรกเกรด S แต่ ยังคงประสิทธิภาพการใช้งาน ช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลางได้ดีเพราะเนื้อผ้าเบรกยังไม่แข็งเกินไป ส่วนมากจะมีส่วนผสม ของโลหะอ่อน หรือวัสดุที่สามารถสร้างแรงเสียดทานเมื่อมีความร้อนสูงได้ดี เนื้อของผ้าเบรก อาจเป็นสีเงาจากผงโลหะที่ผสมอยู่ รถยนต์ทั่วไป ถ้าผู้ขับเท้าขวาหนัก แม้ไม่ได้ตกแต่ง เครื่องยนต์ หรือเครื่องยนต์มีพลังแรงสักหน่อย ก็สามารถเลือกใช้ผ้าเบรคเกรด M แทนเกรด S เดิม ได้ เพราะยังสามารถรองรับการใช้งานได้ทุกรูปแบบและทุกช่วงความเร็ว โดยอาจมีจุดด้อย ด้านประสิทธิภาพการเบรกในช่วงที่ผ้าเบรกยังเย็นอยู่ใน 2-3 ครั้งแรก และมีราคาแพงกว่า ผ้าเบรกเกรด S เพียง 20-30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
เกรดกึ่งแข่ง R-RACING
เป็น ผ้าเบรกเกรดพิเศษ ซึ่งถูกผลิตเพื่อรองรับรถยนต์สมรรถนะสูงจัดจ้าน- รถแข่ง เหมาะกับการใช้ความเร็วสูง หรือมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรกจากการเบรกถี่ ๆ เนื้อของผ้าเบรคเกรดนี้มักมีการผสมผงโลหะไว้มากบางรุ่นเกือบจะเป็นโลหะอ่อน เช่น เป็นทองแดงผสมเกือบทั้งชิ้น การใช้งานในเมืองด้วยความเร็วต่ำ จำเป็นต้องมี การอุ่นผ้าเบรกเกรด R ให้ร้อนก่อน และเบรกหยุดได้ระยะทางยาวกว่าผ้าเบรกเนื้อนิ่มเกรด S-M ส่วน ในช่วงความเร็วสูง ร้อนแค่ไหนก็ลื่นหรือไหม้ยาก ผ้าเบรกเกรดนี้ ไม่ค่อยเหมาะ กับรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป ยกเว้นพวกรถสปอร์ต หรือรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูงจัดจ้านจริง ๆ เพราะไม่เหมาะกับการใช้งานด้วยความเร็วต่ำ ซึ่งลื่นกว่าผ้าเบรกเกรด S อีกทั้งยังมีราคาแพงกว่าผ้าเบรกเกรด S-M ไม่น้อยกว่า 3-5 เท่าด้วยในการจำหน่ายจริงมักไม่มีการแบ่งผ้าเบรกเกรด S-M-R อย่าง ชัดเจนไว้บนข้างกล่อง ในการเลือกใช้จึงต้องเลือกด้วยการสอบถามระดับของผ้าเบรกในยี่ห้อที่สนใจ ซึ่งมักระบุเพียงว่าเบรกรุ่นนั้นทนความร้อนสูงกว่าอีกรุ่นหนึ่งในยี่ห้อ เดียวกันหรือไม่ หรือดูช่วงตัวเลขของค่าความร้อนที่ผ้าเบรกชุดนั้นสามารถทำงานได้ดี เช่น ผ้าเบรก เกรด S-M ทำงานได้ดีตั้งแต่ 0-20 องศาเซลเซียสขึ้นไป ในขณะที่ผ้าเบรกเกรด R มักมีค่าความร้อน เริ่มต้นที่ 50-100 องศา เซลเซียสขึ้นไป อันหมายถึงการใช้งานในช่วงความร้อนต่ำไม่ดีนั่นเอง ควรเลือกเกรดผ้าเบรกให้ตรงลักษณะการใช้งานอย่างรอบคอบ และโดยทั่วไปเกรด M น่าสนใจที่สุดเพราะคงประสิทธิภาพการเบรกช่วงความเร็วต่ำไว้ใกล้เคียงกับเกรด S แต่รองรับความเร็วสูงดีกว่า และราคาไม่แพง ราคาจริงของผ้าดิสก์เบรก 2 ล้อ (4 ชิ้น) เกรด S-M สำหรับรถยนต์เกือบทุกรุ่น ตั้งแต่ซิตี้คาร์ยันสุดหรูไม่แตกต่างกันมากนัก 800-2,000 บาท คือราคาพื้นฐาน ส่วนดรัมเบรก 2 ล้อ ไม่น่าเกิน 1,000 บาท (ไม่รวมค่าแรงในการเปลี่ยน)
แม่ปั๊มเบรกทำ หน้าที่สร้างแรงดันน้ำมันเบรกเมื่อมีการสั่งจากผู้ขับ ส่วนใหญ่ติดตั้งรวมกับหม้อลมเบรก ภายในประกอบด้วยลูกยางหลายลูก และสปริงโดยจะคืนตัวเองเมื่อไม่มีการกดแป้นเบรก
อาการการเสีย คือ ไม่สามารถสร้างแรงดันได้จากลูกยางที่หมดสภาพ ไม่สามารถดัน รีดน้ำมันได้ หรือรั่วย้อนออกมา หรือเสียทั้งตัวลูกยางพร้อมตัวกระบอกเป็นรอย การซ่อมจึงมีทั้งแบบเปลี่ยนเฉพาะลูกยางพร้อมชุดซ่อม หรือเปลี่ยนทั้งตัว
หม้อลมเบรกเป็น เพียงอุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงกดแป้นเบรกให้เบาเท้าขึ้น กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ของรถยนต์ยุคใหม่ไปแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมันเบรก โดยใช้แรงดูดสุญญากาศ จากท่อร่วมไอดีของเครื่องยนต์มาช่วยดันแผ่นยางไดอะเฟรมและแกนแม่ปั๊มตัวบน เมื่อมีการกดแป้นเบรก โดยที่ประสิทธิภาพที่แท้จริงของระบบเบรกยังขึ้นอยู่กับ อุปกรณ์อื่นไม่ใช่เฉพาะที่ตัวหม้อลม ขนาดของหม้อลมต้องพอเหมาะ ขนาดเล็กไป ก็หนักเท้าเหมือนเบรกไม่ค่อยอยู่ ขนาดใหญ่ไปก็เบาเท้า แต่แรงกดที่มากเกินไป ในขณะที่อุปกรณ์อื่นยังเหมือนเดิม ก็อาจทำให้ล้อล็อกได้ง่ายเมื่อเบรกบนถนนลื่น หรือกะทันหัน
อาการเสีย ที่พบบ่อยคือ ผ้ายางไดอะเฟรมภายในรั่ว เมื่อกดแป้นเบรกจะแข็งขึ้น และเครื่องยนต์จะสั่นเหมือนอาการท่อไอดีรั่ว ทดสอบโดยกดแป้นเบรกในขณะจอด และติดเครื่องยนต์เดินเบาไว้ หม้อลมเบรกรั่วแต่แม่ปั๊มตัวบนดี ยังสามารถใช้ระบบเบรก ตามปกติได้ แต่จะหนักเท้าในการกดแป้นเบรกเท่านั้น การซ่อมหม้อลมบางรุ่นมีอะไหล่ ให้เปลี่ยนเฉพาะผ้ายางไดอะเฟรมพร้อมชุดซ่อมแต่ส่วนใหญ่มักต้องเปลี่ยนทั้ง ลูก ซึ่งมี 2 ทางเลือก ทั้งของใหม่และเก่าเชียงกง
ท่อน้ำมันเบรกประกอบด้วยท่อโลหะ (เหล็ก-ทองแดง) ขนาดเล็กในเกือบทุกจุดต่อ แล้วมีท่ออ่อน ที่ให้ตัวได้ต่อจากท่อโลหะบนตัวถังไปยังล้อที่ขยับตลอดเวลาที่ขับ
อาการเสีย คือ ท่ออ่อนบวมหรือรั่ว ส่วนท่อโลหะนั้นแทบไม่พบว่าเสียเลย ท่ออ่อนทั่วไป ผลิตจากยางทนแรงดันสูงทนทานเพียงพอสำหรับการใช้งานปกติ แต่ก็มีแบบพิเศษ ที่นิยมใช้ในรถแข่งมาจำหน่ายเป็นแบบท่อหุ้มสเตนเลสถักซึ่งทนทั้งการฉีกขาด จากภายนอกหรือแตกด้วยแรงดันจากภายใน ซึ่งไม่จำเป็นนัก แต่ถ้าอยากจะใส่ ก็ไม่มีอะไรเสียหาย และอาจลดอาการหยุ่นเท้าให้การตอบสนองรวดเร็วขึ้นเล็กน้อย ถ้าท่ออ่อนเดิมขยายตัวได้บ้างเมื่อกดเบรก
กระบอกเบรกที่ล้อทำหน้าที่รับแรงดันน้ำมันเบรกที่ถูกดันมาเพื่อดันลูกสูบเบรกภายในกระบอกแล้วไปกด ผ้าเบรก มีอย่างน้อย 1 กระบอก 1 ลูกสูบ (POT) ต่อ 1 ล้อ ภายในประกอบด้วยลูกสูบ พร้อมลูกยาง หรืออาจมีสปริงด้วย การมีขนาดของกระบอกเบรกใหญ่หรือจำนวน กระบอกเบรก ต่อ 1 ล้อมาก ๆ (2-4 POT) จะทำให้มีแรงกดไปสู่ผ้าเบรกมากขึ้น แต่ก็ต้องใช้แม่ปั๊มตัวบนที่รองรับกันได้ดีด้วย
อาการเสีย คือ ไม่สามารถรับแรงดันจากลูกยางหมดสภาพได้ จนไม่สามารถดันลูกสูบเบรก ออกไปได้เต็มที่ หรือน้ำมันเบรกรั่วซึมออกมา และเสียทั้งตัวลูกยางพร้อมตัวกระบอกเป็นรอย การซ่อมจึงมีทั้งแบบเปลี่ยนเฉพาะลูกยางและชุดซ่อมหรือเปลี่ยนทั้งตัว
ที่มา
www.irpct.ac.thขอ ขอบคุณมากครับ รายละเอียด สำคัญๆ ครบมากจริงๆ